กรณีความขัดแย้งระหว่างพนักงานส่วนตําบลกับผู้บริหาร ของ อบต. | เรื่องเด่น คดีปกครอง

กรณีมีความขัดแย้งระหว่างพนักงานส่วนตําบลกับผู้บริหาร ของ อบต. 

การบริหารงานบุคคลภาครัฐ (การสั่งให้ไปปฏิบัติหน้าที่)

กฎหมายที่เกี่ยวข้อง

  1. พระราชบัญญัติระเบียบบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542 (มาตรา 25 วรรคหนึ่ง)
  2. พระราชกฤษฎีกาการได้รับเงินประจําตําแหน่งของข้าราชการและผู้ดํารงตําแหน่ง ผู้บริหารซึ่งไม่เป็นข้าราชการ พ.ศ. 2538
  3. ประกาศคณะกรรมการพนักงานส่วนตําบลจังหวัดหนองบัวลําภู เรื่อง หลักเกณฑ์ และเงื่อนไขเกี่ยวกับการบริหารงานบุคคลขององค์การบริหารส่วนตําบล ลงวันที่ 24 ตุลาคม 2545 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ข้อ 171 ข้อ 175 และข้อ 176)

ในการบริหารราชการขององค์การบริหารส่วนตําบล (ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 3) คําสั่งของผู้ถูกฟ้องคดีที่ 3 โดยนายกองค์การบริหารส่วนตําบล (ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 3) และโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการพนักงานส่วนตําบลจังหวัด (ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 2) ในการประชุมครั้งที่ 7/2558 เมื่อวันที่ 24 กรกฎาคม 2558 ที่ให้ผู้ฟ้องคดีซึ่งดํารงตําแหน่ง ปลัดองค์การบริหารส่วนตําบล ไปประจําสํานักงานเลขานุการคณะกรรมการพนักงานส่วนตําบล เป็นเวลา 6 เดือน เป็นการใช้อํานาจตามข้อ 176 ของประกาศคณะกรรมการพนักงานส่วนตําบลจังหวัด เรื่อง หลักเกณฑ์และเงื่อนไขเกี่ยวกับการบริหารงานบุคคลขององค์การบริหารส่วนตําบล (แก้ไขเพิ่มเติม) ลงวันที่ 14 มีนาคม 2546 โดยการที่ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 มีหนังสือถึงผู้ถูกฟ้องคดีที่ 2 ขอความเห็นชอบให้ผู้ฟ้องคดีไปประจําสํานักงานเลขานุการฯ หรือย้ายออกนอกพื้นที่ เป็นการรายงานพร้อมเหตุผลความจําเป็นให้ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 2 ทราบว่า กรณีมีความจําเป็นเร่งด่วนเพื่อประโยชน์แก่ทางราชการ หรือกรณีมีความขัดแย้งระหว่างผู้ฟ้องคดี กับผู้ถูกฟ้องคดีที่ 3 และไม่สามารถดําเนินการโอนผู้ฟ้องคดีตามข้อ 171 และข้อ 175 ของประกาศ คณะกรรมการพนักงานส่วนตําบลจังหวัด เรื่อง หลักเกณฑ์และเงื่อนไขเกี่ยวกับการบริหารงานบุคคลขององค์การบริหารส่วนตําบล ลงวันที่ 24 ตุลาคม 2545 ซึ่งผู้ถูกฟ้องคดีที่ 2 ได้ทําการตรวจสอบโดยมอบให้นายอําเภอ ซึ่งเป็นผู้มีอํานาจกํากับดูแลผู้ถูกฟ้องคดีที่ 3 ตรวจสอบ และนายอําเภอได้รายงานผลการตรวจสอบว่า กรณีการดําเนินการทางวินัยผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 ได้มีคําสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนวินัยผู้ฟ้องคดี ผลการสอบข้อเท็จจริงปรากฏว่า มีมูลความผิดวินัยฐานไม่ตั้งใจปฏิบัติหน้าที่ราชการให้เกิดผลดีหรือความก้าวหน้าแก่ราชการและถือเป็นการไม่ปฏิบัติตามระเบียบและแบบธรรมเนียมของทางราชการ ซึ่งอยู่ระหว่างการดําเนินการของคณะกรรมการสอบสวนทางวินัย ส่วนกรณีความขัดแย้งระหว่างผู้บริหารกับผู้ฟ้องคดี อาจก่อให้เกิดความเสียหายต่อราชการ แต่มิได้มีเหตุบ่งชี้หรือพฤติการณ์ที่จะก่อให้เกิดอันตราย ต่อบุคคลแต่อย่างใด และรายงานเพิ่มเติมว่า ประธานกรรมการสอบสวนทางวินัยขอให้ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 3 ขอความเห็นชอบจากผู้ถูกฟ้องคดีที่ 2 ให้ผู้ฟ้องคดีไปประจําสํานักงานเลขานุการฯ เนื่องจากเห็นว่า หากให้ผู้ฟ้องคดีปฏิบัติหน้าที่ต่อไปจะเป็นอุปสรรคต่อการสอบสวน แสดงให้เห็นถึงปัญหาความขัดแย้ง ระหว่างผู้ฟ้องคดีกับผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 ซึ่งมีอํานาจหน้าที่กําหนดนโยบายโดยไม่ขัดต่อกฎหมาย รับผิดชอบในการบริหารราชการของผู้ถูกฟ้องคดีที่ 3 ตลอดจนควบคุมและรับผิดชอบในการ บริหารราชการของผู้ถูกฟ้องคดีที่ 3 อีกทั้งปรากฏข้อเท็จจริงจากผู้ฟ้องคดีว่า ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 โดยความเห็นชอบของผู้ถูกฟ้องคดีที่ 2 มีคําสั่งให้ผู้ฟ้องคดีประจําสํานักงานเลขานุการฯ อยู่หลายครั้ง ในทุก ๆ สมัยของผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 ย่อมแสดงให้เห็นว่ามีปัญหาขัดแย้งระหว่างผู้ฟ้องคดีกับผู้ถูกฟ้องคดี ที่ 1 ในการบริหารงานสะสมมาเป็นเวลานานแล้ว หากไม่ได้รับการแก้ไขย่อมส่งผลกระทบต่อ การบริการสาธารณะของผู้ถูกฟ้องคดีที่ 3 ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 2 ซึ่งมีหน้าที่บริหารงานบุคคลสําหรับองค์การบริหารส่วนตําบลทุกแห่งในเขตจังหวัด ตามมาตรา 25 วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่น พ.ศ. 2542 จึงต้องคํานึงถึงการบริหารราชการของผู้ถูกฟ้องคดีที่ 3 เป็นสําคัญ การที่ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 2 ในการประชุมครั้งที่ 7/2558 เมื่อวันที่ 24 กรกฎาคม 2558 มีมติเห็นชอบให้ผู้ฟ้องคดีไปประจําสํานักงานเลขานุการฯ เป็นเวลา 6 เดือน จึงเป็นไปตามข้อ 176 ของประกาศคณะกรรมการพนักงานส่วนตําบลจังหวัด เรื่อง หลักเกณฑ์และเงื่อนไขเกี่ยวกับการบริหารงานบุคคลขององค์การบริหารส่วนตําบล (แก้ไขเพิ่มเติม) ลงวันที่ 14 มีนาคม 2546 ดังนั้น คําสั่งของผู้ถูกฟ้องคดีที่ 3 โดยผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 ที่ให้ผู้ฟ้องคดีไปประจําสํานักงานเลขานุการฯ เป็นระยะเวลา 6 เดือน จึงชอบด้วยกฎหมายและมติของผู้ถูกฟ้องคดีที่ 2 ที่ยกคําร้องทุกข์ของผู้ฟ้องคดี จึงชอบด้วยกฎหมายเช่นกัน

เมื่อผู้ฟ้องคดีได้รับคําสั่งให้ไปประจําสํานักงานเลขานุการ ก.อบต. จังหวัด กรณีจึงต้องถือว่าในระหว่างที่ผู้ฟ้องคดีประจําสํานักงานเลขานุการฯ ผู้ฟ้องคดีมิได้ปฏิบัติหน้าที่ในตําแหน่งปลัดองค์การบริหารส่วนตําบล ที่จะมีสิทธิได้รับเงินประจําตําแหน่งตามพระราชกฤษฎีกาการได้รับเงินประจําตําแหน่งของข้าราชการและผู้ดํารงตําแหน่งผู้บริหารซึ่งไม่เป็นข้าราชการ พ.ศ. 2538 ซึ่งกําหนดให้ข้าราชการจะมีสิทธิได้รับเงินประจําตําแหน่งก็ต่อเมื่อได้รับการแต่งตั้งให้ดํารงตําแหน่งที่มีสิทธิได้รับเงินประจําตําแหน่งและต้องปฏิบัติหน้าที่หลักของตําแหน่งดังกล่าวด้วย ดังนั้น ผู้ฟ้องคดีจึงไม่มีสิทธิได้รับเงินประจําตําแหน่งปลัดองค์การบริหารส่วนตําบล และเงินค่าตอบแทนนักบริหารองค์การบริหารส่วนตําบล ระดับ 8 นอกเหนือจากเงินเดือนในช่วงเวลาดังกล่าว การที่ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 3 ไม่ได้จ่ายเงินประจําตําแหน่งปลัดองค์การบริหารส่วนตําบล เดือนละ 5,600 บาท เป็นระยะเวลา 5 เดือน และเดือนละ 7,000 บาท อีก 1 เดือน รวมเป็นเงินจํานวน 35,000 บาท และเงินค่าตอบแทนนักบริหารองค์การบริหารส่วนตําบล ระดับ 4 เดือนละ 5,600 บาท เป็นระยะเวลา 5 เดือน รวมเป็นเงิน จํานวน 33,600 บาท รวมเป็นเงิน จํานวนทั้งสิ้น 68,600 บาท ให้แก่ผู้ฟ้องคดี จึงมิได้เป็นการกระทําละเมิดต่อผู้ฟ้องคดี ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 3 จึงไม่ต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่ผู้ฟ้องคดีแต่อย่างใด

โดยสรุป กรณีมีความขัดแย้งระหว่างพนักงานส่วนตําบลกับผู้บริหาร ของ อบต. และไม่สามารถโอนพนักงานส่วนตําบลผู้นั้นไปดํารงตําแหน่งใน อบต. อื่น ภายในจังหวัด เดียวกันได้ การที่นายก อบต. โดยความเห็นชอบของ ก.อบต. จังหวัด มีคําสั่งให้พนักงานส่วนตําบล ดังกล่าวไปประจําสํานักงานเลขานุการฯ เป็นเวลา 6 เดือน จึงชอบด้วยกฎหมาย

คําสําคัญ : การสั่งให้ไปปฏิบัติหน้าที่/ข้าราชการส่วนท้องถิ่น/คณะกรรมการพนักงานส่วนตําบล/พนักงานส่วนตําบล/ปลัดองค์การบริหารส่วนตําบล/การบริหารราชการขององค์การบริหารส่วนตําบล/ปัญหาขัดแย้งในการบริหารงาน

คําพิพากษาศาลปกครองสูงสุดที่ อบ. 127/2566

ที่มา : สสค.

———————————————

ทนายพฤกษ์ คดีปกครอง
– ปรึกษาคดี ติดต่อ 063-6364547
– Line: @prueklaw 

สำนักงานกฎหมาย พฤกษ์ แอนด์ พาร์ทเนอร์
สำนักงานทนายความคดีปกครอง ทนายความคดีปกครอง