การผ่อนปรนการบอกเลิกสัญญาทางปกครองเมื่อค่าปรับจะเกินร้อยละสิบ | เรื่องเด่น คดีปกครอง

ทนายพฤกษ์ คดีปกครอง 0636364547

การผ่อนปรนการบอกเลิกสัญญาทางปกครองเมื่อค่าปรับจะเกินร้อยละสิบ 

สัญญาทางปกครอง : การใช้ดุลพินิจผ่อนปรนการบอกเลิกสัญญาทางปกครองกรณีค่าปรับจะเกินร้อยละ 10

กฎหมายที่เกี่ยวข้อง

ระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยการพัสดุของหน่วยการบริหารราชการส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2535 ข้อ 131 (ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 ข้อ 183)

เมื่อคดีนี้เป็นข้อพิพาทตามสัญญาจ้างเหมาปรับปรุงทางเดินเท้าและปรับปรุงภูมิทัศน์ระหว่างเทศบาลนคร (ผู้ถูกฟ้องคดี) กับผู้ฟ้องคดี อันเป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับสัญญาทางปกครอง ซึ่งมีข้อกําหนดในสัญญาเรื่องเบี้ยปรับด้วย การพิจารณาในส่วนที่เกี่ยวกับเบี้ยปรับ ศาลจึงชอบที่จะ นําเอาบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ในส่วนที่ว่าด้วยเบี้ยปรับมาใช้บังคับได้ โดยอนุโลม สําหรับข้อ 131 ของระเบียบกระทรวงมหาดไทย ว่าด้วยการพัสดุของหน่วยการบริหาร ราชการส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2535 นั้น เป็นเพียงการกําหนดหลักเกณฑ์เบื้องต้นในการที่หน่วยงานของรัฐใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาเพื่อไม่ให้เจ้าหน้าที่ของรัฐใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาตามอําเภอใจ โดยการนําเงินค่าปรับจํานวนร้อยละสิบของวงเงินค่าพัสดุหรือค่าจ้างมาเป็นหลักเกณฑ์หนึ่งเพื่อประกอบการพิจารณาบอกเลิกสัญญาเท่านั้น แต่มิได้หมายความว่าค่าปรับตามสัญญาจะต้องจํากัดไว้ไม่เกินจํานวนร้อยละสิบ ของวงเงินค่าจ้างหรือค่าพัสดุ และหน่วยงานของรัฐจะต้องพิจารณาบอกเลิกสัญญาเมื่อจํานวนเงินค่าปรับเกินกว่าร้อยละสิบของวงเงินค่าจ้างหรือค่าพัสดุแต่อย่างใด ส่วนกรณีที่ผู้รับจ้างมีหนังสือยินยอมเสียค่าปรับโดยไม่มีเงื่อนไขใด ๆ แม้เงินค่าปรับจะเกินกว่าร้อยละสิบของวงเงินค่าจ้างหรือค่าพัสดุก็มิได้หมายความว่าหน่วยงานของรัฐจะผ่อนปรนการบอกเลิกสัญญาโดยมิได้พิจารณาถึงผลงานของผู้รับจ้างว่าจะสามารถทํางานให้แล้วเสร็จภายในระยะเวลาที่สมควรหรือไม่ เจ้าหน้าที่ของรัฐจึงต้องใช้ดุลพินิจผ่อนปรนการบอกเลิกสัญญาได้เท่าที่จําเป็น การพิจารณาค่าปรับที่เหมาะสมจึงต้องพิจารณาถึงข้อเท็จจริงและพฤติการณ์ของคู่สัญญาในการเคารพและปฏิบัติตามข้อสัญญา พฤติการณ์แวดล้อมอื่น ๆ รวมทั้งประโยชน์ของทางราชการและประโยชน์สาธารณะ ซึ่งต้องพิจารณาเป็นกรณี ๆ ไป

เมื่อข้อเท็จจริงรับฟังเป็นยุติว่า เหตุที่ผู้ฟ้องคดีทํางานล่าช้ากว่ากําหนดเวลาในสัญญา เกิดจากความไม่เอาใจใส่และไม่ตั้งใจทํางานของผู้ฟ้องคดีเอง ส่วนที่ผู้ฟ้องคดีมีหนังสือแจ้งว่ายินยอมชําระค่าปรับโดยไม่มีเงื่อนไขใด ๆ ทั้งสิ้น และประสงค์ที่จะดําเนินงานตามสัญญาต่อไปนั้น การจัดหาผู้รับจ้างใหม่ตามระเบียบของทางราชการย่อมส่งผลกระทบต่อการจัดทําบริการสาธารณะให้ต้องเนิ่นช้าออกไป ประกอบกับไม่ได้มีอุปสรรคที่ร้ายแรงถึงขนาดที่จะไม่สามารถทํางานให้แล้วเสร็จได้ การที่ผู้ถูกฟ้องคดีพิจารณาผ่อนปรนการบอกเลิกสัญญาและให้ผู้ฟ้องคดีทํางานต่อไปแม้จะมีค่าปรับเกินกว่าร้อยละสิบของค่าจ้างตามสัญญา จึงชอบด้วยข้อ 131 ของระเบียบกระทรวงมหาดไทย ว่าด้วยการพัสดุของหน่วยการบริหารราชการส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2535 อย่างไรก็ตาม การพิจารณาผ่อนปรนการบอกเลิกสัญญาดังกล่าวต้องกระทําเพียงเท่าที่จําเป็นเท่านั้น เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่าภายหลังสิ้นสุดสัญญา แม้ผู้ฟ้องคดีได้มีหนังสือแจ้งความประสงค์ที่จะทํางานต่อจนแล้วเสร็จ และยินยอมเสียค่าปรับโดยไม่มีเงื่อนไขใด ๆ ทั้งสิ้น แต่พฤติการณ์การทํางานของผู้ฟ้องคดีที่ยังคงทํางานล่าช้า ขาดแคลนแรงงาน ไม่สามารถกําหนดวันทํางานแล้วเสร็จที่แน่นอน ไม่สามารถทํางานให้แล้วเสร็จตามที่ให้คํามั่นไว้ และไม่จัดส่งแผนงานก่อสร้างแม้ผู้ถูกฟ้องคดีจะได้มีหนังสือทวงถามเร่งรัดหลายครั้ง ย่อมแสดงให้เห็นได้ว่าผู้ฟ้องคดีไม่สามารถทํางานให้แล้วเสร็จและผู้ถูกฟ้องคดีควรพิจารณาบอกเลิกสัญญากับผู้ฟ้องคดี การที่ผู้ถูกฟ้องคดีพิจารณาผ่อนปรนการบอกเลิกสัญญาออกไปถึง 515 วัน นับแต่วันที่ครบกําหนดอายุสัญญาย่อมเป็นผลเสียทั้งต่อผู้ฟ้องคดีที่ต้องเสียค่าปรับเพิ่มขึ้นและยังเป็นผลเสียต่อผู้ถูกฟ้องคดีในการจัดทําบริการสาธารณะที่ต้องล่าช้าออกไปเกินสมควร จึงไม่ถือเป็นการใช้ดุลพินิจเท่าที่จําเป็นในการผ่อนปรนการบอกเลิกสัญญาตามข้อ 131 ของระเบียบกระทรวงมหาดไทย ว่าด้วยการพัสดุของหน่วยการบริหารราชการส่วนท้องถิ่นฯ ดังนั้น เมื่อพิเคราะห์ทางได้เสียของผู้ถูกฟ้องคดีทุกอย่างอันชอบด้วยกฎหมายไม่ใช่แต่เพียงทางได้เสียในเชิงทรัพย์สินแล้ว เห็นว่า ค่าปรับตามสัญญาเป็นค่าปรับที่สูงเกินส่วนเห็นควรลดค่าปรับให้แก่ผู้ฟ้องคดี ลงเหลือร้อยละ 50 ของจํานวนค่าปรับตามสัญญา

โดยสรุป การใช้ดุลพินิจผ่อนปรนการบอกเลิกสัญญากรณีค่าปรับจะเกินร้อยละสิบ ข้อ 131 ของระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยการพัสดุของหน่วยการบริหารราชการส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2535 (ระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 ข้อ 183) เป็นการกําหนดหลักเกณฑ์เบื้องต้นในการที่หน่วยงานของรัฐจะใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาเพื่อไม่ให้เกิดกรณีการบอกเลิกสัญญาตามอําเภอใจ โดยการนําเงินค่าปรับจํานวนร้อยละสิบของวงเงินค่าพัสดุหรือค่าจ้างมาเป็นหลักเกณฑ์หนึ่งเพื่อประกอบการพิจารณาบอกเลิกสัญญาเท่านั้น แต่มิได้หมายความว่าค่าปรับตามสัญญาจะต้องจํากัดไว้ไม่เกินจํานวนร้อยละสิบ และหน่วยงานของรัฐจะต้องบอกเลิกสัญญาเมื่อจํานวนเงินค่าปรับเกินกว่าร้อยละสิบ ทุกกรณีไปแต่อย่างใด

ส่วนกรณีที่ผู้รับจ้างมีหนังสือยินยอมเสียค่าปรับโดยไม่มีเงื่อนไขใด ๆ แม้เงินค่าปรับจะเกินกว่าร้อยละสิบ นั้น ก็มิได้หมายความว่าหน่วยงานของรัฐจะผ่อนปรนการบอกเลิกสัญญาได้โดยไม่ต้องพิจารณาถึงผลงานของผู้รับจ้างว่าจะสามารถทํางานให้แล้วเสร็จภายในระยะเวลาที่สมควรหรือไม่ เนื่องจากการใช้ดุลพินิจผ่อนปรนการบอกเลิกสัญญาดังกล่าวต้องกระทําเท่าที่จําเป็น โดยพิจารณาถึงข้อเท็จจริงและพฤติการณ์ของคู่สัญญาในการเคารพและปฏิบัติตามข้อสัญญาพฤติการณ์แวดล้อมอื่น ๆ รวมทั้งประโยชน์ของทางราชการและประโยชน์สาธารณะเป็นกรณีไปเป็นสําคัญ 

คําสําคัญ : สัญญาทางปกครอง,สัญญาจ้างเหมาปรับปรุงทางเดินเท้าและปรับปรุงภูมิทัศน์,สัญญาจัดให้มีสิ่งสาธารณูปโภค,ค่าปรับ,ค่าปรับเกินร้อยละสิบ,ค่าปรับสูงเกินส่วน,การพิจารณาผ่อนปรนการบอกเลิกสัญญาทางปกครอง,ดุลพินิจ,การใช้ดุลพินิจตามอําเภอใจ

คําพิพากษาศาลปกครองสูงสุดที่ อ.324/2566

ที่มา : สสค.

———————————————

ทนายพฤกษ์ คดีปกครอง
– ปรึกษาคดี ติดต่อ 063-6364547
– Line: @prueklaw 

สำนักงานกฎหมาย พฤกษ์ แอนด์ พาร์ทเนอร์
สำนักงานทนายความคดีปกครอง ทนายความคดีปกครอง

การจัดซื้อจัดจ้างที่ไม่เปิดโอกาสแข่งขันอย่างเป็นธรรม | เรื่องเด่น คดีปกครอง

ทนายพฤกษ์ คดีปกครอง

การจัดซื้อจัดจ้างที่ไม่เปิดโอกาสแข่งขันอย่างเป็นธรรม 

การพัสดุ : การยกเลิกการจัดซื้อหรือจัดจ้าง

หลักการสําคัญในการซื้อหรือการจ้างหรือการทําสัญญาของรัฐซึ่งรวมถึงหน่วยการบริหารราชการส่วนท้องถิ่นนั้น มีหลักการสําคัญในส่วนของวัตถุประสงค์ว่า ต้องดําเนินการโดยคํานึงถึงประโยชน์สูงสุดของหน่วยงานของรัฐหรือประโยชน์สาธารณะ และมีหลักการสําคัญในส่วนของการคุ้มครองและเป็นหลักประกันสิทธิของผู้เกี่ยวข้องว่า ต้องกระทําโดยเปิดเผย ตรวจสอบได้ และเปิดโอกาสให้มีการแข่งขันกันอย่างเป็นธรรม ดังนั้น โดยหลักรัฐจึงต้องมีข้อกําหนดในลักษณะ ที่ไม่เป็นการขัดหรือแย้งต่อหลักการดังกล่าว โดยหากเป็นกรณีที่เป็นการคัดเลือกเข้าเป็นคู่สัญญากับรัฐเป็นการทั่วไป การกําหนดคุณสมบัติดังกล่าวจะต้องไม่ถึงขนาดที่ทําให้เห็นได้ว่า ในทางข้อเท็จจริงแล้ว จะมีผู้ที่มีคุณสมบัติครบถ้วนถูกต้องที่สามารถเข้าร่วมการคัดเลือกเพื่อเป็นคู่สัญญากับรัฐได้เพียงรายเดียว เพราะกรณีเช่นนี้ย่อมเท่ากับว่าข้อกําหนดดังกล่าวขัดหรือแย้งต่อหลักการเปิดโอกาสให้มีการแข่งขันกันอย่างเป็นธรรมนั่นเอง แต่ในขณะเดียวกันก็มีข้อยกเว้นในกรณีมีเหตุผลความจําเป็นเฉพาะให้หน่วยงานของรัฐสามารถกําหนดคุณสมบัติของผู้เสนอราคาให้มีลักษณะเฉพาะได้โดยในส่วนของหน่วยการบริหารราชการส่วนท้องถิ่น ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดและนายอําเภอเป็นผู้ใช้อํานาจกํากับดูแลให้ผู้ฟ้องคดีปฏิบัติงานไปโดยชอบด้วยกฎหมาย

คดีนี้แม้ข้อเท็จจริงจะรับฟังได้ดังเช่นที่ผู้ฟ้องคดีกล่าวอ้างว่า โครงการจ้างเหมาซ่อมผิวทางจํานวน 9 ช่วง ตามประกาศประกวดราคาจ้างเหมาซ่อมสร้างผิวทาง Para Cape Seal (โดยวิธี Pavement In-Place Recycling) ซ่อมสร้างผิวทาง Para Asphaltic Concrete และสร้าง ผิวทาง Para Cape Seal ด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ จํานวน 9 โครงการ ขององค์การบริหารส่วนตําบล (ผู้ฟ้องคดี) เป็นโครงการที่ต้องอาศัยความรู้ความเชี่ยวชาญของผู้รับจ้างก่อสร้างเป็นพิเศษโดยต้องรู้วิธีการก่อสร้างและการใช้อุปกรณ์เครื่องจักรที่มีมาตรฐานการก่อสร้าง เพื่อให้งานก่อสร้างถนน ที่ต้องการมาตรฐานการทํางานสูงสําเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดี ได้มาตรฐานงานสร้างเป็นอย่างเดียวกัน และได้ผู้รับจ้างที่มีศักยภาพเหมาะสมกับงานจ้างก็ตาม แต่การพิจารณาดําเนินการก่อสร้างโครงการซ่อมสร้างผิวทางถนนนี้ นอกจากจะคํานึงถึงลักษณะและประเภทของงานก่อสร้างรวมถึงคุณสมบัติ ของผู้รับจ้างแล้ว ยังต้องคํานึงถึงสถานที่ตั้งของโครงการประกอบด้วย ซึ่งเมื่อพิจารณาจากสถานที่ ดําเนินการในคดีนี้แล้ว ล้วนมีที่ตั้งโครงการตั้งอยู่คนละจุดคนละหมู่บ้านไม่เชื่อมต่อ มีสถานที่ตั้ง ห่างไกลกัน โดยสภาพของโครงการทุกโครงการจึงไม่อาจรวมว่าจ้างเป็นโครงการเดียวกันได้ ทั้งหากทําการจัดซื้อจัดจ้างแยกเป็นรายโครงการ ผู้ฟ้องคดีก็ยังคงสามารถกําหนดคุณสมบัติของผู้รับจ้าง เพื่อให้ได้ผู้รับจ้างที่มีความสามารถดําเนินงานตามโครงการและมีเครื่องจักรพร้อมในการทํางานได้ อยู่เช่นเดิม ประกอบกับเมื่อพิจารณาพยานหลักฐานในสํานวนคดีปรากฏว่า ผู้ฟ้องคดีได้ทําตาราง เปรียบเทียบการแยกโครงการการจัดซื้อจัดจ้างและการเลือกผู้รับจ้างรายใหญ่กับรายย่อย โดยระบุเหตุผลในลักษณะที่เห็นได้ว่าผู้ฟ้องคดีประสงค์จะทําการรวมโครงการจัดซื้อจัดจ้างเพื่อให้ได้ผู้เสนอราคาที่เป็นผู้รับจ้างรายใหญ่ แต่หากแบ่งโครงการออกเป็นโครงการย่อยจะทําให้ได้ผู้รับจ้างรายย่อย ซึ่งไม่มีเครื่องจักร บุคลากรที่เชี่ยวชาญไม่มีประสบการณ์หรือไม่มีทุนทรัพย์เพียงพอที่จะดําเนินงานได้ จึงย่อมแสดงให้เห็นได้ว่า การที่ผู้ฟ้องคดีรวมการจัดจ้างซ่อมสร้างผิวทางถนนทั้ง 9 ช่วง เป็นโครงการเดียวกัน ผู้ฟ้องคดีคาดหมายเพื่อให้ได้ผู้รับจ้างรายใหญ่มาดําเนินการตามโครงการของผู้ฟ้องคดี และเป็นการคาดการณ์ตามความเข้าใจของผู้ฟ้องคดีเองว่าผู้รับจ้างรายย่อยจะไม่สามารถดําเนินงานก่อสร้างได้ตามความประสงค์ของผู้ฟ้องคดี อันมีลักษณะเป็นการไม่เปิดโอกาสให้มีการแข่งขันกัน อย่างเป็นธรรม อีกทั้งหากทําการแยกโครงการจัดซื้อจัดจ้างออกเป็น 2 กลุ่ม ตามประเภทงาน ผู้ฟ้องคดี ย่อมได้ผู้ที่จะเข้าเสนอราคาเป็นผู้มีความรู้ความเชี่ยวชาญเฉพาะทางสําหรับกลุ่มประเภทงานนั้น ๆ ที่จะสามารถดําเนินงานให้สําเร็จลุล่วงไปได้เช่นเดียวกัน ในทางกลับกัน การรวมการซ่อมสร้างถนน ทั้ง 9 ช่วง เป็นโครงการเดียวกัน หากผู้ชนะการประกวดราคาเป็นผู้มีความสามารถเฉพาะงาน ประเภทใดประเภทหนึ่ง อาจก่อให้เกิดปัญหาไม่สามารถก่อสร้างงานอีกประเภทหนึ่งให้สําเร็จลุล่วง ตามความประสงค์ของผู้ฟ้องคดีเองได้ นอกจากนี้ ในแง่ของการประหยัดงบประมาณของทางราชการ ซึ่งผู้ฟ้องคดีอ้างว่า หากแบ่งย่อยเป็นรายโครงการโดยกําหนดราคากลางเป็นรายโครงการ จะทําให้แต่ละโครงการต้องใช้งบประมาณที่สูงกว่ารวมโครงการ เนื่องจากค่า Factor F จะสูงขึ้นนั้น ยังไม่อาจรับฟังวิธีการคํานวณค่าก่อสร้างกรณีรวมจัดจ้างโครงการเดียวตามคําฟ้องของผู้ฟ้องคดีว่าเป็นการคํานวณที่ถูกต้องได้ ในชั้นประกาศประกวดราคานี้ผู้ฟ้องคดีจึงยังไม่สามารถสรุปหรือคาดหมายได้ว่า การจัดการประกวดราคางานซ่อมสร้างผิวทางของผู้ฟ้องคดีโดยรวมการก่อสร้าง 9 ช่วง เป็นโครงการ เดียวกัน จะเป็นวิธีการที่ทําให้ผู้ฟ้องคดีประหยัดงบประมาณได้มากกว่า โดยหากมีการบริหารจัดจ้างที่ดี และมีการแข่งขันราคากันอย่างเป็นธรรมในแต่ละโครงการ อาจทําให้วงเงินที่จะจัดจ้างในแต่ละโครงการต่ำกว่าที่ประมาณการไว้ได้

สําหรับกรณีที่ผู้ฟ้องคดีกําาหนดให้ผู้เสนอราคาต้องมีผลงานก่อสร้างและมีประสบการณ์ ในการทํางานภาครัฐในสัญญาเดียวที่มีมูลค่า 9,900,000 บาท โดยอ้างว่าเป็นการกําหนดเพื่อแสดง ให้เห็นถึงขีดความสามารถของผู้เข้าเสนอราคานั้น เมื่อพิจารณาวงเงินค่าก่อสร้างในแต่ละช่วงงานแล้ว เห็นได้ว่า มีมูลค่างานไม่ถึง 9,900,000 บาท และเมื่อได้วินิจฉัยแล้วว่าการจัดจ้างซ่อมสร้างผิวทาง ถนนตามโครงการของผู้ฟ้องคดีต้องแยกดําเนินการเป็นรายโครงการ หากผู้ฟ้องคดีประสงค์จะกําหนด มูลค่างานก่อสร้าง จึงควรกําหนดให้สอดคล้องต่อค่างานก่อสร้างในแต่ละช่วงงาน โดยมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 28 ธันวาคม 2536 ซึ่งแจ้งตามหนังสือสํานักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ด่วนมาก ที่ นร 0202/ว 1 ลงวันที่ 3 มกราคม 2537 และหนังสือสํานักนายกรัฐมนตรี ที่ นร (กวพ) 1305/ว 7914 ลงวันที่ 22 กันยายน 2543 ให้กําหนดผลงานก่อสร้างได้ไม่เกินร้อยละ 50 ของวงเงิน งบประมาณ หรือวงเงินประมาณการ หรือราคากลาง การกําหนดคุณสมบัติผู้เสนอราคาให้ต้องเป็น ผู้เสนอราคาที่มีประสบการณ์ในการทํางานภาครัฐในสัญญาเดียวที่มีมูลค่า 9,900,000 บาท ของผู้ฟ้องคดี จึงมีลักษณะเป็นการไม่เปิดโอกาสให้มีการแข่งขันกันอย่างเป็นธรรม ดังนั้น การที่นายอําเภอ (ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1) มีคําสั่งที่ให้ผู้ฟ้องคดียกเลิกและระงับการดําเนินการตามประกาศประกวดราคาจ้างที่พิพาท จึงเป็นการใช้ดุลพินิจโดยชอบด้วยกฎหมายแล้ว และเมื่อผู้ว่าราชการจังหวัด (ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 2) ได้รับรายงานจากผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 แล้วพิจารณาเห็นชอบด้วยกับความเห็นของผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 จึงเป็นการใช้ดุลพินิจที่ชอบด้วยกฎหมายเช่นกัน

โดยสรุป ในการพิจารณาจัดจ้างซ่อมผิวทางถนนจํานวน 9 ช่วง ขององค์การบริหารส่วนตําบล นอกจากจะต้องคํานึงถึงลักษณะและประเภทของงานก่อสร้างรวมถึงคุณสมบัติของผู้รับจ้างแล้ว ยังต้องคํานึงถึงสถานที่ตั้งของโครงการประกอบด้วย เมื่อสถานที่ ดําเนินการแต่ละแห่งล้วนมีที่ตั้งอยู่คนละจุดห่างไกลกัน คนละหมู่บ้าน และไม่เชื่อมต่อ โดยสภาพ ของโครงการจึงไม่อาจรวมว่าจ้างเป็นโครงการเดียวกันได้ การที่องค์การบริหารส่วนตําบลรวมการจัดจ้างเป็นโครงการเดียวกัน โดยคาดหมายเพื่อให้ได้ผู้รับจ้างรายใหญ่มาดําเนินการตามโครงการ ดังกล่าว อันเป็นการหลีกเลี่ยงผู้รับจ้างรายย่อยจากการคาดการณ์เองว่าจะไม่สามารถดําเนินงานก่อสร้างได้ตามความประสงค์ การดําเนินการดังกล่าวจึงมีลักษณะเป็นการไม่เปิดโอกาสให้มีการแข่งขันกันอย่างเป็นธรรม การที่นายอําเภอในฐานะผู้ใช้อํานาจกํากับดูแลออกคําสั่งให้องค์การบริหารส่วนตําบลยกเลิกและระงับการดําเนินการตามประกาศประกวดราคาจ้างเหมาซ่อมสร้างผิวทางที่พิพาท และผู้ว่าราชการจังหวัดเห็นชอบด้วยกับความเห็นดังกล่าว จึงเป็นการใช้ดุลพินิจที่ชอบด้วยกฎหมาย

คําสําคัญ : การประกวดราคาด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์,การกําหนดคุณสมบัติของผู้มีสิทธิ เสนอราคา,การเปิดโอกาสให้มีการแข่งขันอย่างเป็นธรรม,โครงการจ้างเหมาซ่อมผิวทาง,การใช้อํานาจกํากับดูแลองค์การบริหารส่วนตําบล,การรวมว่าจ้างเป็นโครงการเดียว

คําพิพากษาศาลปกครองสูงสุดที่ อ.149/2565

ที่มา : สสค.

———————————————

ทนายพฤกษ์ คดีปกครอง
– ปรึกษาคดี ติดต่อ 063-6364547
– Line: @prueklaw 

สำนักงานกฎหมาย พฤกษ์ แอนด์ พาร์ทเนอร์
สำนักงานทนายความคดีปกครอง ทนายความคดีปกครอง

พระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินที่จะเวนคืน ในท้องที่แขวงวังบูรพาภิรมย์ เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2564

พระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินที่จะเวนคืน ในท้องที่แขวงวังบูรพาภิรมย์ เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2564

ทนายความคดีเวนคืน พร้อมให้คำปรึกษาคดีเกี่ยวกับการเวนคืน ปรึกษาคดีทนายความคดีปกครอง โทร. 063-6364547

พระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินที่จะเวนคืน ในท้องที่แขวงวังบูรพาภิรมย์ เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2564

หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ เนื่องจากกรุงเทพมหานครได้ทาการสำรวจเขตที่ดินเพื่อเวนคืนตามพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืน เพื่อขยายทางหลวงท้องถิ่น สายเชื่อมระหว่างถนนจักรเพชรกับซอยจินดามณี พ.ศ. 2559 ในท้องที่แขวงวังบูรพาภิรมย์ เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร ยังไม่แล้วเสร็จ เพื่ออำนวยความสะดวกและความรวดเร็วแก่การจราจรและการขนส่งอันเป็นกิจการสาธารณูปโภค สมควรกำหนดเขตที่ดินที่จะเวนคืน ในท้องที่แขวงวังบูรพาภิรมย์ เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร เพื่อให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีสิทธิเข้าไปทำการสำรวจเพื่อให้ทราบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ที่ต้องได้มาโดยแน่ชัด จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้

บทความ – ขั้นตอนที่ควรรู้เมื่อถูกเวนคืน

ทนายพฤกษ์ คดีปกครอง
โทร. 063-6364547

ตัวอย่างคดีที่ฟ้องต่อศาลปกครอง ตอนที่ 1

ตัวอย่างคดีที่ฟ้องต่อศาลปกครอง ตอนที่ 1

ตัวอย่างคดีที่ฟ้องต่อศาลปกครอง ตอนที่ 1

ทนายความคดีปกครอง ที่ปรึกษาคดีปกครอง

ประเภทของคดีปกครองที่สามารถยื่นฟ้องต่อศาลปกครองได้นั้น นอกเหนือจากคดีเพิกถอนกฎหรือคำสั่ง คดีเวนคืน หรือคดีสัญญาทางปกครอง แล้ว ยังสามารถพิจารณาโดยจำแนกประเภทของคดีปกครองออกเป็นประเภทต่างๆ ได้ดังต่อไปนี้

1. คดีปกครองที่เกี่ยวกับการเวนคืน หรือการรอนสิทธิ์ เช่น

– คดีที่เกี่ยวกับการพิจารณากำหนดค่าทดแทนจากการเวนคืน ตามกฎหมายว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ เช่น การกำหนดค่าทดแทนการเวนคืน ไม่ว่าจะเป็นค่าทดแทนที่ดิน ค่าทดแทนสิ่งปลูกสร้าง หรือค่าทดแทนต้นไม้ที่กำหนดให้โดยไม่เหมาะสม

– คดีที่เกี่ยวกับการกำหนดแนวเขตและการพิจารณากำหนดค่าทดแทนความเสียหายอันเกิดจากการที่ทำให้ที่ดินของเอกชนตกอยู่ในสภาพอันไม่สามารถใช้ประโยชน์ได้อย่างเต็มที่ เช่น อยู่ในแนวเขตระบบโครงข่ายไฟฟ้า หรืออยู่ในแนวเขตท่อก๊าซธรรมชาติ ซึ่งเจ้าของไม่สามารถใช้ประโยชน์ในที่ดินของตนได้อย่างเต็มที่

2. คดีปกครองที่เกี่ยวกับที่ดิน เช่น

– คดีฟ้องขอให้เพิกถอนคำสั่งของอธิบดีกรมที่ดินที่มีคำสั่งเพิกถอนหนังสือแสดงสิทธิในที่ดิน

– คดีฟ้องสำนักงานที่ดินจังหวัดว่าละเลยต่อหน้าที่ในการพิจารณาคำขอออกโฉนดที่ดิน

– คดีฟ้องขอให้เพิกถอนคำสั่งของคณะกรรมการการเช่านา

– คดีฟ้องขอให้เพิกถอนคำสั่งที่ไม่ออกหนังสือแสดงสิทธิในที่ดินที่ได้ยื่นขอไว้

3. คดีปกครองที่เกี่ยวกับความรับผิดทางละเมิด เช่น

– คดีเกี่ยวกับการกระทำละเมิดของเจ้าหน้าที่ของรัฐ ทั้งกรณีที่เจ้าหน้าที่ของรัฐทำละเมิดต่อเอกชน หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐทำละเมิดต่อหน่วยงาน เช่น ก่อสร้างถนน ถมที่ดิน ตอกเสาเข็ม สร้างทาง รุกล้ำที่ดินของเอกชนและก่อให้เกิดความเสียหาย

– คดีเกี่ยวกับคำสั่งของหน่วยงานที่เรียกให้เจ้าหน้าที่ของรัฐผู้ทำละเมิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทน

4. คดีปกครองที่เกี่ยวกับการควบคุมอาคารและการผังเมือง เช่น

– คดีฟ้องขอให้เพิกถอนคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นกรณีการออกคำสั่งต่างๆ ที่ไม่เป็นไปตามกฎหมายกฎหมายควบคุมอาคาร

– คดีฟ้องเจ้าพนักงานท้องถิ่นกรณีละเลยไม่ดำเนินการกับอาคารที่ก่อสร้างผิดกฎหมายควบคุมอาคาร

– คดีฟ้องเกี่ยวกับการวางผังเมืองตามกฎหมายผังเมือง

5. คดีปกครองที่เกี่ยวกับการจัดสรรที่ดินและอาคารชุด เช่น

– คดีฟ้องขอให้เพิกถอนมติของคณะกรรมการจัดสรรที่ดินหรือฟ้องว่าคณะกรรมการจัดสรรที่ดินละเลยไม่ดำเนินการตามกฎหมายว่าด้วยการจัดสรรที่ดิน

– คดีฟ้องขอให้เพิกถอนคำสั่งของเจ้าพนักงานที่ดินที่รับจดทะเบียนแต่งตั้งหรือเปลี่ยนแปลงผู้จัดการและกรรมการนิติบุคคลอาคารชุด

6. คดีปกครองที่เกี่ยวกับการพัสดุและสัญญาทางปกครอง เช่น

– คดีที่เกี่ยวกับสัญญาที่คู่สัญญาอย่างน้อยฝ่ายหนึ่งเป็นหน่วยงานทางปกครองหรือบุคคลซึ่งกระทำการแทนรัฐ อันลักษณะเป็นสัญญาทางปกครอง เช่น สัญญารับทุนการศึกษา สัญญาจ้างก่อสร้าง สัญญาปรับปรุงภูมิทัศน์

– คดีที่เกี่ยวกับการดำเนินการจัดทำ การซื้อ การจ้าง การแลกเปลี่ยน การเช่า การควบคุม การจำหน่าย รวมถึงการตัดสิทธิการเข้าร่วมดำเนินการตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการพัสดุฯ และระเบียบของหน่วยงานทางปกครองเกี่ยวกับการพัสดุ

    – คดีที่เกี่ยวกับการริบหลักประกันซองของผู้เข้าร่วมการเสนอราคา

7. คดีปกครองที่เกี่ยวกับข้อมูลข่าวสารของราชการ เช่น

– คดีเกี่ยวกับการใช้อำนาจของหน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐที่กระทบสิทธิของราษฎรในการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารของราชการตามกฎหมายว่าด้วยข้อมูลข่าวสารของราชการ

– คดีเกี่ยวกับการใช้อำนาจของหน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐเกี่ยวกับงานทะเบียนบุคคล เช่น การใช้อำนาจตามกฎหมายว่าด้วยการทะเบียนราษฎร กฎหมายว่าด้วยการทะเบียนต่างด้าว หรือกฎหมายว่าด้วยการจดทะเบียนครอบครัว หรืองานทะเบียนตามกฎหมายว่าด้วยการจดทะเบียนเครื่องจักรหรือกฎหมายว่าด้วยอาวุธปืน

นอกเหนือจากประเภทคดีที่กล่าวมาแล้ว ยังมีประเภทคดีปกครองอื่นๆ ที่ฟ้องต่อศาลปกครอง โดยจะขอยกไปกล่าวถึงในตอนที่ 2 โดยสิ่งสำคัญประการหนึ่งที่ควรทราบเกี่ยวกับประเภทของคดีปกครองที่นำมายกตัวอย่างเหล่านี้ เพื่อที่ท่านผู้อ่านบางท่าน หากเกิดกรณีหรือมีข้อพิพาทลักษณะดังกล่าวนี้แล้ว จะได้ทราบถึงสิทธิและหน้าที่ในการนำคดีสู่ศาลได้ถูกต้อง 

ทนายพฤกษ์ คดีปกครอง