ประกาศกรมชลประทาน เรื่อง กำหนดให้การเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ ในท้องที่ตำบลป่ากุมเกาะ ตำบลในเมือง ตำบลคลองยาง อำเภอสวรรคโลก ตำบลศรีนคร ตำบลคลองมะพลับ อำเภอศรีนคร จังหวัดสุโขทัย และตำบลไร่อ้อย ตำบลคอรุม อำเภอพิชัย จังหวัดอุตรดิตถ์ เป็นกรณีมีเหตุจำเป็นเร่งด่วน

ประกาศกรมชลประทาน เรื่อง กำหนดให้การเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ ในท้องที่ตำบลป่ากุมเกาะ ตำบลในเมือง ตำบลคลองยาง อำเภอสวรรคโลก ตำบลศรีนคร ตำบลคลองมะพลับ อำเภอศรีนคร จังหวัดสุโขทัย และตำบลไร่อ้อย ตำบลคอรุม อำเภอพิชัย จังหวัดอุตรดิตถ์ เป็นกรณีมีเหตุจำเป็นเร่งด่วน

ทนายความคดีปกครอง ทนายความคดีเวนคืน พร้อมให้คำปรึกษาคดีเกี่ยวกับการเวนคืน ปรึกษาคดี โทร. 063-6364547

act-130

ประกาศกรมชลประทาน เรื่อง กำหนดให้การเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ ในท้องที่ตำบลป่ากุมเกาะ ตำบลในเมือง ตำบลคลองยาง อำเภอสวรรคโลก ตำบลศรีนคร ตำบลคลองมะพลับ อำเภอศรีนคร จังหวัดสุโขทัย และตำบลไร่อ้อย ตำบลคอรุม อำเภอพิชัย จังหวัดอุตรดิตถ์ เป็นกรณีมีเหตุจำเป็นเร่งด่วน ตามที่ได้มีการประกาศใช้บังคับพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินที่จะเวนคืน ในท้องที่ตำบลป่ากุมเกาะ ตำบลในเมือง ตำบลคลองยาง อำเภอสวรรคโลก ตำบลศรีนคร ตำบลคลองมะพลับ อำเภอศรีนคร จังหวัดสุโขทัย และตำบลไร่อ้อย ตำบลคอรุม อำเภอพิชัย จังหวัดอุตรดิตถ์ พ.ศ. 2565 เพื่อประโยชน์แก่การชลประทาน ในการก่อสร้างและปรับปรุงประตูระบายนำ อาคารประกอบ และสิ่งจำเป็นในการชลประทานอื่นตามโครงการปรับปรุงคลองยม – น่าน จังหวัดสุโขทัย นั้น

อธิบดีกรมชลประทานในฐานะเจ้าหน้าที่ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนและการได้มาซึ่งอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2562 เห็นว่า การก่อสร้างและปรับปรุงประตูระบายนำ อาคารประกอบ และสิ่งจำเป็นในการชลประทานอื่นตามโครงการดังกล่าวเป็นกรณีมีเหตุจำเป็นเร่งด่วนที่ถ้าปล่อยเนิ่นช้าไปจะเป็นอุปสรรคแก่การพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมหรือประโยชน์ของรัฐอันสำคัญอย่างอื่น

อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 28 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนและการได้มาซึ่งอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2562 ประกอบกับมาตรา 11 วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติการชลประทานหลวง พุทธศักราช 2485 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติการชลประทานหลวง (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2530 กรมชลประทานโดยความเห็นชอบของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ จึงกำหนดให้การเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ตามพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินที่จะเวนคืน ในท้องที่ตำบลป่ากุมเกาะ ตำบลในเมือง ตำบลคลองยาง อำเภอสวรรคโลก ตำบลศรีนคร ตำบลคลองมะพลับ อำเภอศรีนคร จังหวัดสุโขทัย และตำบลไร่อ้อย ตำบลคอรุม อำเภอพิชัย จังหวัดอุตรดิตถ์ พ.ศ. 2565 เป็นกรณีมีเหตุจำเป็นเร่งด่วน เพื่อให้เจ้าหน้าที่หรือพนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจเข้าครอบครองหรือใช้อสังหาริมทรัพย์นั้นก่อนการเวนคืนโดยตราพระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์

ทั้งนี เจ้าของหรือผู้ครอบครองซึ่งอสังหาริมทรัพย์โดยชอบด้วยกฎหมายมีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนและในกรณีที่เจ้าของหรือผู้ครอบครองซึ่งอสังหาริมทรัพย์โดยชอบด้วยกฎหมายไม่มารับเงินค่าทดแทนเจ้าหน้าที่จะวางเงินค่าทดแทนไว้ ณ ธนาคารออมสิน ในชื่อของผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนโดยแยกฝากเป็นบัญชีเฉพาะราย ก่อนเจ้าหน้าที่ดำเนินการเพื่อเข้าครอบครองหรือใช้ประโยชน์ในอสังหาริมทรัพย์ต่อไป

ประกาศ ณ วันที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2566

———————————————

ทนายพฤกษ์ คดีปกครอง

– ปรึกษาคดี ติดต่อ 063-6364547
– Line: @prueklaw 

สำนักงานกฎหมาย พฤกษ์ แอนด์ พาร์ทเนอร์
สำนักงานทนายความคดีปกครอง ทนายความคดีปกครอง

ผู้มีอํานาจสั่งให้ผู้ใหญ่บ้านพ้นจากตําแหน่งเนื่องจากขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้าม | เรื่องเด่น คดีปกครอง

ผู้มีอํานาจสั่งให้ผู้ใหญ่บ้านพ้นจากตําแหน่งเนื่องจากขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้าม

การปกครองและการบริหารราชการแผ่นดิน

กฎหมายที่เกี่ยวข้อง

  • พระราชบัญญัติลักษณะปกครองท้องที่ พระพุทธศักราช 2457 มาตรา 12 (3) มาตรา 13 วรรคสี่ และวรรคห้า และมาตรา 14 วรรคหนึ่ง (2) และ (7)

คดีนี้ นายอําเภอเมืองเชียงใหม่ (ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 2) ได้มีประกาศอําเภอเมืองเชียงใหม่ ลงวันที่ 26 มกราคม 2554 ให้มีการรับสมัครผู้ใหญ่บ้าน หมู่ที่ 1 ตําบล ห. อําเภอ ม. จังหวัด ช. โดยมีผู้สมัครจํานวน 2 ราย คือ นาย ย. อดีตผู้ใหญ่บ้าน และผู้ฟ้องคดี ต่อมา วันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2554 ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 2 ได้รับหนังสือคัดค้านจากนาย ย. ว่าผู้ฟ้องคดีเป็นผู้ขาดคุณสมบัติและมีลักษณะต้องห้ามการเป็นผู้ใหญ่บ้าน เพราะผู้ฟ้องคดีไม่มีภูมิลําเนาอยู่ในเขตพื้นที่หมู่ที่ 1 ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 2 จึงได้มีหนังสือเชิญคณะกรรมการตรวจสอบและพิจารณาคุณสมบัติและลักษณะต้องห้าม เพื่อพิจารณาทบทวนคุณสมบัติของผู้ฟ้องคดี ซึ่งที่ประชุมของคณะกรรมการส่วนใหญ่มีมติให้ดําเนินการ เลือกผู้ใหญ่บ้านในวันอาทิตย์ที่ 20 กุมภาพันธ์ 2554 และให้มีหนังสือหารือไปยังผู้ว่าราชการจังหวัด เชียงใหม่ ต่อมา ผู้ฟ้องคดีได้รับเลือกเป็นผู้ใหญ่บ้าน หมู่ที่ 1 ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 2 จึงได้มีการแต่งตั้ง ให้ผู้ฟ้องคดีดํารงตําแหน่งผู้ใหญ่บ้าน ตั้งแต่วันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2554 หลังจากนั้น ผู้ว่าราชการ จังหวัดเชียงใหม่ ได้ตอบหนังสือหารือข้างต้น โดยให้ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 2 แต่งตั้งคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริง ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 2 จึงได้มีคําสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการสอบสวนข้อเท็จจริง ซึ่งได้สรุปผล การสอบสวนข้อเท็จจริงว่า ผู้ฟ้องคดีมิได้มีภูมิลําเนาอยู่ในเขตหมู่ที่ 1 ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 2 จึงมีความเห็นว่า ผู้ฟ้องคดีเป็นผู้ขาดคุณสมบัติและมีคําสั่งลงวันที่ 19 กรกฎาคม 2556 ให้ผู้ฟ้องคดีผู้ใหญ่บ้าน หมู่ที่ 1 พ้นจากตําแหน่ง เนื่องจากขาดคุณสมบัติและมีลักษณะต้องห้ามของการเป็นผู้ใหญ่บ้านตามมาตรา 12 (3) ประกอบกับมาตรา 14 วรรคหนึ่ง (2) แห่งพระราชบัญญัติลักษณะปกครองท้องที่ พระพุทธศักราช 2457 ทั้งนี้ เมื่อการแต่งตั้งผู้ใหญ่บ้านตามผลการเลือกตั้ง เป็นอํานาจของนายอําเภอ ตามนัยมาตรา 13 วรรคสี่ แห่งพระราชบัญญัติลักษณะปกครองท้องที่ พระพุทธศักราช 2457 การที่ความปรากฏในภายหลังว่า ผู้ใหญ่บ้านที่ได้รับการเลือก เป็นผู้ไม่มีคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้าม มิให้สมัครรับเลือกผู้ใหญ่บ้าน ตามมาตรา 12 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว ซึ่งไม่มีบทบัญญัติของกฎหมายกําหนดไว้เป็นอย่างอื่น กรณีย่อมเป็นอํานาจของนายอําเภอที่จะเป็นผู้ออกคําสั่ง ให้ผู้ใหญ่บ้านนั้นพ้นจากตําแหน่ง มิใช่อํานาจของผู้ว่าราชการจังหวัด เนื่องจากการที่ผู้ว่าราชการจังหวัด จะมีอํานาจในการสั่งให้ผู้ใหญ่บ้านพ้นจากตําแหน่งนั้น จะต้องมีบทบัญญัติของกฎหมายกําหนดไว้ชัดเจนดังเช่นมาตรา 13 วรรคห้า แห่งพระราชบัญญัติเดียวกัน ซึ่งเป็นกรณีที่ผู้ได้รับเลือกเป็นผู้ใหญ่บ้านได้รับเลือกมาโดยไม่สุจริตและเที่ยงธรรม หรือกรณีที่ผู้ใหญ่บ้านบกพร่องในหน้าที่หรือประพฤติตนไม่เหมาะสมกับตําแหน่งตามบทบัญญัติมาตรา 14 วรรคหนึ่ง (7) แห่งพระราชบัญญัติ ลักษณะปกครองท้องที่ พระพุทธศักราช 2457 ซึ่งเห็นได้ว่าเป็นคนละกรณีกับกรณีที่เป็นเหตุที่พิพาท ตามฟ้องที่เป็นเรื่องเกี่ยวกับคุณสมบัติของผู้ใหญ่บ้าน

ดังนั้น คําสั่งของผู้ถูกฟ้องคดีที่ 2 ที่ให้ผู้ฟ้องคดี พ้นจากตําแหน่งผู้ใหญ่บ้าน หมู่ที่ 1 เนื่องจากขาดคุณสมบัติและมีลักษณะต้องห้ามของการเป็น ผู้ใหญ่บ้าน ตามมาตรา 12 (3) ประกอบมาตรา 14 วรรคหนึ่ง (2) แห่งพระราชบัญญัติลักษณะ ปกครองท้องที่ พระพุทธศักราช 2457 จึงชอบด้วยกฎหมาย

โดยสรุป เมื่อการแต่งตั้งผู้ใหญ่บ้านเป็นอํานาจของนายอําเภอ การที่ปรากฏในภายหลังว่า ผู้ใหญ่บ้านเป็นผู้ขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้ามมิให้สมัครรับเลือกผู้ใหญ่บ้าน จึงย่อมเป็นอํานาจของนายอําเภอที่เป็นผู้ออกคําสั่งให้ผู้ใหญ่บ้านนั้นพ้นจากตําแหน่งเช่นกัน

คําสําคัญ : คุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามของผู้ใหญ่บ้าน/การถอดถอนผู้ใหญ่บ้าน/อํานาจ นายอําเภอ/อํานาจผู้ว่าราชการจังหวัด

คําพิพากษาศาลปกครองสูงสุดที่ อ. 98/2565

ที่มา : สสค.

———————————————

ทนายพฤกษ์ คดีปกครอง
– ปรึกษาคดี ติดต่อ 063-6364547
– Line: @prueklaw 

สำนักงานกฎหมาย พฤกษ์ แอนด์ พาร์ทเนอร์
สำนักงานทนายความคดีปกครอง ทนายความคดีปกครอง

หลักฐานการเบิกค่าเช่าบ้านข้าราชการ | เรื่องเด่น คดีปกครอง

การนําหลักฐานการชําระค่าเช่าซื้อหรือผ่อนชําระเงินกู้เพื่อชําระราคาบ้านมาเบิกค่าเช่าบ้าน ข้าราชการ

สิทธิประโยชน์และสวัสดิการของบุคลากรภาครัฐ : คําสั่งไม่อนุมัติให้นําหลักฐานการผ่อนชําระราคาบ้านมาเบิกค่าเช่าบ้านข้าราชการ

กฎหมายที่เกี่ยวข้อง

  1. พระราชกฤษฎีกาค่าเช่าบ้านข้าราชการ พ.ศ. 2547 (มาตรา 4 มาตรา 7 วรรคหนึ่ง และมาตรา 17)
  1. พระราชกฤษฎีกาค่าเช่าบ้านตุลาการศาลปกครอง พ.ศ. 2544 (มาตรา 3 วรรคหนึ่ง)

ผู้ฟ้องคดีดํารงตําแหน่งตุลาการศาลปกครองนครราชสีมา ต่อมา ได้รับคําสั่งให้ไป ช่วยทํางานชั่วคราวในตําแหน่งตุลาการศาลปกครองกลาง โดยผู้ฟ้องคดีได้รับอนุมัติให้เบิกค่าเช่าบ้าน ข้าราชการในการเช่าอพาร์ทเมนท์ซึ่งตั้งอยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร และหลังจากศาลปกครองได้ย้ายมาตั้งที่ทําการที่ถนนแจ้งวัฒนะ ผู้ฟ้องคดีได้เช่าห้องชุดซึ่งตั้งอยู่ในท้องที่อําเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี และได้รับอนุมัติให้เบิกค่าเช่าบ้านข้าราชการ จากนั้น ผู้ฟ้องคดีได้กู้เงินโครงการสวัสดิการข้าราชการ เพื่อซื้อห้องชุดในเขตท้องที่อําเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี เป็นที่อยู่อาศัย จึงได้นําหลักฐาน การผ่อนชําระเงินกู้เพื่อชําระค่าบ้านดังกล่าวมาขอเบิกค่าเช่าบ้านข้าราชการ แต่ผู้ถูกฟ้องคดีเห็นว่า บ้านหลังดังกล่าวไม่ได้ตั้งอยู่ในท้องที่กรุงเทพมหานครซึ่งเป็นท้องที่ที่ประจําสํานักงานใหม่ จึงมีคําสั่งไม่อนุมัติให้ผู้ฟ้องคดีนําหลักฐานกรผ่อนชําระเงินกู้เพื่อชําระราคาบ้านที่ค้างชําระมาเบิกค่าเช่าบ้าน ข้าราชการ ผู้ฟ้องคดีไม่เห็นด้วยจึงอุทธรณ์คําสั่งดังกล่าวและนําคดีมาฟ้องต่อศาลปกครอง ศาลปกครองสูงสุดโดยที่ประชุมใหญ่ตุลาการในศาลปกครองสูงสุดเห็นว่า กรณีที่ผู้ฟ้องคดี ได้ทําสัญญาเช่าซื้อหรือทําสัญญาเงินกู้เพื่อชําระราคาบ้านเพื่อเป็นที่อยู่อาศัยและได้อาศัยอยู่จริงแต่บ้านหลังดังกล่าวมิได้อยู่ในท้องที่ที่ไปประจําสํานักงานใหม่ ซึ่งได้มีการนิยามคําว่า “ท้องที่” ไว้แล้ว ในมาตรา 4 แห่งพระราชกฤษฎีกาค่าเช่าบ้านข้าราชการ พ.ศ. 2547 ดังนั้น ผู้ฟ้องคดีจึงไม่มีสิทธิ นําหลักฐานการชําระค่าเช่าซื้อหรือค่าผ่อนชําระเงินกู้เพื่อชําระราคาบ้านมาขอเบิกค่าเช่าบ้านข้าราชการ ได้ตามมาตรา 17 แห่งพระราชกฤษฎีกาค่าเช่าบ้านข้าราชการ พ.ศ. 2547 คําสั่งของผู้ถูกฟ้องคดี ที่ไม่อนุมัติให้ผู้ฟ้องคดีนําหลักฐานการผ่อนชําระราคาบ้านมาเบิกค่าเช่าบ้านข้าราชการ และคําวินิจฉัย อุทธรณ์ของผู้ถูกฟ้องคดีที่วินิจฉัยให้ยกอุทธรณ์ของผู้ฟ้องคดีจึงเป็นคําสั่งที่ชอบด้วยกฎหมายแล้ว

ความเห็นแย้ง พระราชกฤษฎีกาค่าเช่าบ้านข้าราชการ พ.ศ. 2547 มีเจตนารมณ์ที่จะขยายสิทธิการเบิกค่าเช่าบ้านข้าราชการให้รวมถึงการนําค่าเช่าซื้อหรือค่าผ่อนชําระเงินกู้เพื่อชําระราคาบ้านด้วย มิใช่ลดสิทธิให้ต่ำกว่าเดิม อันเป็นการสนับสนุนให้ข้าราชการมีบ้านอยู่อาศัยเป็นของตนเอง ข้าราชการย่อมมีสิทธิเบิกค่าเช่าบ้านหรือค่าเช่าซื้อหรือค่าผ่อนชําระเงินกู้เพียงอย่างหนึ่งอย่างใดเท่านั้น การเปลี่ยนสิทธิเบิกจากค่าเช่าบ้านเป็นค่าเช่าซื้อหรือค่าผ่อนชําระเงินกู้เพื่อชําระราคาบ้านจึงไม่ทําให้ ทางราชการต้องรับภาระเพิ่มแต่อย่างใด แต่ในทางตรงกันข้าม ยังเป็นการลดภาระของทางราชการ ที่ไม่ต้องจ่ายค่าเช่าบ้านให้ข้าราชการจนเกษียณอายุราชการ การที่พระราชกฤษฎีกาดังกล่าวกําหนดให้ เบิกค่าเช่าบ้านต่างท้องที่ได้แต่ไม่ให้เบิกค่าเช่าซื้อบ้านต่างท้องที่ ย่อมเป็นการลดสิทธิของข้าราชการให้ลดน้อยลงกว่าเดิม จึงขัดกับเจตนารมณ์ดังกล่าวและเป็นการเลือกปฏิบัติระหว่างผู้เช่าบ้านกับผู้เช่าซื้อหรือผ่อนชําระเงินกู้เพื่อชําระราคาบ้านอันเป็นการไม่ชอบด้วยกฎหมาย จึงเห็นว่าผู้ฟ้องคดีมีสิทธิ นําหลักฐานการชาระค่าเช่าซื้อหรือค่าผ่อนชําระเงินกู้เพื่อชําระราคาบ้านมาขอเบิกค่าเช่าบ้านได้

โดยสรุป การนําหลักฐานการชําระค่าเช่าซื้อหรือผ่อนชําระเงินกู้เพื่อชําระราคาบ้านมาเบิกค่าเช่าบ้าน ข้าราชการ จะต้องเป็นบ้านที่อยู่ในท้องที่ที่ไปประจําสํานักงานใหม่

คําสําคัญ : สิทธิประโยชน์และสวัสดิการ/ค่าเช่าบ้าน/ค่าเช่าซื้อ ท้องที่ที่ไปประจําสํานักงานใหม่

คําพิพากษาศาลปกครองสูงสุดที่ อ. 689/2565 (ประชุมใหญ่)

ที่มา : สสค.

———————————————

ทนายพฤกษ์ คดีปกครอง
– ปรึกษาคดี ติดต่อ 063-6364547
– Line: @prueklaw 

สำนักงานกฎหมาย พฤกษ์ แอนด์ พาร์ทเนอร์
สำนักงานทนายความคดีปกครอง 

หน่วยงานละเลยไม่ปรับพื้นถนน ทำให้มีผู้ประสบอุบัติเหตุ | เรื่องเด่น คดีปกครอง

หน่วยงานของรัฐละเลยไม่ดูแลพื้นถนน ทำให้มีผู้ประสบอุบัติเหตุถึงแก่ความตาย

ละเมิด

กฎหมายที่เกี่ยวข้อง

  1. ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (มาตรา 223 มาตรา 420 มาตรา 438 มาตรา 442 มาตรา 443 มาตรา 1461 วรรคสอง มาตรา 1563 มาตรา 1564 วรรคหนึ่ง มาตรา 1629 มาตรา 1649 วรรคสอง)
  2. ระเบียบของที่ประชุมใหญ่ตุลาการในศาลปกครองสูงสุด ว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2543 (ข้อ 101 วรรคสอง)

คดีนี้ข้อเท็จจริงปรากฏว่า นาง น. ได้ขับขี่รถจักรยานยนต์ออกจากบ้านพักไปตามถนน ซอยสมิตตะโยธิน ตําบลหมากแข้ง อําเภอเมืองอุดรธานี จังหวัดอุดรธานี เมื่อถึงบริเวณจุดตัด กับทางรถไฟซึ่งเป็นบริเวณที่การรถไฟแห่งประเทศไทย (ผู้ถูกฟ้องคดี) กําลังทําการซ่อมบํารุงทางรถไฟ รถจักรยานยนต์ที่นาง น. ได้ขับขี่มาประสบอุบัติเหตุล้มลง ทําให้นาง น. ได้รับบาดเจ็บและเสียชีวิต ในเวลาต่อมา ข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่าถนนบริเวณที่เกิดเหตุซึ่งมีการซ่อมบํารุงทางรถไฟอยู่นั้น มีลักษณะ เป็นหลุมหรือร่องรางรถไฟ ไม่มีเส้นแบ่งช่องจราจร หินคลุกบริเวณชิดขอบรางรถไฟมีการยุบตัว โดยพื้นผิวบริเวณที่ติดกับสันรางรถไฟอยู่ในระดับต่ํากว่าสันรางรถไฟ ซึ่งผู้ถูกฟ้องคดีทราบอยู่แล้วว่า ถนนบริเวณดังกล่าวซึ่งเป็นหินคลุกอาจก่อให้เกิดอุบัติเหตุแก่ประชาชนที่สัญจรผ่านไปมาได้ ผู้ถูกฟ้องคดี จึงควรต้องดําเนินการปรับพื้นถนนบริเวณดังกล่าวให้มีความพร้อมสําหรับการใช้งานได้โดยสะดวก และเป็นไปเพื่อความปลอดภัยสําหรับประชาชนที่ต้องขับขี่รถผ่านถนนบริเวณดังกล่าวมากกว่าที่เป็นอยู่ หรือดําเนินการติดตั้งหรือวางสัญญาณเตือนโดยระบุระยะทางที่มีการซ่อมบํารุงทางรถไฟดังกล่าว เพื่อเตือนให้ผู้ใช้เส้นทางลดความเร็วและเตรียมความพร้อม ซึ่งมาตรการดังกล่าวสามารถกระทําได้ โดยไม่ยุ่งยากหรือพ้นวิสัยที่ผู้ถูกฟ้องคดีจะดําเนินการได้ตามนัยมาตรา 9 (4) และมาตรา 38 แห่งพระราชบัญญัติการรถไฟแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2494 อย่างไรก็ตาม แม้ไม่อาจรับฟังข้อเท็จจริงเป็นที่ยุติได้ว่ามีการจัดทําป้ายสัญญาณหรือเครื่องหมายแจ้งเตือนหรือไม่ แต่การที่ผู้ถูกฟ้องคดี ทราบอยู่แล้วว่าในขณะเกิดเหตุพื้นผิวถนนบริเวณที่เกิดเหตุอาจก่อให้เกิดอุบัติเหตุแก่ประชาชนที่สัญจรผ่านถนนบริเวณดังกล่าวได้ แต่ไม่ดําเนินการปรับพื้นถนนบริเวณดังกล่าวให้มีความพร้อม สําหรับการใช้งานได้โดยสะดวก และเป็นไปเพื่อความปลอดภัยสําหรับประชาชนที่ต้องขับขี่รถ ผ่านถนนบริเวณดังกล่าว ก็ถือเป็นการละเลยต่อหน้าที่ตามที่กฎหมายกําหนดให้ต้องปฏิบัติแล้ว เมื่อการละเลยต่อหน้าที่ตามที่กฎหมายกําหนดให้ต้องปฏิบัติของผู้ถูกฟ้องคดีดังกล่าวเป็นเหตุให้นาง น. ประสบอุบัติเหตุจนถึงแก่ความตาย จึงเป็นการกระทําละเมิดตามมาตรา 420 แห่งประมวลกฎหมาย แพ่งและพาณิชย์ ผู้ถูกฟ้องคดีจึงต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่ผู้ฟ้องคดีทั้งสี่ซึ่งเป็นทายาท โดยธรรมของนาง น.

ข้อเท็จจริงปรากฏว่านาง น. ได้ใช้เส้นทางดังกล่าวเป็นประจําและเป็นระยะเวลากว่า 10 ปี นาง น. จึงย่อมทราบว่าบริเวณที่เกิดเหตุกําลังดําเนินการซ่อมบํารุงทางรถไฟ และย่อมรู้ ถึงสภาพของพื้นถนนในบริเวณดังกล่าวเป็นอย่างดีว่าบริเวณใดที่มีพื้นถนนไม่เรียบ และย่อมต้องทราบว่า พื้นถนนที่ติดกับสันรางรถไฟจะอยู่ในระดับที่ต่ํากว่าสันรางรถไฟ นอกจากนั้น ยังปรากฏข้อเท็จจริงว่า ขณะเกิดเหตุนาง น. ได้ขับขี่รถจักรยานยนต์โดยไม่ได้สวมหมวกที่จัดทําขึ้นโดยเฉพาะเพื่อป้องกัน อันตรายในขณะขับขี่รถจักรยานยนต์ ซึ่งหากนาง น. ได้สวมใส่หมวกนิรภัยตามที่กฎหมายกําหนดไว้แล้ว ย่อมลดความรุนแรงที่เกิดจากอุบัติเหตุได้ และไม่น่าจะเกิดเหตุร้ายแรงจนถึงขนาดเสียชีวิตดังกล่าว การเสียชีวิตของนาง น. จึงเป็นผลมาจากความประมาทของนาง น. รวมอยู่ด้วย จึงเป็นกรณีที่นาง น. ผู้ตายมีส่วนประมาทเลินเล่อหรือส่วนผิดในความเสียหายที่เกิดขึ้นอยู่มาก จึงเห็นควรนําพฤติการณ์ในส่วนนี้ของนาง น. มาคํานวณหักออกจากค่าสินไหมทดแทนที่ผู้ถูกฟ้องคดีจะต้องรับผิดชดใช้ให้แก่ ผู้ฟ้องคดีทั้งสี่จํานวนสองในสามส่วนตามนัยมาตรา 442 ประกอบกับมาตรา 223 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่า ผู้ฟ้องคดีทั้งสี่เป็นทายาทโดยธรรมและเป็นผู้มีสิทธิรับมรดก ของนาง น. ตามมาตรา 1629 วรรคหนึ่ง (1) และวรรคสอง แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ผู้ฟ้องคดีทั้ง ย่อมมีหน้าที่ในการจัดการท่าศพตามมาตรา 1649 วรรคสอง แห่งประมวลกฎหมาย เดียวกัน ผู้ฟ้องคดีทั้งสี่จึงย่อมมีสิทธิได้รับค่าสินไหมทดแทนในส่วนของค่าปลงศพและค่าใช้จ่าย อันจําเป็นอย่างอื่น เห็นว่า ผู้ฟ้องคดีทั้งสี่ได้เรียกค่าสินไหมทดแทนเป็นค่าปลงศพซึ่งเป็นค่าใช้จ่าย ในการจัดงานบําเพ็ญกุศลและฌาปนกิจศพนาง น. จํานวน 7 วัน เป็นเงินจํานวน 792,000 บาท โดยไม่มีเอกสารหลักฐานแสดงค่าใช้จ่ายตามที่กล่าวอ้าง มีเพียงการชี้แจงรายละเอียดของค่าใช้จ่ายต่าง ๆ เท่านั้น แต่เมื่อพิจารณาถึงสภาพทางสังคมและครอบครัวของผู้ฟ้องคดีทั้งสี่แล้ว การที่ศาลปกครองชั้นต้นกําหนดค่าสินไหมทดแทนในส่วนนี้วันละ 50,000 บาท จํานวน 7 วัน รวมเป็นเงินจํานวน 350,000 บาท จึงสูงเกินส่วน เห็นควรกําหนดค่าสินไหมทดแทนในส่วนนี้วันละ 30,000 บาท จํานวน 7 วัน รวมเป็นเงินจํานวน 200,000 บาท

สําหรับค่าใช้จ่ายอันจําเป็นอย่างอื่น นั้น เมื่อพิจารณาค่าเดินทางไปกลับระหว่างจังหวัดชลบุรีกับจังหวัดอุดรธานีของผู้ฟ้องคดีที่ 2 และค่าเดินทางไปกลับระหว่างกรุงเทพมหานคร กับจังหวัดอุดรธานีของผู้ฟ้องคดีที่ 3 รวมทั้งค่าซ่อมรถจักรยานยนต์ที่ประสบอุบัติเหตุแล้ว เห็นว่า ค่าใช้จ่ายดังกล่าวถือเป็นค่าใช้จ่ายอันจําเป็นอย่างอื่นที่ผู้ถูกฟ้องคดีต้องรับผิดชดใช้ตามที่จ่ายจริง ซึ่งแม้ผู้ฟ้องคดีที่ 2 และผู้ฟ้องคดีที่ 3 จะมิได้แสดงเอกสารหลักฐานประกอบก็ตาม แต่เมื่อพิจารณา ระยะทางระหว่างจังหวัดชลบุรีกับจังหวัดอุดรธานีซึ่งมีระยะทางประมาณ 645 กิโลเมตร และระหว่าง กรุงเทพมหานครกับจังหวัดอุดรธานีซึ่งมีระยะทางประมาณ 564 กิโลเมตร โดยคํานวณค่าใช้จ่าย ในส่วนนี้เฉลี่ยกิโลเมตรละประมาณ 2 บาท และค่าซ่อมรถจักรยานยนต์ที่ประสบอุบัติเป็นเงินจํานวน 3,000 บาท ก็เป็นจํานวนเงินพอสมควร จึงเชื่อได้ว่าค่าใช้จ่ายดังกล่าวเป็นค่าใช้จ่ายตามความเป็นจริง การที่ศาลปกครองชั้นต้นกําหนดค่าสินไหมทดแทนในส่วนนี้รวมเป็นเงินจํานวน 7,500 บาท จึงเหมาะสม และเป็นธรรมแล้ว ส่วนค่าใช้จ่ายอย่างอื่น ได้แก่ ค่าขาดรายได้ของผู้ฟ้องคดีที่ 1 ผู้ฟ้องคดีที่ 2 และผู้ฟ้องคดีที่ 3 ขณะจัดงานศพนาง น. ค่าที่พักญาติที่มาร่วมงานศพ และดอกเบี้ยเงินกู้นอกระบบ ที่นํามาใช้จ่ายในงานศพ นั้น เห็นว่า ค่าใช้จ่ายดังกล่าวมิได้เป็นผลโดยตรงจากการกระทําละเมิด ของผู้ถูกฟ้องคดี ศาลจึงไม่อาจกําหนดค่าสินไหมทดแทนในส่วนนี้ให้ได้

สําหรับกรณีที่ผู้ฟ้องคดีทั้งสี่มีคําขอให้ศาลกําหนดค่าเสียหายทางจิตใจที่ต้องสูญเสีย มารดาจนทําให้เจ็บป่วยและจําเป็นจะต้องทําการรักษาตัว ค่าเดินทาง และค่ารักษาพยาบาลของผู้ฟ้องคดี ที่ 1 ผู้ฟ้องคดีที่ 2 และผู้ฟ้องคดีที่ 3 เป็นเงินจํานวน 1,000,000 บาท นั้น เห็นว่า การที่ผู้ถูกฟ้องคดี ละเลยต่อหน้าที่เป็นเหตุให้นาง น. ถึงแก่ความตายนั้น เป็นการกระทําละเมิดต่อชีวิตของนาง น. เท่านั้น มิใช่การกระทําละเมิดต่อชีวิต ร่างกาย อนามัย เสรีภาพ ทรัพย์สิน หรือสิทธิของผู้ฟ้องคดีที่ ผู้ฟ้องคดีที่ 2 และผู้ฟ้องคดีที่ 3 ซึ่งเป็นทายาทของนาง น. แต่อย่างใด ผู้ฟ้องคดีที่ 1 ผู้ฟ้องคดีที่ 2 และผู้ฟ้องคดีที่ 3 จึงชอบที่จะเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนได้เฉพาะกรณีที่บัญญัติไว้ในประมวล กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 443 และมาตรา 445 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ อันได้แก่ ค่าปลงศพ ค่าใช้จ่ายอันจําเป็นอื่น ค่ารักษาพยาบาลก่อนตาย ค่าขาดประโยชน์ทํามาหาได้ ก่อนตาย ค่าขาดไร้อุปการะ และค่าขาดแรงงานเท่านั้น ส่วนค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหายอย่างอื่น อันมิใช่ตัวเงิน นั้น เมื่อพิจารณามาตรา 446 วรรคหนึ่ง แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ จะเห็นได้ว่า ผู้ที่มีสิทธิเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหายอย่างอื่นอันมิใช่ตัวเงิน คือ ผู้ที่ถูกกระทําละเมิดต่อร่างกาย อนามัย เสรีภาพ หรือหญิงผู้ต้องเสียหายเพราะผู้ใดทําผิดอาญาอันเป็นทุรศีลธรรมแก่ตนเท่านั้น ทายาทของผู้ถูกกระทําละเมิดจนถึงแก่ความตายหาได้มีสิทธิเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนความเสียหายอย่างอื่นอันมิใช่ตัวเงินแต่อย่างใด ศาลจึงไม่อาจกําหนดค่าสินไหมทดแทนเป็นค่าเสียหายทางจิตใจให้แก่ผู้ฟ้องคดีที่ 1 ผู้ฟ้องคดีที่ 2 และผู้ฟ้องคดีที่ 3 ตามคําขอได้

สําหรับค่าสูญเสียโอกาสที่จะทํามาหารายได้ของนาง น.เป็นระยะเวลา 10 ปี นั้น เห็นว่า เป็นรายได้ในอนาคตที่ผู้ฟ้องคดีทั้งสี่คาดหมายว่านาง น.จะได้รับหากยังมีชีวิตอยู่ ซึ่งไม่มีสิ่งใด ที่จะยืนยันได้อย่างแน่นอนว่าหากนาง น. ยังคงมีชีวิตอยู่จะมีรายได้จากการทําตาข่ายเป็นเงินจํานวน ตามที่ผู้ฟ้องคดีทั้งสี่กล่าวอ้าง ศาลจึงไม่อาจกําหนดคําบังคับในส่วนนี้ให้ได้

เมื่อได้พิจารณามาแล้วข้างต้นว่า ผู้ถูกฟ้องคดีต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทน ให้แก่ผู้ฟ้องคดีทั้งสี่รวมเป็นเงินจํานวน 217,500 บาท แต่โดยที่นาง น. ผู้ตาย มีส่วนประมาทเลินเล่อ หรือส่วนผิดในความเสียหายที่เกิดขึ้นด้วย เมื่อพิจารณาจากพฤติการณ์ของผู้ถูกฟ้องคดีและความร้ายแรง แห่งละเมิด ประกอบกับพฤติการณ์และการกระทําของนาง น. ตามมาตรา 442 ประกอบกับมาตรา 223 วรรคหนึ่ง แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ เห็นควรนําส่วนความประมาทหรือความผิด ของนาง น. มาหักออกจากความรับผิดของผู้ถูกฟ้องคดีจํานวนสองในสามส่วนของค่าสินไหมทดแทน ที่ผู้ถูกฟ้องคดีต้องรับผิด คงเหลือค่าสินไหมทดแทนที่ผู้ถูกฟ้องคดีต้องรับผิดชดใช้ให้แก่ผู้ฟ้องคดีทั้งสี่ เป็นเงินจํานวน 72,500 บาท

ส่วนที่ผู้ฟ้องคดีทั้งสี่มีคําขอในชั้นอุทธรณ์คําพิพากษาให้ศาลมีคําพิพากษาหรือคําสั่ง ให้ผู้ถูกฟ้องคดีชดใช้ค่าสินไหมทดแทนพร้อมดอกเบี้ยนับแต่วันกระทําละเมิดจนกว่าจะชําระเสร็จ นั้น เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่า ในชั้นการพิจารณาคดีนี้ของศาลปกครองชั้นต้น ไม่ปรากฏว่าผู้ฟ้องคดีทั้งสี่ ได้มีคําขอท้ายคําฟ้องหรือคําฟ้องเพิ่มเติมขอให้ศาลกําหนดคําบังคับให้ผู้ถูกฟ้องคดีชําระดอกเบี้ยนับแต่วันกระทําละเมิดจนกว่าจะชําระเสร็จให้แก่ผู้ฟ้องคดีทั้งสี่แต่อย่างใด การที่ผู้ฟ้องคดีทั้งสี่มีคําขอ ดังกล่าวในชั้นอุทธรณ์จึงเป็นข้อที่ไม่ได้ว่ากล่าวกันมาแล้วโดยชอบในศาลปกครองชั้นต้น อีกทั้งมิใช่ ปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนหรือปัญหาเกี่ยวกับประโยชน์สาธารณะที่ผู้ฟ้องคดีทั้งสี่จะยกปัญหาข้อนั้นขึ้นกล่าวในคําอุทธรณ์ได้ จึงเป็นอุทธรณ์ต้องห้ามตามข้อ 101 วรรคสอง แห่งระเบียบฯ ว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีปกครองฯ

โดยสรุป การกําหนดค่าสินไหมทดแทนกรณีผู้เสียหายมีส่วนผิด ในการที่ผู้ตายใช้เส้นทางที่เกิดเหตุ เป็นประจําและเป็นระยะเวลากว่า 10 ปี ย่อมทราบว่าบริเวณที่เกิดเหตุกําลังดําเนินการซ่อมบํารุง และพื้นถนนไม่เรียบ อีกทั้งผู้ตายยังไม่สวมหมวกกันน็อก การเสียชีวิตจึงเป็นผลมาจากความประมาท ของผู้ตายรวมอยู่ด้วย จึงควรหักออกจากค่าสินไหมทดแทน

คําสําคัญ : ละเมิดต่อบุคคลภายนอก/ละเมิดจากการละเลยต่อหน้าที่/การกําหนดค่าสินไหมทดแทน/ ผู้เสียหายมีส่วนผิด/ค่าปลงศพ/ค่าใช้จ่ายอันจําเป็นอย่างอื่น/ค่าขาดรายได้/ค่าสูญเสียโอกาสที่จะทํามาหารายได้/ค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหายอย่างอื่นอันมิใช่ตัวเงิน/ข้อที่ไม่ได้ว่ากล่าวกันมาแล้วโดยชอบในศาลปกครองชั้นต้น

คําพิพากษาศาลปกครองสูงสุดที่ อผ. 128/2565

ที่มา : สสค.

———————————————

ทนายพฤกษ์ คดีปกครอง
– ปรึกษาคดี ติดต่อ 063-6364547
– Line: @prueklaw 

สำนักงานกฎหมาย พฤกษ์ แอนด์ พาร์ทเนอร์
สำนักงานทนายความคดีปกครอง ทนายคดีปกครอง

ศาลปกครองชั้นต้นมีคําพิพากษาโดยพิจารณาจากคําฟ้องเพียงขั้นตอนเดียว | เรื่องเด่น คดีปกครอง

ศาลปกครองชั้นต้นมีคําพิพากษาโดยพิจารณาจากคําฟ้องเพียงขั้นตอนเดียว

วิธีพิจารณาคดีปกครอง : หลักฟังความทุกฝ่าย

กฎหมายที่เกี่ยวข้อง

  1. พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542 (มาตรา 55 และมาตรา 57 วรรคสอง)
  2. ระเบียบของที่ประชุมใหญ่ตุลาการในศาลปกครองสูงสุด ว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2543 (ข้อ 112 วรรคหนึ่ง (2))

คดีนี้แม้ศาลปกครองชั้นต้นจะได้มีคําสั่งให้ผู้ถูกฟ้องคดีชี้แจงข้อเท็จจริงเพื่อประกอบการพิจารณามีคําสั่งรับคําฟ้อง และมีการส่งสําเนาคําฟ้องพร้อมพยานหลักฐานให้ผู้ถูกฟ้องคดีทราบ แต่ก็มิได้มีคําสั่งให้ผู้ถูกฟ้องคดีทําคําให้การและมิได้ส่งพยานหลักฐานให้ผู้ถูกฟ้องคดีได้มีโอกาสคัดค้าน และโต้แย้ง ดังนั้น การที่ศาลปกครองชั้นต้นดําเนินกระบวนพิจารณาเพียงขั้นตอนเดียว โดยพิจารณาจากคำฟ้องและพยานหลักฐานประกอบคําฟ้องแล้วดําเนินการพิจารณาจนมีคําพิพากษา จึงไม่เป็นไปตามหลักกฎหมายทั่วไปว่าด้วยการฟังความทุกฝ่าย ที่ศาลต้องเปิดโอกาสให้คู่กรณีได้ทราบถึงข้ออ้างหรือข้อแย้งของแต่ละฝ่าย และให้คู่กรณีแสดงพยานหลักฐานของฝ่ายตนเพื่อยืนยันหรือหักล้างข้อเท็จจริง และข้อกฎหมายได้ และไม่เป็นไปตามมาตรา 55 วรรคหนึ่ง ประกอบกับมาตรา 57 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองฯ และเมื่อศาลปกครองชั้นต้นดําเนินการแสวงหาข้อเท็จจริงแห่งคดีโดยมิได้ปฏิบัติตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายหรือระเบียบนี้ในส่วนที่ว่าด้วยการแสวงหาข้อเท็จจริง จึงมีเหตุอันสมควรที่ศาลปกครองสูงสุดจะมีคําสั่งยกคําพิพากษาของศาลปกครองชั้นต้น และส่งสํานวนคืนไปยังศาลปกครองชั้นต้นเพื่อมีคําพิพากษาหรือคําสั่งใหม่ตามข้อ 112 วรรคหนึ่ง (2) แห่งระเบียบฯว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีปกครองฯ

โดยสรุป การที่ศาลปกครองชั้นต้นมีคําพิพากษาโดยพิจารณาจากคําฟ้องเพียงขั้นตอนเดียว เป็นการไม่ปฏิบัติตามหลักกฎหมายทั่วไปว่าด้วยการฟังความทุกฝ่าย

คําสําคัญ : การย้อนสํานวน/หลักกฎหมายทั่วไปว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีปกครอง/หลักฟังความทุกฝ่าย/การแสวงหาข้อเท็จจริงของศาลปกครอง

คําพิพากษาศาลปกครองสูงสุดที่ อ. 331/2565 (ประชุมใหญ่)

ที่มา : สสค.

———————————————

ทนายพฤกษ์ คดีปกครอง
– ปรึกษาคดี ติดต่อ 063-6364547
– Line: @prueklaw 

สำนักงานกฎหมาย พฤกษ์ แอนด์ พาร์ทเนอร์
สำนักงานทนายความคดีปกครอง ทนายคดีปกครอง

หน่วยงานทางปกครองมีสิทธิฟ้องคดีละเมิดขอให้เจ้าหน้าที่ชดใช้เงิน | เรื่องเด่น คดีปกครอง

หน่วยงานของรัฐเป็นผู้มีสิทธิฟ้องคดีให้เจ้าหน้าที่ชดใช้เงินจากการกระทําละเมิด

ละเมิด : ละเมิดต่อบุคคลภายนอก

กฎหมายที่เกี่ยวข้อง

  1. ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (มาตรา 420)
  2. พระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ.2565 (มาตรา 5 มาตรา 8 มาตรา 10 มาตรา 12)
  3. พระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539 (มาตรา 63/12)

ภายหลังจากที่ได้มีการตราพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2562 ขึ้นใช้บังคับแล้ว หน่วยงานของรัฐที่ได้ใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่ผู้เสียหายเพื่อการละเมิด ของเจ้าหน้าที่ตามมาตรา 8 แห่งพระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539 หรือหน่วยงานของรัฐที่ได้รับความเสียหายอันเนื่องมาจากการกระทําละเมิดของเจ้าหน้าที่ตามมาตรา 10 ประกอบกับมาตรา 8 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว หากมีข้อขัดข้องในการบังคับใช้กฎหมายในส่วนที่เกี่ยวกับการบังคับทางปกครองให้เป็นไปตามคําสั่งทางปกครอง หน่วยงานของรัฐยังเป็นผู้มีสิทธิฟ้องคดี เพื่อขอให้ศาลมีคําพิพากษาหรือคําสั่งให้เจ้าหน้าที่ชําระค่าสินไหมทดแทนให้แก่ตนได้ เมื่อคดีนี้ข้อเท็จจริง รับฟังได้ว่า กรมที่ดิน (ผู้ฟ้องคดี) ได้มีหนังสือลงวันที่ 27 พฤษภาคม 2562 เรียกให้ผู้ถูกฟ้องคดี นําเงินมาชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่ผู้ฟ้องคดีภายใน 15 วัน นับแต่วันที่ได้รับหนังสือ ซึ่งผู้ถูกฟ้องคดี ได้รับทราบคําสั่งเมื่อวันที่ 29 พฤษภาคม 2562 แต่มิได้นําเงินมาชําระภายในระยะเวลาที่กําหนด และเมื่อผู้ฟ้องคดีเห็นว่าคําสั่งดังกล่าวเป็นคําสั่งทางปกครองที่กําหนดให้ใช้เงิน ซึ่งการใช้มาตรการบังคับทางปกครองที่จะต้องปฏิบัติให้เป็นไปตามมาตรา 63/12 แห่งพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการ ทางปกครอง พ.ศ. 2539 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539 (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2562 ยังมีปัญหาและอุปสรรคในการใช้มาตรการบังคับตามกฎหมายดังกล่าว เนื่องจากปัจจุบันยังมิได้มีการออกกฎกระทรวงกําหนดขั้นตอนและวิธีการปฏิบัติเกี่ยวกับ การยึด การอายัด และการขายทอดตลาดทรัพย์สินไว้ กรณีจึงเป็นการที่ผู้ฟ้องคดีกล่าวอ้างว่ามีข้อขัดข้องในการบังคับใช้กฎหมายในส่วนที่เกี่ยวกับการบังคับทางปกครอง ผู้ฟ้องคดีในฐานะเจ้าหนี้มูลละเมิดจึงจําต้องใช้สิทธิทางศาลเพื่อบังคับตามสิทธิเรียกร้อง โดยขอให้ศาลมีคําพิพากษาหรือคําสั่งให้ผู้ถูกฟ้องคดี ใช้เงินพร้อมดอกเบี้ยให้แก่ผู้ฟ้องคดี อันเป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับการกระทําละเมิดของเจ้าหน้าที่ของรัฐ อันเกิดจากการใช้อํานาจตามกฎหมายตามมาตรา 9 วรรคหนึ่ง (3) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้ง ศาลปกครองฯ และการที่ผู้ถูกฟ้องคดีไม่ชําระค่าสินไหมทดแทนให้แก่ผู้ฟ้องคดีเป็นเหตุให้ทางราชการได้รับความเสียหาย ผู้ฟ้องคดีย่อมเป็นผู้ได้รับความเดือดร้อนหรือเสียหายอันเนื่องมาจากการกระทําของผู้ถูกฟ้องคดี ผู้ฟ้องคดีจึงเป็นผู้มีสิทธิฟ้องคดีต่อศาลปกครองตามนัยมาตรา 42 วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว และการแก้ไขหรือบรรเทาความเดือดร้อนหรือเสียหายที่ผู้ฟ้องคดีได้รับนั้นต้องมีคําบังคับของศาลโดยสั่งให้ผู้ถูกฟ้องคดีชดใช้ค่าสินไหมทดแทนพร้อมดอกเบี้ยแก่ผู้ฟ้องคดี อันเป็นคําบังคับตามมาตรา 72 วรรคหนึ่ง (3) แห่งพระราชบัญญัติเดียวกัน นอกจากนั้น คดีพิพาทเกี่ยวกับการกระทําละเมิดที่ผู้ถูกฟ้องคดีซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐได้กระทําในการปฏิบัติหน้าที่ในเรื่องนี้ ไม่มีกฎหมายกําหนดขั้นตอนหรือวิธีการสําหรับการแก้ไขความเดือดร้อนหรือเสียหายไว้โดยเฉพาะ ผู้ฟ้องคดีจึงอาจใช้สิทธิฟ้องคดีนี้ต่อศาลปกครองได้โดยไม่จําต้องดําเนินการตามขั้นตอนหรือวิธีการสําหรับการแก้ไขความเดือดร้อนหรือเสียหายก่อนแต่อย่างใด

โดยสรุป หน่วยงานของรัฐเป็นผู้มีสิทธิฟ้องคดีให้เจ้าหน้าที่ชดใช้เงินจากการกระทําละเมิด (แม้จะมีการตราพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2562 ขึ้นใช้บังคับแล้ว แต่หากหน่วยงานของรัฐมีข้อขัดข้องในการบังคับใช้กฎหมายในส่วนที่เกี่ยวกับการบังคับทางปกครอง หน่วยงานของรัฐยังเป็นผู้มีสิทธิฟ้องคดีเพื่อขอให้ศาลมีคําพิพากษาหรือคําสั่งให้เจ้าหน้าที่ชําระค่าสินไหมทดแทนให้แก่ตนได้

คําสั่งศาลปกครองสูงสุดที่ คผ. 7/2565 (ประชุมใหญ่)

คําสําคัญ : คําสั่งให้ชดใช้เงิน/ข้อขัดข้องในการบังคับคดี คําบังคับ

ที่มา : สสค.

———————————————

ทนายพฤกษ์ คดีปกครอง
– ปรึกษาคดี ติดต่อ 063-6364547
– Line: @prueklaw 

สำนักงานกฎหมาย พฤกษ์ แอนด์ พาร์ทเนอร์
สำนักงานทนายความคดีปกครอง ทนายคดีปกครอง

มีหนังสือบอกกล่าวให้ผู้ค้ำประกันชําระหนี้ก่อนวันที่ลูกหนี้ผิดนัดชําระหนี้ | เรื่องเด่น คดีปกครอง

การมีหนังสือบอกกล่าวให้ผู้ค้ำประกันชําระหนี้ก่อนวันที่ลูกหนี้ผิดนัดชําระหนี้

สัญญาทางปกครอง 

กฎหมายที่เกี่ยวข้อง

  • ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (มาตรา 686)

เมื่อข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่า ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 ผิดสัญญารับทุนและได้ทําหนังสือ รับสภาพหนี้ไว้ให้แก่ผู้ฟ้องคดี จํานวน 6 ฉบับ โดยฉบับแรก ลงวันที่ 22 กันยายน 2553 และต่อมา ฉบับที่สอง เป็นการขอปรับลดการผ่อนชําระหนี้ จากเดิมเดือนละไม่น้อยกว่า 5,000 บาท ลดเหลือ เดือนละไม่น้อยกว่า 2,000 บาท เริ่มตั้งแต่เดือนมกราคม 2554 เป็นต้นไป โดยมีผู้ถูกฟ้องคดีที่ 2 เป็นผู้ค้ำประกันตามหนังสือสัญญาค้ำประกันลงวันที่ 10 มกราคม 2554 ดังนั้น เมื่อผู้ถูกฟ้องคดี ที่ 1 ผิดนัดชําระหนี้และต้องรับผิดชําระดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ของต้นเงินจํานวน 96,000 บาท นับแต่วันที่ 7 สิงหาคม 2554 เป็นต้นไป การผิดนัดชําระหนี้ของผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 จึงเกิดขึ้นภายหลังจากวันที่พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ฉบับที่ 20) พ.ศ. 2557 มีผลใช้บังคับ คือ ภายหลังวันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2558 ผู้ฟ้องคดีจึงมีหน้าที่ ที่จะต้องมีหนังสือบอกกล่าวไปยังผู้ถูกฟ้องคดีที่ 2 ในฐานะผู้ค้ำประกัน ให้ทราบถึงการผิดนัดของผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 ภายในหกสิบวันนับแต่วันที่ลูกหนี้ผิดนัด ตามมาตรา 686 วรรคหนึ่ง แห่งประมวลกฎหมายดังกล่าว แต่ปรากฏว่าผู้ฟ้องคดีได้มีหนังสือลงวันที่ 28 กรกฎาคม 2559 ทวงถามให้ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 2 ชดใช้เงินจํานวน 40,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยให้แก่ผู้ฟ้องคดีภายใน 7 วัน นับแต่วันที่ได้รับหนังสือ โดยผู้ถูกฟ้องคดีที่ 2 ได้รับหนังสือข้างต้นในวันที่ 9 สิงหาคม 2559 จึงเป็นการบอกกล่าวไปยังผู้ถูกฟ้องคดีที่ 2 ก่อนวันที่ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 ผิดนัดชําระหนี้ กรณีจึงมิใช่ การมีหนังสือบอกกล่าวตามมาตรา 686 วรรคหนึ่ง แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติฯ (ฉบับที่ 20) และการที่ผู้ฟ้องคดีนําคดีนี้มาฟ้องต่อศาลปกครองชั้นต้น เมื่อวันที่ 25 สิงหาคม 2559 ก็ไม่อาจถือได้ว่าเป็นกรณีที่ผู้ฟ้องคดีได้มีหนังสือบอกกล่าวถึงการผิดนัด ชําระหนี้ของผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 ให้ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 2 ทราบ ตามมาตรา 686 วรรคหนึ่ง ดังกล่าวเช่นกัน เนื่องจากกฎหมายบัญญัติไว้ชัดแจ้งแล้วว่า การบอกกล่าวไปยังผู้ค้ำประกันจะต้องทําเป็นหนังสือ ดังนั้น เมื่อผู้ฟ้องคดีมิได้มีหนังสือบอกกล่าวถึงการผิดนัดชําระหนี้ของผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 ให้ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 2 ซึ่งเป็นผู้ค้ำประกันทราบ ผู้ฟ้องคดีจึงยังไม่มีสิทธิฟ้องเรียกให้ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 2 ร่วมรับผิดชําระหนี้ กับผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 ได้ ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 2 จึงไม่ต้องร่วมรับผิดกับผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1

โดยสรุป การมีหนังสือบอกกล่าวให้ผู้ค้ำประกันชําระหนี้ก่อนวันที่ลูกหนี้ผิดนัดชําระหนี้ไม่ถือเป็นการบอกกล่าวการผิดนัดของลูกหนี้ไปยังผู้ค้ำประกัน จึงยังไม่มีสิทธิฟ้องผู้ค้ำประกัน

คําพิพากษาศาลปกครองสูงสุดที่ อ. 364/2565 (ประชุมใหญ่)

ที่มา : สสค.

———————————————

ทนายพฤกษ์ คดีปกครอง
– ปรึกษาคดี ติดต่อ 063-6364547
– Line: @prueklaw 

สำนักงานกฎหมาย พฤกษ์ แอนด์ พาร์ทเนอร์
สำนักงานทนายความคดีปกครอง ทนายคดีปกครอง

พนักงานมหาวิทยาลัยฟ้องขอให้ชดใช้ค่าเสียหายอันเกิดจากการพิจารณาเลื่อนเงินเดือนที่ไม่เป็นธรรม | เรื่องเด่น คดีปกครอง

พนักงานมหาวิทยาลัยฟ้องขอให้ศาลมีคําพิพากษาหรือคําสั่งให้หน่วยงานทางปกครองชดใช้ค่าเสียหายอันเกิดจากการพิจารณาเลื่อนเงินเดือนที่ไม่เป็นธรรมและการละเลยไม่พิจารณาผลการประเมินการปฏิบัติงานเพื่อเลื่อนเงินเดือน

สัญญาทางปกครอง (สัญญาจ้างพนักงานมหาวิทยาลัย)

กฎหมายที่เกี่ยวข้อง

  • พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542 (มาตรา 9 วรรคหนึ่ง (4) และมาตรา 42 วรรคหนึ่ง)

ศาลปกครองสูงสุดโดยที่ประชุมใหญ่ตุลาการในศาลปกครองสูงสุดวินิจฉัยว่า การที่ผู้ฟ้องคดีซึ่งเป็นพนักงานมหาวิทยาลัยฟ้องขอให้ศาลมีคําพิพากษาหรือคําสั่งให้หน่วยงานทางปกครองชดใช้ค่าเสียหายอันเกิดจากการพิจารณาเลื่อนเงินเดือนที่ไม่เป็นธรรม และการละเลยไม่พิจารณาผลการประเมินการปฏิบัติงานเพื่อเลื่อนเงินเดือน เป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับสัญญาทางปกครองตามมาตรา 9 วรรคหนึ่ง (4) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542

อย่างไรก็ดี การที่อธิการบดี (ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 3) ซึ่งเป็นผู้แทนของมหาวิทยาลัย (ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1) ในกิจการทั้งปวงตามมาตรา 37 แห่งพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยขอนแก่น พ.ศ. 2558 ได้ว่าจ้างผู้ฟ้องคดีให้เข้ามาปฏิบัติงานในตําแหน่งนักเทคนิคการแพทย์ ชํานาญการพิเศษ สังกัดผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 คู่สัญญาทั้งสองฝ่ายต่างมีสิทธิ หน้าที่ และความรับผิดชอบ ที่จะต้องปฏิบัติต่อกันตามที่กําหนดไว้ในสัญญาจ้างดังกล่าว ซึ่งการปฏิบัติให้เป็นไปตามข้อตกลงในสัญญา เป็นเรื่องของนิติสัมพันธ์ที่ผูกพันกันระหว่างคู่กรณีในสัญญาเป็นการเฉพาะราย เมื่อมีข้อโต้แย้งเกี่ยวกับสิทธิและหน้าที่ตามสัญญาจ้างพิพาท ผู้ที่จะใช้สิทธิเรียกร้องดังกล่าวได้มีเพียงผู้ฟ้องคดีและผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 เท่านั้น และแม้ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 3 จะเป็นผู้ลงนามในสัญญาก็ตาม แต่ก็เป็นเพียงการกระทําในฐานะผู้แทนหรือผู้รับมอบอํานาจของผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 ประกอบกับผู้ถูกฟ้องคดีที่ 2 ถึงผู้ถูกฟ้องคดีที่ 9 มิใช่คู่สัญญากับผู้ฟ้องคดีที่ผู้ฟ้องคดีจะใช้สิทธิโต้แย้งเกี่ยวกับสิทธิและหน้าที่ตามที่กําหนดไว้ในสัญญา ดังนั้น ผู้ฟ้องคดีจึงมิใช่ผู้ได้รับความเดือดร้อนหรือเสียหายหรืออาจจะเดือดร้อนหรือเสียหาย โดยมิอาจหลีกเลี่ยงได้จากการกระทําของผู้ถูกฟ้องคดีที่ 2 ถึงผู้ถูกฟ้องคดีที่ 9 ที่จะมีสิทธิฟ้องคดีต่อศาลปกครองตามมาตรา 42 วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542

โดยสรุป กรณีพนักงานมหาวิทยาลัยฟ้องขอให้หน่วยงานทางปกครองชดใช้ค่าเสียหายอันเกิดจากการพิจารณาเลื่อนเงินเดือนที่ไม่เป็นธรรม และการละเลยไม่พิจารณาผลการประเมินการปฏิบัติงานเพื่อเลื่อนเงินเดือน เป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับสัญญาทางปกครอง

คําพิพากษาศาลปกครองสูงสุดที่ คบ. 88/2565 (ประชุมใหญ่)

ที่มา : สสค.

———————————————

ทนายพฤกษ์ คดีปกครอง
– ปรึกษาคดี ติดต่อ 063-6364547
– Line: @prueklaw 

สำนักงานกฎหมาย พฤกษ์ แอนด์ พาร์ทเนอร์
สำนักงานทนายความคดีปกครอง 

สัญญาทางปกครองที่มีวัตถุประสงค์ถือเอาปริมาณงานตามใบแจ้งปริมาณงานและราคาเป็นจำนวนโดยประมาณ | เรื่องเด่น คดีปกครอง

การแสดงเจตนายื่นเสนอราคาโดยสําคัญผิดในปริมาณงานและราคากลาง

สัญญาทางปกครอง (สัญญาจ้างทํางานกับรัฐ)

ในสัญญาทางปกครองแม้จะมีหลักการว่า รัฐในฐานะผู้รับผิดชอบการจัดทํา บริการสาธารณะย่อมมีอํานาจในการตัดสินใจเพียงฝ่ายเดียว โดยมีผลให้สัญญาเลิกกันได้โดยไม่ต้อง เสนอเรื่องต่อศาลเพื่อมีคําพิพากษาหรือคําสั่งให้สัญญาเป็นอันเลิกกันก็ตาม แต่หลักการดังกล่าว มิได้หมายความว่าการแสดงเจตนาเลิกสัญญาจะมีได้เฉพาะแต่คู่สัญญาฝ่ายรัฐเท่านั้น คู่สัญญาฝ่ายเอกชนยังคงมีสิทธิ์แสดงเจตนาบอกเลิกสัญญาได้ เพียงแต่การแสดงเจตนาบอกเลิกสัญญาของ คู่สัญญาฝ่ายเอกชนจะไม่มีผลทางกฎหมายได้เอง ต้องมีการร้องขอให้ศาลมีคําสั่งหรือคําพิพากษา ให้สัญญาทางปกครองเป็นอันเลิกกัน หากปรากฏว่าคู่สัญญาฝ่ายปกครองเป็นฝ่ายผิดสัญญาอย่างร้ายแรง จนเป็นเหตุให้คู่สัญญาฝ่ายเอกชนไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ตามสัญญาต่อไปได้ นอกจากนี้ ยังมีกรณีที่ สัญญาทางปกครองเป็นอันเลิกกันได้เมื่อมีกรณีที่เป็นเหตุสุดวิสัยซึ่งมิใช่ความผิดของคู่กรณีฝ่ายใด อันเป็นเหตุที่ทําให้คู่สัญญาไม่อาจปฏิบัติการชําระหนี้ตามสัญญาได้โดยสิ้นเชิง หรือกรณีที่มีข้อเท็จจริง หรือพฤติการณ์ที่แสดงให้เห็นได้ว่าคู่สัญญาทั้งสองฝ่ายตกลงยินยอมกันโดยชัดแจ้งหรือโดยปริยาย ให้สัญญาทางปกครองเป็นอันเลิกกันตามหลักการทั่วไปว่าด้วยสัญญาดังที่ปรากฏในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

เมื่อสัญญาจ้างทํางานโครงการปลูกต้นไม้เฉลิมพระเกียรติฯ แสดงให้เห็นถึงวัตถุประสงค์ของสัญญาที่ถือเอาปริมาณงานที่กําหนดไว้ในบัญชีรายการก่อสร้างหรือใบแจ้งปริมาณงานและราคาเป็นจํานวนโดยประมาณเท่านั้น โดยหากปริมาณงาน ที่ทําเสร็จจริงเกินกว่าปริมาณที่กําหนดไว้ในสัญญาหรือใบแจ้งปริมาณงานและราคา ข้อกําหนดในสัญญาก็ได้กําหนดเกณฑ์การจ่ายค่าจ้างไว้อย่างชัดเจน ผู้ฟ้องคดีซึ่งเป็นผู้ประกอบกิจการรับเหมาก่อสร้างรวมถึงงานโยธาอื่น ๆ ย่อมต้องทราบถึงการดําเนินการตามสัญญาในลักษณะนี้เป็นอย่างดี ดังนั้น การที่ผู้ฟ้องคดียื่นใบเสนอราคางานโครงการพิพาท จึงไม่ถือเป็นการแสดงเจตนาโดยสําคัญผิดในปริมาณงานและราคากลาง และไม่ทําให้สัญญาจ้างโครงการดังกล่าวตกเป็นโมฆะ ผู้ฟ้องคดีต้องผูกพัน ปฏิบัติตามข้อกําหนดในสัญญาฉบับพิพาท นอกจากนี้ เหตุที่ปริมาณดินมีจํานวนมากกว่าที่กําหนดในประกาศสอบราคาก็ไม่ถือเป็นเหตุที่แสดงให้เห็นว่าผู้ถูกฟ้องคดีที่ 3ในฐานะคู่สัญญาฝ่ายปกครองเป็นฝ่ายผิดสัญญาอย่างร้ายแรง จนเป็นเหตุให้ผู้ฟ้องคดี ไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ตามสัญญาต่อไปได้ และไม่ถือเป็นเหตุสุดวิสัยที่ทําให้คู่สัญญาไม่อาจ ปฏิบัติการชําระหนี้ตามสัญญาได้โดยสิ้นเชิง การที่ผู้ฟ้องคดีมีหนังสือลงวันที่ 19 พฤษภาคม 2557 ต่อผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 เพื่อบอกเลิกสัญญาและเรียกเงินค่าจ้างส่วนที่ได้ทําไปแล้ว จํานวน 84,500 บาท จึงเป็นการกระทําที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายและสัญญา อีกทั้งยังมีผลทําให้ผู้ฟ้องคดีซึ่งเป็นฝ่ายที่ไม่สามารถ ทํางานให้แล้วเสร็จภายในระยะเวลากลับเป็นฝ่ายผิดสัญญาเสียเอง เป็นผลให้ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 มีสิทธิ บอกเลิกสัญญาต่อผู้ฟ้องคดีได้ ซึ่งข้อเท็จจริงปรากฏว่าผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 มีหนังสือลงวันที่ 5 ตุลาคม 2557 บอกเลิกสัญญาต่อผู้ฟ้องคดีแล้ว โดยให้มีผลตั้งแต่วันที่ 3 ตุลาคม 2557 และเรียกค่าปรับเป็นเงิน จํานวน 397,800 บาท การใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาของผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 จึงเป็นการกระทําโดยชอบ ด้วยข้อสัญญา

ในการนี้ แม้ว่าเงินจํานวน 84,500 บาท ที่ผู้ฟ้องคดีเรียกร้องจะเป็นจํานวนเดียวกัน กับที่ผู้ฟ้องคดีเรียกร้องให้ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 รับผิดตามหนังสือบอกเลิกสัญญาลงวันที่ 19 พฤษภาคม 2557 แต่เมื่อในขณะยื่นฟ้องคดีนี้ผู้ฟ้องคดีเพียงแต่มีหนังสือบอกเลิกสัญญาฝ่ายเดียว โดยไม่ชอบ โดยที่ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 ยังมิได้มีหนังสือบอกเลิกสัญญาด้วยแต่อย่างใด กรณีจึงไม่อาจถือได้ว่า สัญญาพิพาทเลิกกันแล้วก่อนที่ผู้ฟ้องคดีจะนําคดีมาฟ้อง การที่ผู้ฟ้องคดีมีคําขอให้ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 รับผิดชดใช้เงินจํานวน 84,500 บาท จึงมิใช่การเรียกร้องค่าการงานที่พึงได้รับจากการเลิกสัญญา หากแต่เป็นการเรียกร้องเงินตามสัญญา อย่างไรก็ตาม เมื่อศาลได้วินิจฉัยแล้วว่าผู้ฟ้องคดีเป็นฝ่าย ผิดสัญญาเนื่องจากไม่สามารถทํางานให้แล้วเสร็จภายในกําหนด ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 จึงไม่ต้องรับผิด ชําระเงินจํานวน 84,500 บาท ให้แก่ผู้ฟ้องคดี

โดยสรุป เมื่อสัญญามีวัตถุประสงค์ให้ถือเอาปริมาณงานตามใบแจ้งปริมาณงานและราคาเป็นจํานวนโดยประมาณ การที่ปริมาณงานจริงมีจํานวนมากกว่าที่กําหนดในประกาศจัดซื้อจัดจ้างไม่ถือเป็นกรณีที่ผู้รับจ้างเสนอราคาโดยสําคัญผิดในปริมาณงานและราคากลาง จึงไม่ทําให้สัญญาตกเป็นโมฆะ

คําพิพากษาศาลปกครองสูงสุดที่ อ. 499/2565

ที่มา : สสค.

———————————————

ทนายพฤกษ์ คดีปกครอง
– ปรึกษาคดี ติดต่อ 063-6364547
– Line: @prueklaw 

สำนักงานกฎหมาย พฤกษ์ แอนด์ พาร์ทเนอร์
สำนักงานทนายความคดีปกครอง 

การพิจารณาเบี้ยปรับ กรณีผู้รับทุนถึงแก่ความตาย | เรื่องเด่น คดีปกครอง

การพิจารณาเบี้ยปรับกรณีผู้รับทุนถึงแก่ความตาย

สัญญาทางปกครอง (สัญญาให้ทุนการศึกษา)

กฎหมายที่เกี่ยวข้อง

  • ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (มาตรา 383 วรรคหนึ่ง)

เมื่อพิเคราะห์ถึงพฤติการณ์ที่ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 ซึ่งเป็นผู้กระทําผิดสัญญารับทุนการศึกษาตามโครงการพัฒนาและส่งเสริมผู้มีความสามารถพิเศษทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (พสวท.) ระดับอุดมศึกษา ปีการศึกษา 2540 แจ้งความประสงค์ต่อสถาบันส่งเสริมการสอน วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (ผู้ฟ้องคดี) ว่า ต้องการอยู่ต่อที่ประเทศสหรัฐอเมริกา และขอชดใช้เงิน แทนการกลับมาปฏิบัติงานชดใช้ทุน และเมื่อผู้ฟ้องคดีมีหนังสือแจ้งให้ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 ชําระเงิน ทุนการศึกษาเนื่องจากผิดเงื่อนไขสัญญา ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 ได้มีหนังสือขอผ่อนชําระการชดใช้เงินคืน เป็นรายเดือน และได้แจ้งเหตุผลว่ากําลังป่วยเป็นโรคมะเร็งเต้านม จําเป็นต้องใช้เงิน พร้อมทั้งแนบเอกสารหลักฐานการตรวจมาให้ผู้ฟ้องคดี ซึ่งผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 ได้ผ่อนชําระเงินทั้งหมด 9 งวด เป็นเงินจํานวนทั้งสิ้น 71,000 บาท แต่ต่อมาได้ถึงแก่ความตายด้วยโรคมะเร็งเต้านม ปรากฏหลักฐาน ตามสําเนาใบมรณบัตร ออก ณ สถานกงสุลใหญ่ ณ นครลอสแอนเจลิส ประเทศสหรัฐอเมริกา เห็นได้ว่า ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 มีเจตนาชดใช้เงินแทนการกลับมาปฏิบัติราชการ ไม่มีเจตนาไม่ชดใช้เงิน แต่การที่ ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 ไม่สามารถผ่อนชําระเงินต่อไปได้เป็นเพราะป่วยด้วยโรคมะเร็ง ต้องใช้เงินในการ รักษาตัว และถึงแก่ความตายด้วยโรคดังกล่าวในที่สุด เมื่อพิเคราะห์ถึงทางได้เสียของผู้ฟ้องคดี ทุกอย่างไม่ใช่แต่เพียงทางได้เสียในเชิงทรัพย์สิน ประกอบกับเหตุผลแล้วเห็นว่า เงินเบี้ยปรับ ตามสัญญาที่กําหนดไว้สองเท่าของจํานวนเงินทุน เป็นจํานวนที่สูงเกินส่วน เห็นสมควรลดเบี้ยปรับ ที่ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 ต้องรับผิดชดใช้แก่ผู้ฟ้องคดีลงเหลือเพียงหนึ่งเท่าของจํานวนทุนที่จะต้องชดใช้ ทั้งนี้ ตามมาตรา 383 วรรคหนึ่ง แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ส่วนอัตราดอกเบี้ย ตามสัญญาที่กําหนดไว้ในอัตราร้อยละ 15 ต่อปี เป็นอัตราที่สูงเกินกว่าอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ในปัจจุบัน เมื่อพิเคราะห์ถึงทางได้เสียของผู้ฟ้องคดีทุกอย่างอันชอบด้วยกฎหมาย ไม่ใช่เพียงแต่ทางได้เสียในเชิง ทรัพย์สินแล้ว เห็นว่า จํานวนดอกเบี้ยผิดนัดตามสัญญาเป็นจํานวนที่สูงเกินส่วน เห็นควรลดดอกเบี้ยลง เหลือร้อยละ 7.5 ต่อปี ทั้งนี้ ตามมาตรา 383 วรรคหนึ่ง แห่งประมวลกฎหมายเดียวกัน

สําหรับกรณีที่ผู้ถูกฟ้องคดีอุทธรณ์ว่า ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 ถึงแก่ความตาย จึงไม่ต้องรับผิด ตามสัญญาพิพาทนั้น เห็นว่า การถึงแก่ความตายที่ทําให้ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 ไม่ต้องรับผิดตามสัญญา จะต้อง เป็นการถึงแก่ความตายในระหว่างที่ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 ศึกษาหรือปฏิบัติงานชดใช้ทุน เมื่อผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 มิได้ถึงแก่ความตายระหว่างศึกษา รวมทั้งมิได้ปฏิบัติงานชดใช้ทุนเนื่องจากถึงแก่ความตายด้วยโรค มะเร็งเต้านมในระหว่างการผ่อนชําระเงินชดใช้ทุน กรณีของผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 จึงไม่เข้าเงื่อนไขที่ไม่ต้องรับผิดตามสัญญาแต่อย่างใด

โดยสรุป การพิจารณาเบี้ยปรับกรณีผู้รับทุนถึงแก่ความตาย (ผู้รับทุนที่ถึงแก่ความตายในระหว่าง การผ่อนชําระเงินชดใช้ทุน แม้ไม่เข้าเงื่อนไขที่ไม่ต้องรับผิดตามสัญญา แต่ถือเป็นเหตุให้ศาลลดเบี้ยปรับลงได้)

คําพิพากษาศาลปกครองสูงสุดที่ อ.310/2565

ที่มา : สสค.

———————————————

ทนายพฤกษ์ คดีปกครอง
– ปรึกษาคดี ติดต่อ 063-6364547
– Line: @prueklaw 

สำนักงานกฎหมาย พฤกษ์ แอนด์ พาร์ทเนอร์
สำนักงานทนายความคดีปกครอง