ระเบียบกรมที่ดินว่าด้วยการรังวัดที่ดินที่จะเวนคืนตามกฎหมายว่าด้วยการเวนคืนและการได้มาซึ่งอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2563

ระเบียบกรมที่ดินว่าด้วยการรังวัดที่ดินที่จะเวนคืนตามกฎหมายว่าด้วยการเวนคืนและการได้มาซึ่งอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2563

ทนายความคดีเวนคืน

ทนายความคดีเวนคืน (63)

ระเบียบกรมที่ดินว่าด้วยการรังวัดที่ดินที่จะเวนคืนตามกฎหมายว่าด้วยการเวนคืนและการได้มาซึ่งอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2563

     โดยที่พระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนและการได้มาซึ่งอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2562 มาตรา 15 วรรคห้า บัญญัติให้นำบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายที่ดินเกี่ยวกับการรังวัดที่ดินมาใช้บังคับโดยอนุโลม จึงกาหนดหลักเกณฑ์และวิธีการเกี่ยวกับการรังวัดที่ดินตามพระราชบัญญัติดังกล่าว เพื่อให้การดำเนินการของพนักงานเจ้าหน้าที่เป็นไปโดยถูกต้องตามกฎหมายและเป็นมาตรฐานเดียวกัน มีประสิทธิภาพในการให้บริการ รวมถึงเพื่อให้หน่วยงานผู้มีหน้าที่เวนคืนที่ดินสามารถนำที่ดินที่ได้จากการเวนคืนไปใช้ประโยชน์ได้อย่างรวดเร็ว

     อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 32 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2545 ประกอบกับข้อ 2 (1) (4) และข้อ 22 (1) แห่งกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการกรมที่ดิน กระทรวงมหาดไทย พ.ศ. 2557 ออกตามความในพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. 2534 อธิบดีกรมที่ดิน จึงวางระเบียบไว้ ดังต่อไปนี้

ข้อ 1 ระเบียบนี้เรียกว่า “ระเบียบกรมที่ดิน ว่าด้วยการรังวัดที่ดินที่จะเวนคืนตามกฎหมายว่าด้วยการเวนคืนและการได้มาซึ่งอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2563”

ข้อ 2 ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป

ข้อ 3 ในระเบียบนี้

     “เจ้าหน้าที่” หมายความว่า กระทรวง ทบวง กรม องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น รัฐวิสาหกิจหน่วยงานอื่นของรัฐ หรือบุคคลอื่นใดผู้กระทำการเพื่อประโยชน์ของรัฐ ซึ่งมีหน้าที่และอำนาจในการเวนคืนหรือควบคุมการเวนคืน

     “พนักงานเจ้าหน้าที่” หมายความว่า เจ้าหน้าที่และบุคคลซึ่งเจ้าหน้าที่แต่งตั้งให้ดำเนินการตามกฎหมายว่าด้วยการเวนคืนและการได้มาซึ่งอสังหาริมทรัพย์

     “การรังวัด” หมายความว่า การรังวัดปักเขต และทำเขต จด หรือคานวณการรังวัดเพื่อให้ทราบที่ตั้งแนวเขตที่ดิน หรือที่ตั้งและเนื้อที่ของที่ดินโดยช่างรังวัด

     “หลักเขตที่ดิน” หมายความว่า หลักเขตคอนกรีต หลักเขตโลหะ และหลักเขตที่ดินที่กรมที่ดินอนุมัติให้หน่วยราชการอื่นจัดทำขึ้นตามรูปแบบและหลักเกณฑ์ที่กรมที่ดินกำหนด

ข้อ 4 ให้ผู้อำนวยการสานักมาตรฐานและส่งเสริมการรังวัด รักษาการตามระเบียบนี้

 

หมวด 1

การเตรียมการรังวัดที่ดินที่จะเวนคืน

ข้อ 5 เมื่อมีการตราพระราชกฤษฎีกาที่ออกตามมาตรา 8 หรือมีการตราพระราชบัญญัติที่ออกตามมาตรา 28 หรือมาตรา 30 แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนและการได้มาซึ่งอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2562 ในพื้นที่ใดแล้ว และเจ้าหน้าที่ผู้มีหน้าที่ในการเวนคืนได้มีหนังสือร้องขอให้กรมที่ดินจัดส่งช่างรังวัดไปดำเนินการรังวัดที่ดิน พร้อมทั้งจัดส่งงบประมาณในการดำเนินการและรายละเอียดเกี่ยวกับที่ดินที่อยู่ในแนวเขตที่ดินที่จะเวนคืน ประกอบด้วย

     (1) แผนที่หรือแผนผังแสดงแนวเขตที่ดินที่จะเวนคืนตามท้ายพระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ หรือพระราชกฤษฎีกาเวนคืนที่ดิน

     (2) ตำแหน่งรูปแปลงที่ดินที่อยู่ภายในแนวเขตตามแผนที่ท้ายพระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์หรือพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินที่จะเวนคืนที่จะให้ทำการรังวัด พร้อมรายละเอียดเกี่ยวกับที่ดินและรายชื่อเจ้าของที่ดินแปลงนั้น ทั้งนี้ ให้ระบุแปลงที่ดินที่มีความประสงค์จะขอให้ออกหนังสือแสดงสิทธิในที่ดินไว้ให้ชัดเจนด้วย

     (3) ชื่อ – สกุล ตำแหน่ง และสังกัด ของผู้ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นพนักงานเจ้าหน้าที่สำหรับการประสานงานและดำเนินการในเรื่องการรังวัดตามกฎหมายว่าด้วยการเวนคืนและการได้มาซึ่งอสังหาริมทรัพย์

     (4) งบประมาณค่าใช้จ่ายในการรังวัด

ข้อ 6 ให้สำนักมาตรฐานและส่งเสริมการรังวัดหรือผู้ที่อธิบดีกรมที่ดินมอบหมาย ตรวจสอบรายละเอียดของที่ดินที่จะเวนคืนและจัดทำแผนปฏิบัติการตามประมาณการค่าใช้จ่ายที่ได้รับ พร้อมทั้งจัดทำคำสั่งเสนออธิบดี แต่งตั้งเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานรังวัดและหัวหน้าสายงานสารวจและรังวัดเป็นเจ้าพนักงานไปดำเนินงานตามแผนปฏิบัติการดังกล่าว

     กรณีตรวจสอบตามวรรคหนึ่งแล้วปรากฏว่า ปริมาณงานที่จะต้องทำการรังวัดไม่เหมาะสม สาหรับการจัดส่งช่างรังวัดจากส่วนกลางไปดำเนินการ กรมที่ดินจะส่งเรื่องให้สำนักงานที่ดินในเขตพื้นที่รับผิดชอบเป็นผู้ดำเนินการตามระเบียบนี้

ข้อ 7 ให้ช่างรังวัดที่ได้รับมอบหมายเดินทางไปรายงานตัวต่อผู้ว่าราชการจังหวัดและมอบหนังสือร้องขอจากเจ้าหน้าที่หรือพนักงานเจ้าหน้าที่ พร้อมทั้งเอกสารหลักฐานตามข้อ 5 (2) ให้สำนักงานที่ดินในเขตพื้นที่รับผิดชอบ เพื่อมอบหมายให้เจ้าหน้าที่ฝ่ายทะเบียน ตรวจสอบรายละเอียด ของที่ดินที่จะเวนคืนดังกล่าว หากพบว่าข้อมูลถูกต้องครบถ้วน ให้รับคำขอและนำเข้าระบบงานสารสนเทศของกรมที่ดินให้แล้วเสร็จในวันที่ได้รับหนังสือหรืออย่างช้าในวันทำการถัดไป และให้ถือว่าหนังสือแจ้งพร้อมรายละเอียดเกี่ยวกับที่ดินดังกล่าวเป็นคำขอรังวัด โดยให้ระบุเป็นประเภทงานโครงการและให้แยกคำขอรังวัดเป็นรายแปลงที่ดิน เสร็จแล้วส่งให้ฝ่ายรังวัดรับเรื่องดำเนินการ

ข้อ 8 กรณีเจ้าหน้าที่หรือพนักงานเจ้าหน้าที่มีหนังสือแจ้งสำนักงานที่ดินในเขตพื้นที่รับผิดชอบพร้อมเอกสารหลักฐานตามข้อ 5 (1) (2) และ (3) เพื่อให้สำนักงานที่ดินทำการรังวัดให้เจ้าพนักงานที่ดินมอบหมายให้เจ้าหน้าที่ฝ่ายทะเบียน ตรวจสอบรายละเอียดของที่ดินที่จะเวนคืน ดังกล่าว หากข้อมูลถูกต้องครบถ้วนให้รับคำขอและนำเข้าระบบงานสารสนเทศของกรมที่ดินให้แล้วเสร็จในวันที่ได้รับหนังสือหรืออย่างช้าในวันทำการถัดไป และให้ถือว่าหนังสือแจ้งพร้อมรายละเอียดเกี่ยวกับที่ดินดังกล่าวเป็นคำขอรังวัด เสร็จแล้วส่งให้ฝ่ายรังวัดรับเรื่องดำเนินการ

     กรณีใช้เงินงบประมาณแผ่นดินเป็นค่าใช้จ่ายในการรังวัด ให้ประมาณการและคำนวณค่าใช้จ่ายเท่าที่จำเป็นและจ่ายจริง

     กรณีใช้เงินนอกงบประมาณแผ่นดินเป็นค่าใช้จ่ายในการรังวัด ให้ประมาณการและคำนวณ ค่าใช้จ่ายแบบเหมาจ่ายให้พนักงานเจ้าหน้าที่ชาระเงินค่าใช้จ่ายในการรังวัด ก่อนวันรังวัดไม่น้อยกว่า 15 วัน

ข้อ 9 กรณีสำนักงานที่ดินในเขตพื้นที่รับผิดชอบตรวจสอบข้อมูลแล้วปรากฏว่า ปริมาณงานที่ขอให้ทำการรังวัดมีจำนวนมาก ไม่สามารถจัดส่งช่างรังวัดของสำนักงานที่ดินไปดำเนินการได้ให้สำนักงานที่ดินจังหวัดแจ้งเหตุผลและความจำเป็นให้กรมที่ดินพิจารณาดาเนินการ

ข้อ 10 เมื่อครบกำหนด 7 วัน นับจากวันรายงานตัวตามข้อ 7 ให้ช่างรังวัดจัดทารายงานผลการดำเนินงานและการติดต่อประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งปัญหาอุปสรรคต่าง ๆ ตลอดจนแผนผังแสดงตำแหน่งที่พักในการปฏิบัติงานโดยสังเขปพร้อมเบอร์โทรศัพท์ในการติดต่อเสนอให้เจ้าพนักงานที่ดินและหัวหน้าสายงานสำรวจและรังวัดทราบ เพื่อรวบรวมแจ้งให้กรมที่ดินทราบ

หมวด 2

การแจ้งเจ้าของที่ดินที่เกี่ยวข้อง

ข้อ 11 การรังวัดที่ดินที่จะเวนคืนตามกฎหมายว่าด้วยการเวนคืนและการได้มาซึ่งอสังหาริมทรัพย์เมื่อช่างรังวัดได้กำหนดวันที่จะทำการรังวัดที่ดินแปลงใดแล้ว ให้เจ้าพนักงานที่ดินมีหนังสือแจ้งให้เจ้าของที่ดินที่เกี่ยวข้องซึ่งเป็นผู้ครอบครองที่ดินโดยชอบด้วยกฎหมายที่มีที่ดินติดต่อกับพื้นที่เวนคืนตามข้อ 5 และผู้ที่เกี่ยวข้องอื่นทราบก่อนวันเข้าทำการรังวัดไม่น้อยกว่าสิบห้าวัน เพื่อให้มาชี้หรือระวังแนวเขตที่ดิน

ข้อ 12 การแจ้งเจ้าของที่ดินที่เกี่ยวข้องซึ่งเป็นเจ้าของที่ดินแปลงที่จะทำการรังวัดให้เจ้าพนักงานที่ดินส่งหนังสือแจ้งให้เจ้าของที่ดินทราบล่วงหน้าไม่น้อยกว่าสิบห้าวัน โดยส่งทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับ ณ ภูมิลำเนาหรือที่อยู่ที่ปรากฏตามหลักฐานทางทะเบียนตามกฎหมายว่าด้วยการทะเบียนราษฎร

     ในหนังสือแจ้งให้มีข้อความด้วยว่า “กรณีเจ้าของที่ดินที่เกี่ยวข้องไม่มาชี้หรือระวังแนวเขตหรือมาแต่ไม่ยอมลงชื่อรับรองแนวเขต ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ดำเนินการรังวัดต่อไปได้โดยไม่ต้องมีการชี้หรือรับรองแนวเขต ทั้งนี้ ตามมาตรา 15 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนและการได้มาซึ่งอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2562”

     กรณีไม่ทราบว่าผู้ใดเป็นเจ้าของที่ดินแปลงดังกล่าวหรือไม่สามารถส่งหนังสือแจ้งได้ให้ปิดประกาศหนังสือแจ้งไว้ในที่เห็นได้ง่าย ณ บริเวณที่ดินที่จะเวนคืนนั้นตั้งอยู่เป็นเวลาไม่น้อยกว่าสิบห้าวันก่อนวันเข้าทำการรังวัด โดยให้ช่างรังวัดบันทึกพยานรู้เห็นการปิดประกาศดังกล่าว อย่างน้อย 2 คน เมื่อพ้นกำหนดเวลาดังกล่าวแล้ว ให้ถือว่าได้มีการแจ้งหรือส่งหนังสือแจ้งโดยชอบด้วยกฎหมายว่าด้วยการเวนคืนและการได้มาซึ่งอสังหาริมทรัพย์แล้ว

ข้อ 13 การแจ้งเจ้าของที่ดินที่เกี่ยวข้อง ซึ่งเป็นเจ้าของที่ดินแปลงข้างเคียง ให้ช่างรังวัดรับคาขอรังวัดจากฝ่ายรังวัดไปดำเนินการตรวจสอบค้นหาหลักฐานแผนที่ใช้ประกอบการรังวัด รวมทั้งการค้นหาข้อมูลที่ดินแปลงข้างเคียง ได้แก่ เลขที่ดิน หน้าสำรวจ และชื่อตำบลของที่ดินแปลงข้างเคียง เฉพาะแปลงที่มีที่ดินหรือมีแนวเขตติดต่อกับแปลงที่ดินที่ทำการรังวัดบริเวณพื้นที่ที่จะเวนคืน และแจ้งให้สำนักงานที่ดินค้นหาชื่อและที่อยู่ที่ปรากฏตามหลักฐานทางทะเบียนตามกฎหมายว่าด้วยการทะเบียนราษฎร

     ให้เจ้าพนักงานที่ดินส่งหนังสือแจ้งให้เจ้าของที่ดินแปลงข้างเคียงตามวรรคหนึ่งทราบล่วงหน้าไม่น้อยกว่าสิบห้าวัน โดยส่งทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับ ตามที่อยู่ที่ค้นได้ตามวรรคหนึ่ง

     ในหนังสือแจ้งให้มีข้อความด้วยว่า “กรณีเจ้าของที่ดินที่เกี่ยวข้องไม่มาชี้หรือระวังแนวเขต หรือมาแต่ไม่ยอมลงชื่อรับรองแนวเขต ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ดำเนินการรังวัดต่อไปได้โดยไม่ต้องมีการชี้หรือรับรองแนวเขต ทั้งนี้ ตามมาตรา 15 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนและการได้มาซึ่งอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2562”

     กรณีไม่ทราบว่าผู้ใดเป็นเจ้าของที่ดินข้างเคียงแปลงดังกล่าวหรือไม่สามารถส่งหนังสือแจ้งได้ให้ปิดประกาศหนังสือแจ้งไว้ในที่เห็นได้ง่าย ณ บริเวณที่ดินนั้นตั้งอยู่เป็นเวลาไม่น้อยกว่าสิบห้าวันก่อนวันเข้าทำการรังวัด โดยให้ช่างรังวัดบันทึกพยานรู้เห็นการปิดประกาศดังกล่าว อย่างน้อย 2 คน เมื่อพ้นกาหนดเวลาดังกล่าวแล้ว ให้ถือว่าได้มีการแจ้งหรือส่งหนังสือแจ้งโดยชอบด้วยกฎหมายว่าด้วยการเวนคืนและการได้มาซึ่งอสังหาริมทรัพย์แล้ว

ข้อ 14 การรังวัดหนังสือแสดงสิทธิในที่ดินเฉพาะส่วนที่ถูกเวนคืน เมื่อช่างรังวัดได้ตรวจสอบข้อมูลก่อนการรังวัดแล้วพบว่า ที่ดินที่จะทำการรังวัดแปลงใดมีรูปแผนที่หรือเนื้อที่ผิดพลาดคลาดเคลื่อนหรือมีการครอบครองและทำประโยชน์ไม่ตรงตามแผนที่หรือเนื้อที่ในหนังสือแสดงสิทธิในที่ดินจำเป็นต้องทำการรังวัดรอบแปลง ให้เจ้าพนักงานที่ดินมีหนังสือแจ้งให้เจ้าของที่ดินข้างเคียงทุกแปลงที่มีเขตติดต่อกับที่ดินแปลงดังกล่าวไประวังชี้แนวเขต

 

หมวด 3

การรังวัดที่ดินที่จะเวนคืน

ข้อ 15 การรังวัดแบ่งแยกหนังสือแสดงสิทธิในที่ดินเพื่อการเวนคืนที่ดิน ให้ทำการรังวัดเฉพาะส่วนที่ถูกเขตเวนคืน โดยให้ช่างรังวัดดำเนินการตามกฎหมายว่าด้วยการเวนคืนและการได้มาซึ่งอสังหาริมทรัพย์ ประมวลกฎหมายที่ดิน กฎ ระเบียบ และหลักเกณฑ์และวิธีการที่กรมที่ดินกำหนด

ข้อ 16 ให้ช่างรังวัดประสานงานกับพนักงานเจ้าหน้าที่ตามข้อ 5 (3) เพื่อออกไปทำการรังวัดที่ดินตามกำหนดวันทำการรังวัด โดยให้เจ้าของที่ดินแปลงที่ทำการรังวัดร่วมกับพนักงานเจ้าหน้าที่เป็นผู้นารังวัดและจัดการปักหลักเขตที่ดินตามมุมเขตที่ดินที่ถูกเวนคืน หากมุมเขตที่ดินใดปักหลักเขตที่ดินไม่ได้ให้ปักหลักพยานแทน พร้อมทั้งให้เจ้าของที่ดินแปลงข้างเคียงระวังชี้แนวเขต

     เมื่อได้ปักหลักเขตที่ดินเสร็จเรียบร้อยแล้ว ให้เจ้าของที่ดินแปลงที่ทำการรังวัด พนักงานเจ้าหน้าที่และเจ้าของที่ดินแปลงข้างเคียง ลงนามรับรองเขตที่ดินในแบบใบรับรองเขตติดต่อของเจ้าของที่ดินและเจ้าของที่ดินข้างเคียง (ท.ด.34)

     ให้ช่างรังวัดบันทึกถ้อยคำ (ท.ด.16) พนักงานเจ้าหน้าที่และผู้ที่เกี่ยวข้องเกี่ยวกับเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในการรังวัด ไว้เป็นหลักฐานประกอบเรื่องรังวัด

ข้อ 17 กรณีการรังวัดแบ่งแยกที่ดินที่มีการรังวัดใหม่แล้ว (ร.ว.ม.) หากที่ดินในส่วนที่เหลืออันเนื่องมาจากการถูกเขตเวนคืนมีมากกว่าหนึ่งแปลง และเจ้าของที่ดินมีความประสงค์จะให้แบ่งแยกที่ดินเป็นรายแปลง ให้ช่างรังวัดตรวจสอบหลักฐานการรังวัดเดิม หากถูกต้องก็ให้ดำเนินการมาในคราวเดียวกันได้ โดยให้บันทึกถ้อยคา (ท.ด.16) เจ้าของที่ดิน เพื่อใช้เป็นหลักฐานประกอบเรื่องรังวัด

ข้อ 18 กรณีเจ้าของที่ดินแปลงที่ทำการรังวัดและเจ้าของที่ดินข้างเคียงไม่มาชี้หรือระวังแนวเขตหรือมาแต่ไม่ยอมลงชื่อรับรองแนวเขต ให้ช่างรังวัดดำเนินการรังวัดต่อไปได้โดยไม่ต้องมีการชี้หรือรับรองแนวเขต ทั้งนี้ ให้ช่างรังวัดบันทึกถ้อยคำ (ท.ด.16) พนักงานเจ้าหน้าที่เป็นผู้นำรังวัดและลงชื่อรับรองแนวเขต

ข้อ 19 การรังวัดแบ่งแยกที่ดินที่ถูกเวนคืนตามข้อ 15 ให้คำนวณเนื้อที่ส่วนที่ถูกเวนคืนจากผลการรังวัดจริง ส่วนที่ดินแปลงคงเหลือหรือที่ดินแปลงที่ถูกตัดขาดออกไปเนื่องจากการแบ่งแยกดังกล่าว ให้หักลบเนื้อที่ออกจากผลการรังวัด โดยไม่ต้องดำเนินการแก้ไขรูปแผนที่และเนื้อที่ ทั้งนี้ให้อนุโลมใช้รูปแผนที่และเนื้อที่หนังสือแสดงสิทธิในที่ดินเดิมไปพลางก่อน

ข้อ 20 กรณีรูปแผนที่รังวัดแบ่งแยกหรือเนื้อที่รังวัดใหม่ แตกต่างจากรูปแผนที่หรือเนื้อที่หนังสือแสดงสิทธิในที่ดินเดิมมากเกินเกณฑ์เฉลี่ย ไม่สามารถนำรูปแผนที่รังวัดแบ่งแยกกันเขตครอบลงในรูปแผนที่เดิมได้ หรือไม่สามารถนำเนื้อที่ใหม่ไปหักลบจากเนื้อที่เดิมได้เนื่องจากรังวัดและคำนวณเนื้อที่หรือจาลองรูปแผนที่ไว้แต่เดิมผิดพลาดคลาดเคลื่อน ให้ช่างรังวัดนัดทำการรังวัดใหม่รอบแปลงที่ดินและเสนอเจ้าพนักงานที่ดินพิจารณาดาเนินการสั่งแก้ไขรูปแผนที่หรือเนื้อที่ตามมาตรา 69 ทวิ แห่งประมวลกฎหมายที่ดิน

ข้อ 21 กรณีเจ้าหน้าที่หรือพนักงานเจ้าหน้าที่ได้แจ้งความประสงค์ให้ทำการรังวัดที่ดินแปลงที่ไม่มีหนังสือแสดงสิทธิในที่ดิน ให้ช่างรังวัดทาการรังวัดเฉพาะส่วนพื้นที่ที่อยู่ในแนวเขตที่ดินที่จะเวนคืนตามที่พนักงานเจ้าหน้าที่ได้นำทำการรังวัด

     หากเจ้าหน้าที่หรือพนักงานเจ้าหน้าที่มีความประสงค์ให้ออกหนังสือแสดงสิทธิในที่ดินที่ทาการรังวัดตามวรรคหนึ่ง ให้ช่างรังวัดดำเนินการมาในคราวเดียวกัน ทั้งนี้ เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กฎหมาย ระเบียบและคำสั่งที่เกี่ยวข้องกำหนด

หมวด 4

การจัดทาแผนที่และการลงที่หมายในระวางแผนที่

ข้อ 22 การจัดทำต้นร่างแผนที่ คำนวณเนื้อที่และลงที่หมายในระวางแผนที่ระบบดิจิทัลและการจัดทาแผนที่ประกอบเรื่องรังวัด ให้ช่างรังวัดใช้โปรแกรมระบบสารสนเทศงานรังวัดตามมาตรฐานที่กรมที่ดินกำหนด

ข้อ 23 ให้ช่างรังวัดจัดทำต้นร่างแผนที่โดยขึ้นรูปแผนที่และคำนวณเนื้อที่บริเวณที่ได้ทำการรังวัดด้วยมาตราส่วนเดียวกันกับแผนที่ในหนังสือแสดงสิทธิในที่ดินเดิม และให้จำลองรูปแผนที่จากหนังสือแสดงสิทธิในที่ดินเดิมมาลงที่หมายเพิ่มเติมในต้นร่างแผนที่ให้เต็มแปลงที่ดิน พร้อมทั้งให้ระบุข้อความด้วยหมึกสีแดงไว้บริเวณด้านบนของต้นร่างแผนที่ว่า “แผนที่แบ่งเวนคืนฉบับนี้อนุโลมใช้รูปแผนที่หนังสือแสดงสิทธิในที่ดินและระวางเดิมไปพลางก่อน”

     สำหรับการจัดทำต้นร่างแผนที่ตามข้อ 20 ให้ระบุข้อความด้วยหมึกสีแดงไว้บริเวณด้านบนของต้นร่างแผนที่ว่า “ไม่สามารถหาหลักฐานครอบลงในรูปแผนที่เดิมได้” โดยไม่ต้องระบุข้อความตามวรรคหนึ่ง

ข้อ 24 การจัดทำแผนที่และบัญชีรายชื่อเจ้าของที่ดิน (ร.ว.43 ก.) ให้ใช้มาตราส่วน 1 : 4000 หรือใช้มาตราส่วนในแผนที่แสดงแนวเขตที่ดินที่เวนคืน (แผนที่กันเขต) โดยให้จำลองรูปแผนที่จากต้นร่างแผนที่แต่ละแปลง นำไปลงที่หมายในแผนที่และบัญชีรายชื่อเจ้าของที่ดิน (ร.ว.43 ก.) ให้ครบถ้วน โดยเริ่มจากแปลงที่ 1 เรียงตามลำดับไปจนกว่าจะเต็มแผ่น

     กรณีพื้นที่ปฏิบัติงานมีลักษณะงานเป็นแนวยาวต่อเนื่องกันไป เช่น แนวคลอง แนวถนนให้จัดทาแผนที่แบ่งตามความยาวเป็นช่วง ๆ โดยมีความยาวแผ่นละ 1.5 กิโลเมตร เริ่มจากกิโลเมตร 0+000 เป็นต้นไป

     กรณีพื้นที่ปฏิบัติงานมีลักษณะเป็นพื้นที่บริเวณกว้างขวาง เช่น อ่างเก็บน้ำ เขื่อน ให้จัดทาแผนที่แบ่งตามพื้นที่ปฏิบัติงานเป็นแผ่น ๆ โดยแต่ละแผ่นครอบคลุมพื้นที่ 1 ตารางกิโลเมตร และให้แยกหมายเลขแผ่นตามประเภทการรังวัดและกิจกรรมที่ทำการรังวัด เช่น บริเวณหัวงาน สถานีสูบน้า สถานีรถไฟฟ้า เป็นต้น

ข้อ 25 การจัดทำรูปแผนที่ประกอบเรื่องรังวัด ให้จาลองรูปแผนที่กระดาษบาง (ร.ว.9) จากต้นร่างแผนที่หรือพิมพ์จากระบบคอมพิวเตอร์ เพื่อใช้ประกอบเรื่องรังวัดจำนวน 2 ฉบับ และให้ระบุข้อความด้วยหมึกสีแดงไว้บริเวณด้านบนของรูปแผนที่เช่นเดียวกับต้นร่างแผนที่ พร้อมทั้งให้จำลองรูปแผนที่กระดาษบาง (ร.ว.9) จากรูปแผนที่ที่ได้ลงที่หมายในแผนที่ระวางแล้ว ส่งไปให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องลงที่หมายเพิ่มเติมในแผนที่ระวางจานวน 1 ฉบับ

หมวด 5

การรายงานและส่งเรื่องรังวัด

ข้อ 26 ให้ช่างรังวัดรายงานผลการรังวัดตามแบบรายงานผลการรังวัด (ร.ว.3 ก.) โดยรายงานเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นเกี่ยวกับการรังวัด พร้อมทั้งรายงานค่าธรรมเนียมการรังวัดเกี่ยวกับโฉนดที่ดิน ค่าหลักเขตที่ดิน หรือค่าธรรมเนียมการพิสูจน์สอบสวนหรือตรวจสอบเนื้อที่เกี่ยวกับหนังสือรับรองการทาประโยชน์ และค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ในการรังวัดตามที่กฎหมายกำหนด

ข้อ 27 ให้ช่างรังวัดจัดส่งเรื่องรังวัดและแผนที่และบัญชีรายชื่อเจ้าของที่ดิน (ร.ว.43 ก.) ที่ได้ดำเนินการแล้วเสร็จ ภายในวันที่ 25 ของเดือนถัดไป พร้อมทั้งสมุดคุมเรื่องประจาตัวช่างรังวัด (ร.ว.71) ให้หัวหน้าสายงานสารวจและรังวัดหรือหัวหน้าฝ่ายรังวัดแล้วแต่กรณี ดำเนินการตรวจสอบความถูกต้องและลงนามรับรองให้เป็นไปตามระเบียบที่กำหนดให้แล้วเสร็จโดยเร็ว หากมีข้อผิดพลาดให้สั่งช่างรังวัดดำเนินการแก้ไขทันที

ข้อ 28 ให้ช่างรังวัดนำเรื่องรังวัดที่หัวหน้าสายงานสารวจและรังวัด ได้ตรวจสอบความถูกต้องเสร็จเรียบร้อยแล้ว พร้อมทั้งแผนที่และบัญชีรายชื่อเจ้าของที่ดิน (ร.ว.43 ก.) และสมุดคุมเรื่องประจาตัวช่างรังวัด (ร.ว.71) ส่งให้สำนักงานที่ดิน และให้หัวหน้าฝ่ายรังวัดหรือผู้ที่ได้รับมอบหมายลงนามรับเรื่องรังวัดในแผนที่และบัญชีรายชื่อเจ้าของที่ดิน (ร.ว.43 ก.)

ข้อ 29 กรณีเจ้าหน้าที่หรือพนักงานเจ้าหน้าที่ แจ้งความประสงค์ขอให้เจ้าพนักงานที่ดินออกหนังสือแสดงสิทธิในที่ดินส่วนที่ถูกเวนคืน ให้สำนักงานที่ดินดำเนินการออกหนังสือแสดงสิทธิในที่ดินส่วนที่ถูกเวนคืน ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กฎหมายกำหนด และมอบให้เจ้าหน้าที่หรือพนักงานเจ้าหน้าที่ต่อไป

ประกาศ ณ วันที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2563

นิสิต จันทร์สมวงศ์

อธิบดีกรมที่ดิน

ทนายความคดีปกครอง

พระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินที่จะเวนคืน ในท้องที่เขตบางซื่อ เขตดุสิต เขตพระนคร เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย เขตสัมพันธวงศ์ เขตธนบุรี เขตคลองสาน เขตจอมทอง เขตราษฎร์บูรณะ เขตทุ่งครุ กรุงเทพมหานคร และอำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ พ.ศ. 2563

พระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินที่จะเวนคืน ในท้องที่เขตบางซื่อ เขตดุสิต เขตพระนคร เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย เขตสัมพันธวงศ์ เขตธนบุรี เขตคลองสาน เขตจอมทอง เขตราษฎร์บูรณะ เขตทุ่งครุ กรุงเทพมหานคร และอำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ พ.ศ. 2563

ทนายความคดีเวนคืน

ทนายความคดีเวนคืน (62)

หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ เนื่องจากมีความจำเป็นต้องดำเนินกิจการรถไฟฟ้า ในส่วนที่เกี่ยวกับการจัดสร้างโครงการขนส่งด้วยระบบรถไฟฟ้า สถานที่จอดรถสาหรับผู้โดยสารและกิจการอื่นที่เกี่ยวเนื่องกับกิจการรถไฟฟ้าตามโครงการรถไฟฟ้า สายสีม่วง ช่วงเตาปูน – ราษฎร์บูรณะ (วงแหวนกาญจนาภิเษก) ในท้องที่เขตบางซื่อ เขตดุสิต เขตพระนคร เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย เขตสัมพันธวงศ์ เขตธนบุรี เขตคลองสาน เขตจอมทอง เขตราษฎร์บูรณะ เขตทุ่งครุ กรุงเทพมหานคร และอำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ เพื่ออำนวยความสะดวกและความรวดเร็วแก่การจราจรและการขนส่งอันเป็นกิจการสาธารณูปโภค สมควรกำหนดเขตที่ดินที่จะเวนคืนในท้องที่ดังกล่าว เพื่อให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีสิทธิเข้าไปทาการสารวจเพื่อให้ทราบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ที่ต้องได้มาโดยแน่ชัด จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้

ทนายความคดีปกครอง

พระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินที่จะเวนคืน ในท้องที่ตำบลตะกุด และตำบลปากเพรียว อำเภอเมืองสระบุรี จังหวัดสระบุรี พ.ศ. 2563

พระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินที่จะเวนคืน ในท้องที่ตำบลตะกุด และตำบลปากเพรียว อำเภอเมืองสระบุรี จังหวัดสระบุรี พ.ศ. 2563

ทนายความคดีเวนคืน

ทนายความคดีเวนคืน (61)

หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ เนื่องจากกรมทางหลวงชนบทได้ทำการสำรวจเขตที่ดินเพื่อเวนคืนตามพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืน ในท้องที่ตำบลตะกุด และตำบลปากเพรียว อำเภอเมืองสระบุรี จังหวัดสระบุรี พ.ศ. 2555 เพื่อสร้างทางหลวงชนบท ถนนสาย ข 2 ตามโครงการผังเมืองรวมเมืองสระบุรียังไม่แล้วเสร็จ สมควรกำหนดเขตที่ดินที่จะเวนคืนในท้องที่ตำบลตะกุด และตำบลปากเพรียว อำเภอเมืองสระบุรี จังหวัดสระบุรี เพื่อให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีสิทธิเข้าไปทำการสารวจเพื่อให้ทราบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ที่ต้องได้มาโดยแน่ชัด จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้

ทนายความคดีปกครอง

พระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินที่จะเวนคืน ในท้องที่ตำบลหอมศีล ตำบลพิมพา อำเภอบางปะกง และตำบลเทพราช อำเภอบ้านโพธิ์ จังหวัดฉะเชิงเทรา พ.ศ. 2563

พระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินที่จะเวนคืน ในท้องที่ตำบลหอมศีล ตำบลพิมพา อำเภอบางปะกง และตำบลเทพราช อำเภอบ้านโพธิ์ จังหวัดฉะเชิงเทรา พ.ศ. 2563

ทนายความคดีเวนคืน

ทนายความคดีเวนคืน (60)

หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ เนื่องจากมีความจำเป็นต้องขยายทางหลวงชนบท ฉช. 2004 ในท้องที่ตำบลหอมศีล ตำบลพิมพา อำเภอบางปะกง และตำบลเทพราช อำเภอบ้านโพธิ์ จังหวัดฉะเชิงเทรา เพื่ออำนวยความสะดวกและความรวดเร็วแก่การจราจรและการขนส่ง อันเป็นกิจการสาธารณูปโภค สมควรกำหนดเขตที่ดินที่จะเวนคืนในท้องที่ดังกล่าว เพื่อให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีสิทธิเข้าไปทำการสารวจเพื่อให้ทราบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ที่ต้องได้มาโดยแน่ชัด จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้

ทนายความคดีปกครอง

พระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินที่จะเวนคืน ในท้องที่ตำบลกุยบุรี และตำบลกุยเหนือ อำเภอกุยบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ พ.ศ. 2563

พระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินที่จะเวนคืน ในท้องที่ตำบลกุยบุรี และตำบลกุยเหนือ อำเภอกุยบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ พ.ศ. 2563

ทนายความคดีเวนคืน

ทนายความคดีเวนคืน (59)

หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ เนื่องจากมีความจำเป็นต้องสร้างทางหลวงชนบท สายเชื่อมระหว่างทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 4 กับทางหลวงชนบท ปข. 2013 ตามโครงการก่อสร้างทางต่างระดับข้ามทางรถไฟ ในท้องที่ตำบลกุยบุรี และตำบลกุยเหนือ อำเภอกุยบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เพื่ออำนวยความสะดวกและความรวดเร็วแก่การจราจรและการขนส่งอันเป็นกิจการสาธารณูปโภค สมควรกำหนดเขตที่ดินที่จะเวนคืนในท้องที่ดังกล่าว เพื่อให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีสิทธิเข้าไปทำการสำรวจเพื่อให้ทราบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ที่ต้องได้มาโดยแน่ชัด จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้

ทนายความคดีปกครอง

พระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินที่จะเวนคืน ในท้องที่ตำบลคอกกระบือ และตำบลพันท้ายนรสิงห์ อำเภอเมืองสมุทรสาคร จังหวัดสมุทรสาคร พ.ศ. 2563

พระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินที่จะเวนคืน ในท้องที่ตำบลคอกกระบือ และตำบลพันท้ายนรสิงห์ อำเภอเมืองสมุทรสาคร จังหวัดสมุทรสาคร พ.ศ. 2563

ทนายความคดีเวนคืน

ทนายความคดีเวนคืน (58)

หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ เนื่องจากมีความจำเป็นต้องขยายทางหลวงชนบท สค. 2032 ที่แยกสาริน และสายเชื่อมระหว่างสะพานข้ามทางรถไฟสายแม่กลองกับทางหลวงชนบท สค. 5031 ในท้องที่ตำบลคอกกระบือ และตำบลพันท้ายนรสิงห์ อำเภอเมืองสมุทรสาคร จังหวัดสมุทรสาคร เพื่ออำนวยความสะดวกและความรวดเร็วแก่การจราจรและการขนส่ง อันเป็นกิจการสาธารณูปโภค สมควรกำหนดเขตที่ดินที่จะเวนคืนในท้องที่ดังกล่าว เพื่อให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีสิทธิเข้าไปทาการสำรวจเพื่อให้ทราบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ที่ต้องได้มาโดยแน่ชัด จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้

ทนายความคดีปกครอง

พระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินที่จะเวนคืน ในท้องที่ตำบลบึง และตำบลบ่อวิน อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี พ.ศ. 2563

พระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินที่จะเวนคืน ในท้องที่ตำบลบึง และตำบลบ่อวิน อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี พ.ศ. 2563

ทนายความคดีเวนคืน

ทนายความคดีเวนคืน (57)

หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ เนื่องจากมีความจำเป็นต้อง
ขยายทางหลวงชนบท ชบ. 1032 และสร้างทางหลวงชนบท สายเชื่อมระหว่างทางหลวงพิเศษหมายเลข 7 กับทางหลวงชนบท ชบ. 1032 ในท้องที่ตำบลบึง และตำบลบ่อวิน อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี เพื่ออำนวยความสะดวกและความรวดเร็วแก่การจราจรและการขนส่งอันเป็นกิจการสาธารณูปโภค สมควรกำหนดเขตที่ดินที่จะเวนคืนในท้องที่ดังกล่าว เพื่อให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีสิทธิเข้าไปทาการสำรวจ เพื่อให้ทราบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ที่ต้องได้มาโดยแน่ชัด จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้

ทนายความคดีปกครอง

พระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินที่จะเวนคืน ในท้องที่ตำบลสันติสุข ตำบลสองแคว อำเภอดอยหล่อ และตำบลท่าวังพร้าว อำเภอสันป่าตอง จังหวัดเชียงใหม่ พ.ศ. 2563

พระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินที่จะเวนคืน ในท้องที่ตำบลสันติสุข ตำบลสองแคว อำเภอดอยหล่อ และตำบลท่าวังพร้าว อำเภอสันป่าตอง จังหวัดเชียงใหม่ พ.ศ. 2563

ทนายความคดีเวนคืน

ทนายความคดีเวนคืน (56)

หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ เนื่องจากมีความจำเป็นต้องสร้างทางหลวงชนบท บริเวณจุดตัดทางหลวงชนบท ชม. 3035 ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 116 ทางหลวงชนบท ชม. 3027 และทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 108 ตามโครงการก่อสร้างทางลอดต่างระดับบริเวณทางหลวงชนบท ชม. 3035 กับทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 116 และทางข้ามต่างระดับบริเวณทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 108 ในท้องที่ตาบลสันติสุข ตำบลสองแคว อำเภอดอยหล่อ และตำบลท่าวังพร้าว อำเภอสันป่าตอง จังหวัดเชียงใหม่ เพื่ออำนวยความสะดวกและความรวดเร็วแก่การจราจรและการขนส่งอันเป็นกิจการสาธารณูปโภค สมควรกำหนดเขตที่ดินที่จะเวนคืนในท้องที่ดังกล่าว เพื่อให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีสิทธิเข้าไปทำการสารวจเพื่อให้ทราบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ที่ต้องได้มาโดยแน่ชัด จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้

ทนายความคดีปกครอง

พระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินที่จะเวนคืน ในท้องที่ตำบลท่างิ้ว อำเภอบรรพตพิสัย และตำบลเนินขี้เหล็ก ตำบลบ้านไร่ ตำบลสระแก้ว ตำบลลาดยาว อำเภอลาดยาว จังหวัดนครสวรรค์ พ.ศ. 2563

พระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินที่จะเวนคืน ในท้องที่ตำบลท่างิ้ว อำเภอบรรพตพิสัย และตำบลเนินขี้เหล็ก ตำบลบ้านไร่ ตำบลสระแก้ว ตำบลลาดยาว อำเภอลาดยาว จังหวัดนครสวรรค์ พ.ศ. 2563

ทนายความคดีเวนคืน

ทนายความคดีเวนคืน (55)

หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ เนื่องจากมีความจำเป็นต้องขยายทางหลวงชนบท นว. 1001 และสร้างทางหลวงชนบท สายถนนวงแหวนเลี่ยงเมืองลาดยาว ในท้องที่ตำบลท่างิ้ว อำเภอบรรพตพิสัย และตำบลเนินขี้เหล็ก ตำบลบ้านไร่ ตำบลสระแก้ว ตำบลลาดยาว อำเภอลาดยาว จังหวัดนครสวรรค์ เพื่ออำนวยความสะดวกและความรวดเร็วแก่การจราจรและการขนส่ง อันเป็นกิจการสาธารณูปโภค สมควรกำหนดเขตที่ดินที่จะเวนคืนในท้องที่ดังกล่าว เพื่อให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีสิทธิเข้าไปทำการสารวจเพื่อให้ทราบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ที่ต้องได้มาโดยแน่ชัด จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้

ทนายความคดีปกครอง

พระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินที่จะเวนคืน ในท้องที่ตำบลบ้านสวน และตำบลหนองข้างคอก อำเภอเมืองชลบุรี จังหวัดชลบุรี พ.ศ. 2563

พระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินที่จะเวนคืน ในท้องที่ตำบลบ้านสวน และตำบลหนองข้างคอก อำเภอเมืองชลบุรี จังหวัดชลบุรี พ.ศ. 2563

ทนายความคดีเวนคืน

ทนายความคดีเวนคืน (54)

หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ เนื่องจากมีความจำเป็นต้องสร้างทางหลวงชนบทตามโครงการก่อสร้างทางต่างระดับข้ามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 361 และทางรถไฟสายตะวันออก ในท้องที่ตำบลบ้านสวน และตำบลหนองข้างคอก อำเภอเมืองชลบุรี จังหวัดชลบุรี เพื่ออำนวยความสะดวกและความรวดเร็วแก่การจราจรและการขนส่งอันเป็นกิจการสาธารณูปโภค สมควรกำหนดเขตที่ดินที่จะเวนคืนในท้องที่ดังกล่าว เพื่อให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีสิทธิเข้าไปทำการสารวจเพื่อให้ทราบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ที่ต้องได้มาโดยแน่ชัด จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้

ทนายความคดีปกครอง