หน่วยงานของรัฐก่อสร้างทางรุกล้ำที่ดินเอกชน ฟ้องศาลปกครองได้หรือไม่ 

หน่วยงานของรัฐก่อสร้างทางรุกล้ำที่ดินประชาชน ฟ้องศาลปกครองได้หรือไม่ 

เรื่องเล่าคดีปกครองกับทนายพฤกษ์ คดีปกครอง ในตอนนี้จะนำเสนอในเรื่องเกี่ยวกับการที่หน่วยงานของรัฐ ปรับปรุงทางและสร้างท่อระบายน้ำเพื่อประโยชน์ในการระบายน้ำช่วงหน้าฝน โดยการปรับปรุงและก่อสร้างดังกล่าวมีการรุกล้ำเข้าไปในที่ดินของประชาชนซึ่งเป็นเจ้าของอยู่ ดังนั้น การที่หน่วยงานรุกล้ำเข้าไปในที่ดินของประชาชน ผู้เป็นเจ้าของที่ดิน สามารถใช้สิทธิ์ฟ้องคดีต่อศาลปกครองเพื่อขอให้รื้อถอนทางหรือท่อระบายน้ำนั้นออกจากที่ดินของตนได้หรือไม่

สำหรับข้อเท็จจริงจากเรื่องเล่าคดีนี้ มีอยู่ว่า กรมทางหลวงโดยแขวงทางหลวง ได้ว่าจ้างบริษัทเอกชนให้ดำเนินโครงการปรับปรุงทางและสร้างระบบระบายน้ำใต้ทางเท้าของทางหลวงแผ่นดิน ในการดำเนินการตามโครงการของบริษัทเอกชนดังกล่าวมีการปรับปรุงทางและสร้างระบบระบายน้ำเข้าไปในที่ดินของผู้ฟ้องคดี ผู้ฟ้องคดีซึ่งเป็นเจ้าของที่ดิน เห็นว่ามีการก่อสร้างทางและระบบระบายน้ำรุกล้ำเข้าไปในที่ดินของตน ตลอดแนวยาวของที่ดิน ผู้ฟ้องคดีจึงมีหนังสือขอให้สำนักทางหลวงดำเนินการแก้ไขปัญหาก่อสร้างทางและระบบระบายน้ำดังกล่าว ต่อมามีการตรวจสอบที่ดินและพบว่าเขตทางหลวงบางช่วงมีการรุกล้ำที่ดินของผู้ฟ้องคดีและชาวบ้านรายอื่นๆจริง จึงมีการลดระยะเขตทางให้ตรงกับความเป็นจริงและให้มีการตั้งคณะกรรมการขึ้นมาเพื่อพิจารณากำหนดค่าตอบแทนให้แก่เจ้าของที่ดินที่ถูกเขตทาง ผู้ฟ้องคดีเห็นว่า การที่กรมทางหลวงก่อสร้างทางเท้าและท่อระบายน้ำลุกลามเข้ามาในที่ดินของตนเป็นการกระทำละเมิดทำให้ผู้ฟ้องคดีไม่สามารถใช้ที่ดินในส่วนที่มีการปรับได้ จึงยื่นฟ้องคดีต่อศาลปกครองเพื่อขอให้รื้อถอนทางเท้าและท่อระบายน้ำออกจากที่ดินของผู้ฟ้องคดี

ในกรณีนี้ศาลปกครองสูงสุดได้พิจารณาเห็นว่า การที่กรมทางหลวงโดยแขวงทางหลวงได้ทำสัญญาว่าจ้างให้บริษัทเอกชนทำการปรับปรุงทางและทำท่อระบายน้ำใต้ทางเท้า โดยปรับปรุงทางและท่อระบายน้ำรุกล้ำเข้าไปในที่ดินของผู้ฟ้องคดี และเมื่อข้อเท็จจริงเป็นที่ยุติว่าการดำเนินการตามสัญญาว่าจ้างของเอกชนมีการรุกล้ำเข้าไปในที่ดินของผู้ฟ้องคดีจริง เมื่อกรมทางหลวงยังไม่ได้ดำเนินการเวนคืนที่ดินส่วนที่รุกล้ำนั้น ตามกฎหมายว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ รวมทั้ง ยังไม่มีการตกลงซื้อขายที่ดินส่วนดังกล่าว และไม่มีหลักฐานว่าผู้ฟ้องคดีซึ่งเป็นเจ้าของที่ดินได้อุทิศที่ดินส่วนที่ถูกรุกล้ำนั้นให้เป็นทางสาธารณะประโยชน์ กรณีนี้ถือเป็นการกระทำละเมิดทำให้ผู้ฟ้องคดีต้องได้รับความเดือดร้อนเสียหาย เมื่อผู้ฟ้องคดีมีความประสงค์ให้ที่ดินกลับไปสู่สภาพเดิม และไม่ประสงค์ที่จะขายที่ดินดังกล่าวให้แก่กรมทางหลวง ประกอบกับเมื่อพิจารณาทางเท้าและท่อระบายน้ำที่ก่อสร้างรุกล้ำเข้าไปในที่ของผู้ฟ้องคดี โดยคำนึงถึงความเหมาะสม ความจำเป็น และประโยชน์สาธารณะแล้ว การทำให้ที่ดินของผู้ฟ้องคดีกลับคืนสู่สภาพเดิมโดยรื้อถอนทางเท้าและท่อระบายน้ำที่รุกล้ำไม่ได้กระทบต่อประโยชน์สาธารณะ เนื่องจากแม้จะรื้อถอนส่วนที่รุกล้ำไปแล้ว ก็ยังคงเหลือทางเท้าและท่อระบายน้ำกว้างเพียงพอที่ประชาชนจะใช้ประโยชน์ได้ จึงพิพากษาให้กรมทางหลวงดำเนินการรื้อถอนทางเท้าและท่อระบายน้ำส่วนที่รุกล้ำเข้าไปในที่ดินของผู้ฟ้องคดี

โดยสรุป จากเรื่องเล่าในตอนนี้ การที่หน่วยงานหรือเจ้าหน้าที่จะก่อสร้าง ปรับปรุงขยายถนน หรือทางระบายน้ำ ซึ่งมีแนวเขตติดกันกับที่ดินของเอกชน หน่วยงานหรือเจ้าหน้าที่ จะต้องทำการสำรวจตรวจสอบหลักเขตหรือแนวที่ดินให้มีความชัดเจนก่อนที่จะทำสัญญาจ้างก่อสร้าง เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาในระหว่างการก่อสร้างหรือปัญหาที่อาจเกิดขึ้นภายหลังจากการก่อสร้างแล้วเสร็จ ดังนั้น หน่วยงานหรือเจ้าหน้าที่ไม่สามารถอ้างว่าการดำเนินการก่อสร้างหรือปรับปรุงทางดังกล่าวเพื่อประโยชน์สาธารณะได้ หากเป็นการกระทำที่กระทบกระเทือนต่อสิทธิในทรัพย์สินของบุคคลอื่นโดยที่ยังไม่มีการเวนคืนตามกฎหมาย หรือมีข้อตกลงในเรื่องการโอนไว้เป็นอย่างอื่น

———————————————

ทนายพฤกษ์ คดีปกครอง

– ปรึกษาคดี ติดต่อ 063-6364547

– Line: @prueklaw 

#สำนักงานทนายความคดีปกครอง ทนายความคดีปกครอง 

ถูกเรียกคืนเงินที่ได้รับจากโครงการเราชนะ ฟ้องศาลปกครองได้หรือไม่



https://www.youtube.com/watch?v=LOOjeSdrm3o&t

ถูกเรียกคืนเงินที่ได้รับจากโครงการเราชนะ ฟ้องศาลปกครองได้หรือไม่

สวัสดีครับ เรื่องเล่าคดีปกครอง กับทนายพฤกษ์ คดีปกครอง ที่จะนำมาเสนอในวันนี้เนื่องจากมีคำถามจากหลายท่านติดต่อเข้ามาสอบถามเกี่ยวกับกรณีได้รับหนังสือเรียกคืนเงินที่ได้รับจากโครงการเราชนะ สามารถฟ้องคดีต่อศาลปกครองได้หรือไม่ ในตอนนี้ผมจึงขอหยิบยกนำเสนอในเรื่องเกี่ยวกับการเรียกคืนเงินจากร้านค้าที่ได้รับจากโครงการเราชนะ ซึ่งในช่วงโควิดระบาดที่ผ่านมารัฐบาลมีการสนับสนุนวงเงินให้แก่ประชาชนในการชำระค่าสินค้าหรือบริการจากร้านค้าที่เข้าร่วมโครงการ สำหรับในส่วนของผู้ประกอบการก็จะมีเงื่อนไขว่าต้องรับชำระสินค้าหรือบริการโดยตรงจากประชาชนและห้ามผ่านคนกลางหากฝ่าฝืน อาจถูกเรียกคืนเงินที่ได้รับจากโครงการเราชนะได้

            สำหรับข้อเท็จจริงในเรื่องที่นำมาเล่าเป็นตัวอย่างนี้ เป็นกรณีที่ศาลปกครองสูงสุดได้เคยวินิจฉัยในกรณีการฟ้องขอเพิกถอนคำสั่งเรียกคืนเงินที่ได้รับจากโครงการเราชนะ โดยผู้ฟ้องคดีเป็นผู้ประกอบกิจการร้านขายสินค้าที่ได้เข้าร่วมโครงการเราชนะ ต่อมา ได้รับหนังสือแจ้งจากผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ให้คืนเงินที่ได้รับจากโครงการเราชนะ เนื่องจากมี พฤติการณ์ เข้าข่ายไม่ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์หรือเงื่อนไขของโครงการ รวมทั้งผู้ฟ้องคดีไม่ได้ชี้แจงโต้แย้งภายในระยะเวลาที่กำหนด ผู้ฟ้องคดีได้อุทธรณ์คำสั่งเรียกคืนเงินจากโครงการดังกล่าว แต่ถูกยกอุทธรณ์จึงนำคดีมาฟ้องต่อศาลปกครองอ

            ในกรณีนี้ศาลปกครองสูงสุดได้พิจารณาเห็นว่า การที่คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติโครงการเราชนะโดยให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อแก้ปัญหาเยียวยาและฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมที่ได้รับผลกระทบจากโรคระบาดโควิด โดยมอบหมายให้สำนักงานเศรษฐกิจการคลังมีอำนาจตามกฎหมายในการดำเนินการโครงการดังกล่าว โดยในส่วนของขั้นตอนการประกาศผลการตรวจสอบคุณสมบัติของผู้เข้าร่วมโครงการ เป็นกรณีที่ถือว่าก่อให้เกิดสิทธิสิทธิประโยชน์ในทางทรัพย์สินที่บุคคลจะได้รับตามโครงการฯ อันมีลักษณะลักษณะเป็นคำสั่งทางปกครอง ตามนัยของมาตรา 5 แห่งพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539 สำหรับการที่ผู้เข้าร่วมโครงการฯ ตกลงยอมรับเงื่อนไขที่กำหนดขึ้นเพื่อให้มีการนำเงินช่วยเหลือที่ได้รับไปใช้จ่ายในการลดค่าครองชีพ อันเป็นไปเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ของพระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อแก้ปัญหาเยียวยาและฟื้นฟูเศรษฐกิจ และสังคม ที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา พ.ศ. 2563 ซึ่งถือเป็นการกำหนดเงื่อนไขที่จำเป็น ในการพิจารณาอนุมัติให้เป็นผู้ประกอบการที่เข้าร่วมโครงการฯ เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ของกฎหมายตามมาตรา 39 วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครองฯ ดังนั้น การอนุมัติให้ผู้ฟ้องคดีเข้าร่วมโครงการฯ จึงถือเป็นคำสั่งทางปกครองที่มีการกำหนดเงื่อนไขเกี่ยวกับการสิ้นผลของการได้รับสิทธิประโยชน์ตามโครงการฯ ที่ขึ้นอยู่กับเหตุการณ์ในอนาคตว่าจะมีการฝ่าฝืนเงื่อนไขหรือไม่ และข้อสงวนสิทธิในการยกเลิกคำสั่งอนุมัตินั้น ตามมาตรา 39 วรรคสอง (2) และ (3) แห่งพระราชบัญญัติเดียวกัน เมื่อผู้ฟ้องคดีได้รับหนังสือเรียกคืนเงินที่ได้รับจากโครงการเราชนะเนื่องจากมีการพบว่า ไม่ได้ปฏิบัติตามเงื่อนไข หนังสือเรียกคืนเงินที่ได้รับจากโครงการเราชนะดังกล่าว ถือว่ามีผลเป็นการเพิกถอนการอนุมัติให้ผู้ฟ้องคดีเข้าร่วมโครงการฯ มีลักษณะการใช้อำนาจตามเงื่อนไขประกอบการออกคำสั่งที่อนุมัติให้ผู้ฟ้องคดีเข้าร่วมโครงการฯ และเป็นการใช้อำนาจตามข้อ 20 ของหลักเกณฑ์ว่าด้วยวิธีพิจารณาตรวจสอบข้อมูลและเรื่องร้องเรียนสำหรับโครงการเราชนะ อันเป็นการใช้อำนาจตามกฎหมายของเจ้าหน้าที่ที่มีผลเป็นการสร้างนิติสัมพันธ์ขึ้นระหว่างบุคคล อันมีลักษณะเป็นคำสั่งทางปกครอง ดังนั้น คำสั่งในส่วนที่มีผลเป็นการเพิกถอนการอนุมัติให้ผู้ฟ้องคดีเข้าร่วมโครงการฯ จึงเป็นคำสั่งทางปกครอง สำหรับส่วนที่กำหนดให้ผู้ฟ้องคดีคืนเงินมีลักษณะเป็นการทวงถามให้คืนเงินที่ได้รับไปโดยไม่มีสิทธิเนื่องจากทำผิดเงื่อนไข เมื่อในหนังสือดังกล่าว ได้ระบุว่า หากผู้ฟ้องคดีไม่เห็นด้วยกับคำสั่ง ผู้ฟ้องคดีสามารถยื่นอุทธรณ์ต่อผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ภายใน 15 วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้งคำสั่ง นั้น เป็นกรณีที่ถือได้ว่ามีเจตนาหรือความประสงค์ที่จะให้คำสั่งในส่วนนี้เป็นคำสั่งทางปกครอง

            ดังนั้น การที่ผู้ฟ้องคดีนำคดีมาฟ้องขอให้ศาลปกครองเพิกถอนคำสั่งที่เรียกให้ผู้ฟ้องคดีคืนเงินที่ได้รับจากโครงการเราชนะ จึงเป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับการที่หน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐออกคำสั่งโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายตามมาตรา 9 วรรคหนึ่ง (1) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542 เมื่อผู้ฟ้องคดีเป็นผู้ได้รับความเดือดร้อนเสียหายอันเนื่องจากการกระทำดังกล่าว และการแก้ไขความเดือดร้อนเสียหาย ศาลปกครองสามารถออกคำบังคับให้เพิกถอนคำสั่งดังกล่าวได้ และเมื่อได้มีการยื่นอุทธรณ์คำสั่งเรียกเงินคืนดังกล่าวดังกล่าวแล้ว ถือว่าผู้ฟ้องคดีได้ดำเนินการตามขั้นตอนที่มีกฎหมายกำหนดไว้สำหรับการแก้ไขความเดือดร้อนหรือเสียหายในเรื่องนั้นไว้โดยเฉพาะแล้ว ผู้ฟ้องคดีจึงมีสิทธิฟ้องคดีต่อศาลปกครอง อีกทั้ง เมื่อผู้ฟ้องคดีนำคดีมาฟ้องภายในระยะเวลาการฟ้องคดี ศาลปกครองจึงมีอำนาจรับคำฟ้องของผู้ฟ้องคดีไว้พิจารณาพิพากษาได้

            โดยสรุป การที่ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลังมีหนังสือเรียกคืนเงินที่ได้รับจากโครงการเราชนะ จากร้านค้าหรือผู้ประกอบการที่เข้าร่วมโครงการเราชนะ เพราะเข้าข่ายทำผิดเงื่อนไข หนังสือเรียกคืนเงินที่ได้รับจากโครงการเราชนะดังกล่าวจึงมีผลเป็นการเพิกถอนคำสั่งอนุมัติให้ร้านค้าหรือผู้ประกอบการเข้าร่วมโครงการฯ อันมีลักษณะเป็นคำสั่งทางปกครอง ดังนั้น เมื่อผู้ฟ้องคดีนำคดีมาฟ้องขอให้ศาลพิพากษาเพิกถอนคำสั่งเรียกคืนเงินที่ได้รับจากโครงการเราชนะ จึงเป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับการที่หน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐออกคำสั่งไม่โดยชอบด้วยกฎหมายตามมาตรา 9 วรรคหนึ่ง (1) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542 อยู่ในอำนาจของศาลปกครอง

———————————————

ทนายพฤกษ์ คดีปกครอง

– ปรึกษาคดี ติดต่อ 063-6364547

– Line: @prueklaw 

#สำนักงานทนายความคดีปกครอง ทนายความคดีปกครอง 

ไม่ได้รับเงินช่วยเหลือเพราะตกสำรวจ ใครต้องรับผิดชอบ



https://www.youtube.com/watch?v=67SY6wWWJNw

ไม่ได้รับเงินช่วยเหลือเพราะตกสำรวจ ใครต้องรับผิดชอบ

สวัสดีครับ เรื่องเล่าคดีปกครอง กับทนายพฤกษ์ คดีปกครอง ที่จะนำมาเสนอในวันนี้เป็นเรื่องเกี่ยวกับการสำรวจข้อมูลราษฎรผู้ได้รับความเดือดร้อนจากกรณีน้ำท่วมซึ่งมีสิทธิได้รับความช่วยเหลือและการเยียวยาจากภาครัฐ

กรณีอุทกภัยหรือเหตุภัยพิบัติทางธรรมชาติเป็นสิ่งที่ไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ ซึ่งหากเกิดเหตุการณ์ดังกล่าวนอกจากที่จะต้องยอมรับและช่วยเหลือตนเองรวมทั้งช่วยเหลือซึ่งกันและกันแล้ว สิ่งที่ประชาชนคาดหวังและนึกถึงเป็นลำดับต่อมาก็คือความช่วยเหลือและการเยียวยาจากภาครัฐ ซึ่งความช่วยเหลือนั้นต้องเป็นความช่วยเหลืออย่างทั่วถึงและเท่าเทียมกัน

คดีปกครองที่จะนำมาเล่าในตอนนี้เป็นเรื่องเกี่ยวกับเงินเยียวยาช่วยเหลือน้ำท่วม โดยมีเหตุมาจากการเกิดน้ำท่วมในเขตพื้นที่ความรับผิดชอบของ อบต. และจังหวัดได้มีการประกาศให้เป็นพื้นที่ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน (อุทกภัย) นายอำเภอในฐานะผู้กำกับดูแล อบต. และเป็นประธานคณะกรรมการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติอำเภอ ได้สั่งการให้ อบต. สำรวจครัวเรือนที่ประสบอุทกภัยเพื่อให้การช่วยเหลือ หลังจากนั้นได้มีการจ่ายเงินช่วยเหลือให้ผู้ประสบอุทกภัยตามบัญชีรายชื่อที่สำรวจ แต่ผู้ฟ้องคดีซึ่งเป็นผู้ประสบอุทกภัยและอยู่ในหลักเกณฑ์ที่จะได้รับเงินช่วยเหลือกลับไม่มีรายชื่อในแบบสำรวจ ผู้ฟ้องคดีก็เลยทวงถามไปทาง อบต. และได้รับการแจ้งกลับมาว่า มีการจ่ายเงินช่วยเหลือกันไปเสร็จสิ้นแล้ว ผู้ฟ้องคดีเห็นว่า ตนก็เป็นผู้ประสบอุทกภัยมีสิทธิได้รับเงินช่วยเหลือแต่ อบต. สำรวจรายชื่อตกหล่นทำให้ตนเสียสิทธิ จึงนำคดีมาฟ้องต่อศาลปกครอง โดยฟ้องให้ นายก อบต. และ อบต. ชดใช้ค่าเสียหายจากการที่ไม่ได้รับเงินเยียวยาพร้อมดอกเบี้ยตามกฎหมาย

โดยคดีนี้ผู้ถูกฟ้องคดีได้อ้างว่า เนื่องจากในการสำรวจรายชื่อผู้ประสบอุทกภัยมีระยะเวลาในการสำรวจกระชั้นชิดและมีเจ้าหน้าที่ออกสำรวจไม่เพียงพอ รวมทั้งได้มีการประกาศแจ้งเสียงตามสายเพื่อให้ผู้เดือดร้อนไปแจ้งรายชื่อแล้ว แต่ผู้ฟ้องคดีมิได้ไปแจ้งสิทธิ

ในคดีนี้ศาลปกครองสูงสุดวินิจฉัยว่า เมื่อการสั่งการของนายอำเภอเป็นการสั่งการโดยมีกฎหมายให้อำนาจกระทำได้ และเป็นการสั่งการโดยชอบด้วยกฎหมาย อบต. จึงมีหน้าที่สำรวจรายชื่อครัวเรือนที่ประสบอุทกภัยตามที่อำเภอมอบหมาย ถือได้ว่าเป็นหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนดให้ต้องปฏิบัติ แม้ อบต. จะเพิ่งได้รับข้อสั่งการ แต่ในการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย อบต. ย่อมต้องมีข้อมูลพื้นที่ที่ได้รับความเสียหายในท้องที่ของตน โดยอาศัยข้อมูลที่มีอยู่แล้วก็น่าจะเพียงพอกับระยะเวลาดำเนินการ และไม่ใช่กรณีที่ราษฎรต้องแจ้งสิทธิของตนก่อน เมื่อ อบต. สำรวจและจัดเก็บรายชื่อไม่ถูกต้อง ทำให้รายชื่อของราษฎรที่อยู่ในหลักเกณฑ์ได้รับความช่วยเหลือตกสำรวจ จึงถือได้ว่าเป็นการละเลยต่อหน้าที่ตามกฎหมาย เป็นเหตุให้ผู้ประสบอุทกภัยไม่ได้รับเงินช่วยเหลือ จึงเป็นการกระทำละเมิดอันเกิดจากการละเลยต่อหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนดให้ต้องปฏิบัติ อบต. จึงต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายให้แก่ผู้ฟ้องคดี

โดยสรุปเรื่องเล่าในตอนนี้ หน่วยงานของรัฐและเจ้าหน้าที่ซึ่งมีอำนาจหน้าที่ในการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เมื่อเกิดสาธารณภัยขึ้นในพื้นที่ความรับผิดชอบของตน นอกจากจะต้องให้ความช่วยเหลือเป็นการเฉพาะหน้าแล้ว การสำรวจตรวจสอบข้อมูลเพื่อบรรเทาความเดือดร้อนเสียหายให้แก่ผู้ประสบภัยก็ต้องดำเนินการด้วยความรอบคอบ เพื่อให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์การช่วยเหลืออย่างถูกต้องครบถ้วน

———————————————

ทนายพฤกษ์ คดีปกครอง

– ปรึกษาคดี ติดต่อ 063-6364547

– Line: @prueklaw 

#สำนักงานทนายความคดีปกครอง ทนายความคดีปกครอง 

ประกาศสำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน เรื่อง กำหนดเขตระบบโครงข่ายไฟฟ้า 500 กิโลโวลต์ ท่าตะโก – สามโคก (ช่วงปรับแก้ทิศทางและแนวเขตระบบโครงข่ายไฟฟ้า) ตามพระราชบัญญัติการประกอบกิจการพลังงาน พ.ศ. 2550

ประกาศสำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน เรื่อง กำหนดเขตระบบโครงข่ายไฟฟ้า 500 กิโลโวลต์ ท่าตะโก – สามโคก (ช่วงปรับแก้ทิศทางและแนวเขตระบบโครงข่ายไฟฟ้า) ตามพระราชบัญญัติการประกอบกิจการพลังงาน พ.ศ. 2550

ทนายความคดีปกครอง พร้อมให้คำปรึกษาคดีเกี่ยวกับโครงข่ายไฟฟ้า การฟ้องเรียกค่าทดแทนเพิ่ม การอุทธรณ์เงินค่าทดแทน การฟ้องคดีเกี่ยวกับการเวนคืนและการรอนสิทธิ การจัดทำคำร้องคัดค้านการกำหนดแนวเขต การฟ้องเพิกถอนประกาศสำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน การฟ้องเรียกค่าทดแทน ทนายความคดีโครงข่ายไฟฟ้า ปรึกษาคดี โทร. 063-6364547

ประกาศสำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน เรื่อง กำหนดเขตระบบโครงข่ายไฟฟ้า 500 กิโลโวลต์ ท่าตะโก - สามโคก (ช่วงปรับแก้ทิศทางและแนวเขตระบบโครงข่ายไฟฟ้า) ตามพระราชบัญญัติการประกอบกิจการพลังงาน พ.ศ. 2550

ที่มา : สำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน

สำนักงานกฎหมาย พฤกษ์ แอนด์ พาร์ทเนอร์
สำนักงานทนายความคดีปกครอง

ทนายพฤกษ์ คดีปกครอง
โทร. 063-6364547

ประกาศสำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน เรื่อง กำหนดเขตระบบโครงข่ายไฟฟ้า 230 กิโลโวลต์ ปลวกแดง-บ้านค่าย (ส่วนเพิ่มเติม) ตามพระราชบัญญัติการประกอบกิจการพลังงาน พ.ศ. 2550

ประกาศสำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน เรื่อง กำหนดเขตระบบโครงข่ายไฟฟ้า 230 กิโลโวลต์ ปลวกแดง-บ้านค่าย (ส่วนเพิ่มเติม) ตามพระราชบัญญัติการประกอบกิจการพลังงาน พ.ศ. 2550

ทนายความคดีปกครอง พร้อมให้คำปรึกษาคดีเกี่ยวกับโครงข่ายไฟฟ้า การฟ้องเรียกค่าทดแทนเพิ่ม การอุทธรณ์เงินค่าทดแทน การฟ้องคดีเกี่ยวกับการเวนคืนและการรอนสิทธิ การจัดทำคำร้องคัดค้านการกำหนดแนวเขต การฟ้องเพิกถอนประกาศสำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน การฟ้องเรียกค่าทดแทน ทนายความคดีโครงข่ายไฟฟ้า ปรึกษาคดี โทร. 063-6364547

ประกาศสำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน เรื่อง กำหนดเขตระบบโครงข่ายไฟฟ้า 230 กิโลโวลต์ ปลวกแดง-บ้านค่าย (ส่วนเพิ่มเติม) ตามพระราชบัญญัติการประกอบกิจการพลังงาน พ.ศ. 2550

ที่มา : สำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน

สำนักงานกฎหมาย พฤกษ์ แอนด์ พาร์ทเนอร์
สำนักงานทนายความคดีปกครอง

ทนายพฤกษ์ คดีปกครอง
โทร. 063-6364547

ประกาศสำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน เรื่อง กำหนดเขตระบบโครงข่ายไฟฟ้า 115 กิโลโวลต์ ยโสธร-ศรีสะเกษ (ช่วงปรับทิศทางและแนวเขตระบบโครงข่ายไฟฟ้า) ตามพระราชบัญญัติการประกอบกิจการพลังงาน พ.ศ. 2550

ประกาศสำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน เรื่อง กำหนดเขตระบบโครงข่ายไฟฟ้า 115 กิโลโวลต์ ยโสธร-ศรีสะเกษ (ช่วงปรับทิศทางและแนวเขตระบบโครงข่ายไฟฟ้า) ตามพระราชบัญญัติการประกอบกิจการพลังงาน พ.ศ. 2550

ทนายความคดีปกครอง พร้อมให้คำปรึกษาคดีเกี่ยวกับโครงข่ายไฟฟ้า การฟ้องเรียกค่าทดแทนเพิ่ม การอุทธรณ์เงินค่าทดแทน การฟ้องคดีเกี่ยวกับการเวนคืนและการรอนสิทธิ การจัดทำคำร้องคัดค้านการกำหนดแนวเขต การฟ้องเพิกถอนประกาศสำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน การฟ้องเรียกค่าทดแทน ทนายความคดีโครงข่ายไฟฟ้า ปรึกษาคดี โทร. 063-6364547

ประกาศสำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน เรื่อง กำหนดเขตระบบโครงข่ายไฟฟ้า 115 กิโลโวลต์ อ่างทอง 1 - สิงห์บุรี (ช่วงปรับแก้ทิศทางและแนวเขตระบบโครงข่ายไฟฟ้า) ตามพระราชบัญญัติการประกอบกิจการพลังงาน พ.ศ. 2550

ที่มา : สำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน

สำนักงานกฎหมาย พฤกษ์ แอนด์ พาร์ทเนอร์
สำนักงานทนายความคดีปกครอง

ทนายพฤกษ์ คดีปกครอง
โทร. 063-6364547

พระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินที่จะเวนคืนในท้องที่ตำบลไร่หลักทอง ตำบลบ้านช้าง ตำบลนาวังหิน ตำบลนาเริก ตำบลหมอนนาง อำเภอพนัสนิคม และตำบลท่าบุญมี อำเภอเกาะจันทร์ จังหวัดชลบุรี พ.ศ. 2566

พระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินที่จะเวนคืนในท้องที่ตำบลไร่หลักทอง ตำบลบ้านช้าง ตำบลนาวังหิน ตำบลนาเริก ตำบลหมอนนาง อำเภอพนัสนิคม และตำบลท่าบุญมี อำเภอเกาะจันทร์ จังหวัดชลบุรี พ.ศ. 2566

ทนายความคดีปกครอง ทนายความคดีเวนคืน พร้อมให้คำปรึกษาคดีเกี่ยวกับการเวนคืน ปรึกษาคดี โทร. 063-6364547

พระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินที่จะเวนคืนในท้องที่ตำบลไร่หลักทอง ตำบลบ้านช้าง ตำบลนาวังหิน ตำบลนาเริก ตำบลหมอนนาง อำเภอพนัสนิคม และตำบลท่าบุญมี อำเภอเกาะจันทร์ จังหวัดชลบุรี พ.ศ. 2566

หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ เนื่องจากกรมชลประทานได้ทำการสำรวจเขตที่ดินเพื่อเวนคืนตามพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืน ในท้องที่ตำบลวัดหลวง ตำบลไร่หลักทอง ตำบลบ้านช้าง ตำบลนาวังหิน ตำบลนาเริก ตำบลหมอนนาง อำเภอพนัสนิคม และตำบลท่าบุญมี อำเภอเกาะจันทร์ จังหวัดชลบุรี พ.ศ. 2560 เพื่อก่อสร้างคลองส่งน้ำและคลองระบายน้ำ พร้อมอาคารประกอบ ตามโครงการอ่างเก็บน้ำคลองหลวง รัชชโลทร อันเนื่องมาจากพระราชดำริ จังหวัดชลบุรี ยังไม่แล้วเสร็จ สมควรกำหนดเขตที่ดินที่จะเวนคืนในท้องที่ตำบลไร่หลักทอง ตำบลบ้านช้าง ตำบลนาวังหิน ตำบลนาเริก ตำบลหมอนนาง อำเภอพนัสนิคม และตำบลท่าบุญมี อำเภอเกาะจันทร์ จังหวัดชลบุรี เพื่อให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีสิทธิเข้าไปทำการสำรวจเพื่อให้ทราบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ที่ต้องได้มาโดยแน่ชัด จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้

ทนายพฤกษ์ คดีปกครอง
โทร. 063-6364547

พระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินที่จะเวนคืนในท้องที่ตำบลลำพะยา อำเภอเมืองยะลา จังหวัดยะลา พ.ศ. 2566

พระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินที่จะเวนคืนในท้องที่ตำบลลำพะยา อำเภอเมืองยะลา จังหวัดยะลา พ.ศ. 2566

ทนายความคดีปกครอง ทนายความคดีเวนคืน พร้อมให้คำปรึกษาคดีเกี่ยวกับการเวนคืน ปรึกษาคดี โทร. 063-6364547

พระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินที่จะเวนคืนในท้องที่ตำบลลำพะยา อำเภอเมืองยะลา จังหวัดยะลา พ.ศ. 2566

หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ เนื่องจากมีความจำเป็นต้องก่อสร้างทำนบดิน อาคารหัวงาน อาคารประกอบ และสิ่งจำเป็นในการชลประทานอื่นตามโครงการอ่างเก็บน้ำลำพะยา อันเนื่องมาจากพระราชดำริ ในท้องที่ตำบลลำพะยา อำเภอเมืองยะลา จังหวัดยะลา เพื่อประโยชน์แก่การชลประทานสาหรับพื้นที่การเกษตร การอุปโภคและบริโภค ตลอดจนการป้องกันและบรรเทาอุทกภัยและเพื่อนำที่ดินไปชดเชยให้เกิดความเป็นธรรมแก่เจ้าของที่ดินที่ถูกเวนคืน สมควรกำหนดเขตที่ดินที่จะเวนคืน ในท้องที่ดังกล่าว เพื่อให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีสิทธิเข้าไปทาการสารวจเพื่อให้ทราบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับ อสังหาริมทรัพย์ที่ต้องได้มาโดยแน่ชัด จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้

ทนายพฤกษ์ คดีปกครอง
โทร. 063-6364547

พระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินที่จะเวนคืนในท้องที่ตำบลพระบาท และตำบลพิชัย อำเภอเมืองลำปาง จังหวัดลำปาง พ.ศ. 2566

พระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินที่จะเวนคืนในท้องที่ตำบลพระบาท และตำบลพิชัย อำเภอเมืองลำปาง จังหวัดลำปาง พ.ศ. 2566

ทนายความคดีปกครอง ทนายความคดีเวนคืน พร้อมให้คำปรึกษาคดีเกี่ยวกับการเวนคืน ปรึกษาคดี โทร. 063-6364547

พระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินที่จะเวนคืนในท้องที่ตำบลพระบาท และตำบลพิชัย อำเภอเมืองลำปาง จังหวัดลำปาง พ.ศ. 2566

หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ เนื่องจากมีความจำเป็นต้องสร้างทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 127 สายทางเลี่ยงเมืองลำปาง ตอนทางเลี่ยงเมืองลำปางด้านตะวันออก ในท้องที่ตำบลพระบาท และตำบลพิชัย อำเภอเมืองลำปาง จังหวัดลำปาง เพื่ออานวยความสะดวก และความรวดเร็วแก่การจราจรและการขนส่งอันเป็นกิจการสาธารณูปโภค และเพื่อนำที่ดินไปชดเชยให้เกิดความเป็นธรรมแก่เจ้าของที่ดินที่ถูกเวนคืน สมควรกำหนดเขตที่ดินที่จะเวนคืนในท้องที่ดังกล่าว เพื่อให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีสิทธิเข้าไปทำการสำรวจเพื่อให้ทราบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ที่ต้องได้มาโดยแน่ชัด
จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้

ทนายพฤกษ์ คดีปกครอง
โทร. 063-6364547

พระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินที่จะเวนคืน ในท้องที่ตำบลสำนักท้อนและตำบลพลา อำเภอบ้านฉาง จังหวัดระยอง พ.ศ. 2566

พระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินที่จะเวนคืน ในท้องที่ตำบลสำนักท้อนและตำบลพลา อำเภอบ้านฉาง จังหวัดระยอง พ.ศ. 2566

ทนายความคดีปกครอง ทนายความคดีเวนคืน พร้อมให้คำปรึกษาคดีเกี่ยวกับการเวนคืน ปรึกษาคดี โทร. 063-6364547

พระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินที่จะเวนคืน ในท้องที่ตำบลสำนักท้อนและตำบลพลา อำเภอบ้านฉาง จังหวัดระยอง พ.ศ. 2566

หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ เนื่องจากมีความจำเป็นต้องสร้างทางหลวงพิเศษหมายเลข 7 สายกรุงเทพมหานคร – บ้านฉาง รวมทางแยกไปบรรจบทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 34 (บางวัว) ทางแยกเข้าชลบุรี ทางแยกเข้าท่าเรือแหลมฉบัง ทางแยกเข้าพัทยาและทางแยกไปบรรจบทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 3 (บ้านอำเภอ) ตอนทางแยกเข้าสนามบินอู่ตะเภา ระยอง พัทยา ในท้องที่ตำบลสำนักท้อน และตำบลพลา อำเภอบ้านฉาง จังหวัดระยอง เพื่ออำนวยความสะดวกและความรวดเร็วแก่การจราจรและการขนส่งอันเป็นกิจการสาธารณูปโภค และเพื่อนำที่ดินไปชดเชยให้เกิดความเป็นธรรมแก่เจ้าของที่ดินที่ถูกเวนคืน สมควรกำหนดเขตที่ดินที่จะเวนคืนในท้องที่ดังกล่าว เพื่อให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีสิทธิเข้าไปทำการสารวจเพื่อให้ทราบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ที่ต้องได้มาโดยแน่ชัด จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้

ทนายพฤกษ์ คดีปกครอง
โทร. 063-6364547