ประสบอุบัติเหตุจากต้นไม้ริมทางหลวงล้มทับ
ละเมิดต่อบุคคลภายนอก : ละเมิดจากการละเลย (กรณีประสบอุบัติเหตุจากต้นไม้ริมทางหลวงล้มทับ)
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง
- ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (มาตรา 420)
- พระราชบัญญัติทางหลวง พ.ศ. 2535 (มาตรา 4 มาตรา 19)
- กฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการกรมทางหลวง กระทรวงคมนาคม พ.ศ. 2552 (ข้อ 2 (2))
เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่า เมื่อวันที่ 26 กรกฎาคม 2560 ขณะผู้ฟ้องคดีกําลังขับรถยนต์ไปปฏิบัติงานที่สํานักงานเทศบาลตําบล ปรากฏว่าต้นหว้าขนาดใหญ่ซึ่งขึ้นอยู่ในทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 202 ได้โค่นล้มลงมาทับรถยนต์ของผู้ฟ้องคดีได้รับความเสียหาย ผู้ฟ้องคดีได้รับบาดเจ็บ โดยที่มาตรา 19 แห่งพระราชบัญญัติทางหลวง พ.ศ. 2535 บัญญัติให้อธิบดีกรมทางหลวง (ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 2) มีหน้าที่กํากับ ตรวจตรา และควบคุมทางหลวง… ซึ่งหมายความรวมถึงที่ดิน พืช พันธุ์ไม้ทุกชนิด เจ้าหน้าที่ของกรมทางหลวง (ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1) จึงมีหน้าที่ในการจัดให้มีและบํารุงรักษาต้นไม้ในเขตทางหลวงให้อยู่ในสภาพเรียบร้อย โดยต้นไม้ในเขตทางหลวงดังกล่าวไม่ได้จํากัดเฉพาะต้นไม้ที่เจ้าหน้าที่ของผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 ปลูกเท่านั้น แต่หมายความรวมถึงต้นไม้ที่ขึ้นเองตามธรรมชาติที่อยู่ในพื้นที่รับผิดชอบของผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 ด้วย เพื่อมิให้กีดขวางเส้นทางสัญจรหรือก่อให้เกิดอันตรายแก่ผู้ใช้เส้นทาง และหากเกิดความเสียหายใด ๆ จากต้นไม้ในเขตทางหลวง กรณีจึงเป็นเรื่องที่อยู่ในความดูแลรับผิดชอบของผู้ถูกฟ้องคดีที่ 2 ทั้งนี้ เว้นแต่กรณีที่เป็นเหตุสุดวิสัย ดังนั้น ผู้ถูกฟ้องคดีที่ 2 จึงมีอํานาจหน้าที่โดยตรงในการดําเนินกิจการต่าง ๆ ในเขตรับผิดชอบของทางหลวงเพื่อประโยชน์ในการจราจรสาธารณะทางบก รวมถึงการจัดให้มีและบํารุงรักษาต้นไม้ที่อยู่บนพื้นที่เขตทางหลวงให้อยู่ในสภาพเรียบร้อย ตามข้อ 2 (2) ของกฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการกรมทางหลวง กระทรวงคมนาคม พ.ศ. 2552
เมื่อพิจารณาข้อเท็จจริงเกี่ยวกับลักษณะสภาพอากาศในวันเกิดเหตุปรากฏว่า กรมอุตุนิยมวิทยาได้มีประกาศกรมอุตุนิยมวิทยาว่า ในช่วงระหว่างวันที่ 24 ถึงวันที่ 29 กรกฎาคม 2560 พายุโซนร้อนเชินกาจะทําให้ประเทศไทยมีฝนตกหนักถึงหนักมากเป็นบริเวณกว้างหลายพื้นที่ ซึ่งอาจทําให้เกิดน้ําท่วมฉับพลัน น้ําป่าไหลหลาก หรือน้ําล้นตลิ่งด้วย โดยข้อมูลดังกล่าวสอดคล้องกับภาพถ่ายที่คู่กรณีทั้งสองฝ่ายนําส่งว่า ในวันและเวลาเกิดเหตุได้มีพายุลมแรงและฝนตกหนักต่อเนื่องยาวนานในบริเวณที่เกิดเหตุ อีกทั้ง เมื่อพิจารณารายงานผลการสอบสวนของคณะกรรมการสอบข้อเท็จจริงความรับผิดทางละเมิด สรุปได้ว่า นาย พ. หัวหน้าหมวดทางหลวงอํานาจเจริญ ซึ่งเป็นผู้รับผิดชอบทางหลวงหมายเลข 202 ที่เกิดเหตุ ได้ให้ถ้อยคําว่า ได้มีการกําหนดแผนการดูแลบํารุงรักษาต้นไม้ในสายทางที่รับผิดชอบเป็นแผนการปฏิบัติงานประจําเดือนของหมวดทางหลวงโดยได้ตัดแต่งกิ่ง ตัดไม้แห้งและไม้ยืนต้นที่เอนเอียงโน้มเข้าหาทาง มีการตรวจสภาพต้นไม้เป็นประจำปรากฏตามบันทึกค่าใช้จ่ายงานบํารุงปกติ ใบขออนุญาตการใช้รถส่วนกลาง ภาพถ่ายการดูแลบํารุงรักษาตัดแต่งกิ่งต้นไม้ โดยในวันเกิดเหตุ นาย พ. ได้ไปตรวจสอบและตัดต้นไม้ที่ล้มทับขวางทางหลวง โดยได้ตรวจสอบบริเวณจุดเกิดเหตุด้วย แต่ไม่พบว่ามีต้นไม้เอนเอียงเข้าหาทางหรือล้มทับขวางทาง ประกอบกับต้นไม้ที่ล้มทับรถยนต์ของผู้ฟ้องคดีเป็นไม้สดเขียวชอุ่ม ไม่มีลักษณะผุกลวง ไม่มีลักษณะ เอนเอียง จึงไม่อาจคาดหมายได้ว่าต้นไม้ดังกล่าวจะโค่นล้ม อีกทั้ง ระยะเวลาที่ตรวจสอบห่างจาก เวลาที่เกิดเหตุไม่กี่ชั่วโมง โดยอุบัติเหตุดังกล่าวเกิดขึ้นเวลาประมาณ 8 นาฬิกา การที่ต้นไม้โค่นล้ม จึงเป็นเหตุสุดวิสัยเนื่องจากภัยธรรมชาติของพายุเซินกา คณะกรรมการสอบข้อเท็จจริงฯ เห็นว่า นาย พ.ได้ปฏิบัติหน้าที่ราชการโดยตรวจตราดูแลบํารุงรักษาทางที่เกิดเหตุและมีการตรวจสอบสภาพต้นไม้โดยตัดแต่งกิ่งต้นไม้อันจะเป็นอันตรายตามสายทางที่เกิดเหตุแล้ว ถือว่าได้ปฏิบัติหน้าที่ตามระเบียบ ของทางราชการ และไม่เป็นการปฏิบัติหน้าที่ราชการด้วยความประมาทเลินเล่อ นอกจากนี้ ข้อเท็จจริง ปรากฏตามภาพถ่ายการตัดแต่งกิ่งต้นไม้บริเวณทางหลวงหมายเลข 202 ของเจ้าหน้าที่หมวดทางหลวงอํานาจเจริญที่ปฏิบัติงานในช่วงเดือนเมษายนถึงเดือนกรกฎาคม 2560 ประกอบใบขออนุญาตการใช้ รถส่วนกลางเพื่อออกไปตัดต้นไม้ที่แห้งตายในไหล่ทาง รวมถึงบันทึกข้อความขออนุมัติทํางานนอกเวลาราชการและวันหยุดราชการ ซึ่งระบุว่า ตามที่ได้มีฝนตกหนักติดต่อกันหลายวัน ทําให้ผิวทาง ชํารุดเสียหายและมีหลุมบ่อจํานวนมาก จําเป็นต้องเร่งซ่อมแซมให้แล้วเสร็จโดยเร็ว จึงขออนุมัติทํางานนอกเวลาราชการระหว่างวันที่ 28 ถึงวันที่ 30 กรกฎาคม 2560 แสดงให้เห็นว่า เจ้าหน้าที่ของผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 ได้มีการวางแผนดูแลบํารุงรักษาตัดแต่งต้นไม้ตามระยะเวลาที่กําหนด กรณีจึงต้อง ถือว่าเจ้าหน้าที่ของผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 ได้ดูแลบํารุงรักษาต้นไม้ทั้งในช่วงก่อนและหลังวันที่เกิดเหตุตามอํานาจหน้าที่ด้วยความระมัดระวังตามสมควรแล้ว
จากการพิจารณาพยานหลักฐานต่าง ๆ รวมทั้งภาพถ่ายทั้งหมด เห็นได้ว่า ในวันเกิดเหตุ ได้มีพายุลมแรงและฝนตกหนักต่อเนื่อง จึงเชื่อได้ว่าการที่ต้นหว้าโค่นล้มลงทับรถยนต์ของผู้ฟ้องคดี เป็นผลโดยตรงจากภัยธรรมชาติของพายุโซนร้อนเซินกา ซึ่งสังเกตได้จากการที่ต้นหว้ายังอยู่ในสภาพ สมบูรณ์ มีใบเขียวชอุ่ม และไม่มีลักษณะผุกลวงอันอาจจะก่อให้เกิดอันตราย จึงเป็นการหักโค่นล้ม ด้วยเหตุที่มีฝนตกหนักและพายุลมแรง ไม่ได้เกิดจากขาดการดูแลบํารุงรักษาตามมาตรฐานงานบํารุงทางปกติ ประกอบกับต้นหว้าที่หักโค่นมีลักษณะเป็นต้นไม้สด มิใช่ต้นไม้ยืนต้นตายหรือต้นไม้ผุกลวง จึงไม่อาจคาดหมายได้ว่าต้นไม้ดังกล่าวจะหักโค่นล้มลง นอกจากนี้ เหตุอันเกิดจากภัยธรรมชาติของพายุโซนร้อนเงินกาไม่ได้ส่งผลให้เฉพาะต้นหว้าโค่นล้มทับรถยนต์ของผู้ฟ้องคดีเพียงคนเดียว แต่ผลกระทบจากพายุโซนร้อนเงินกาดังกล่าวยังทําให้เกิดเหตุต้นไม้ล้มทับขวางทางอีกหลายต้น และหลายแห่งในทางหลวงหมายเลข 202 กรณีจึงเห็นได้ว่าแม้เจ้าหน้าที่ของผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 จะปฏิบัติหน้าที่ในการดูแลและบํารุงรักษาต้นไม้ในเขตทางหลวงอย่างทั่วถึงเพียงใด แต่เมื่อเกิดเหตุ วาตภัยจากพายุโซนร้อนเป็นกาซึ่งเป็นภัยธรรมชาติก็ไม่อาจป้องกันมิให้เกิดภยันตรายจากการที่ต้นไม้ โค่นล้มในลักษณะนี้ได้ และไม่สามารถป้องกันมิให้เกิดภยันตรายแก่ผู้ใช้ทางได้ ดังนั้น การที่ต้นหว้าหักโค่นล้มทับรถยนต์ของผู้ฟ้องคดีจึงเกิดจากลมพายุฝนหรือวาตภัย ซึ่งเป็นเหตุการณ์ที่ผู้ถูกฟ้องคดีทั้งสองไม่อาจป้องกันไม่ให้เกิดภยันตรายได้จึงถือเป็นเหตุสุดวิสัยตามมาตรา 8 แห่งประมวลกฎหมาย แพ่งและพาณิชย์ กรณีจึงไม่อาจถือได้ว่าเจ้าหน้าที่ของผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1 ละเลยต่อหน้าที่ตามที่กฎหมาย กําหนดให้ต้องปฏิบัติในการดูแลบํารุงรักษาต้นไม้ในเขตทางหลวง จนเป็นเหตุให้เกิดความเสียหาย และไม่เป็นการกระทําละเมิดต่อผู้ฟ้องคดีตามมาตรา 420 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
โดยสรุป หากอุบัติเหตุเกิดขึ้นจากการที่หน่วยงานหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐละเลยหน้าที่ที่ต้องปฏิบัติในการดูแลรักษาต้นไม้ริมทางดังกล่าว หน่วยงานต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายแก่ผู้เสียหาย ทว่าจากข้อเท็จจริงในคดีนี้การที่ต้นหว้าโค่นล้มลงทับรถยนต์ของผู้ฟ้องคดีเป็นผลโดยตรงจากพายุโซนร้อน ซึ่งสังเกตได้จากการที่ต้นหว้าอยู่ในสภาพสมบูรณ์ มีใบเขียวชอุ่ม ไม่มีลักษณะผุกลวงอันอาจจะก่อให้เกิดอันตราย จึงไม่ได้เป็นการหักโค่นล้มจากขาดการดูแลบํารุงรักษาตามมาตรฐานปกติ นอกจากนี้ ข้อเท็จจริงยังปรากฏว่า เจ้าหน้าที่ทางหลวงได้มีการตัดแต่งกิ่ง ตัดไม้แห้งและไม้ยืนต้น ที่เอนเอียงโน้มเข้าหาทาง และมีการตรวจสภาพต้นไม้เป็นประจํา ประกอบกับพายุโซนร้อนยังทําให้ต้นไม้ล้มอีกหลายต้นและหลายแห่ง แม้เจ้าหน้าที่ได้ดูแลบํารุงรักษาตัดแต่งต้นไม้อย่างทั่วถึงเพียงใด ก็ไม่อาจป้องกันภัยธรรมชาติจากพายุฝนหรือวาตภัยได้ จึงถือเป็นเหตุสุดวิสัยไม่อาจถือได้ว่าเจ้าหน้าที่ละเลยต่อหน้าที่ และไม่เป็นการกระทําละเมิด
คําสําคัญ : ละเมิดต่อบุคคลภายนอก/ละเมิดจากการละเลย/ต้นไม้ริมทาง/การบํารุงรักษาต้นไม้/ ต้นไม้สด/พายุฝนลมแรง วาตภัย ไม่อาจป้องกันได้/เหตุสุดวิสัย/ละเมิดหรือไม่
คําพิพากษาศาลปกครองสูงสุดที่ อ.322/2566
ที่มา : สสค.
———————————————
ทนายพฤกษ์ คดีปกครอง
– ปรึกษาคดี ติดต่อ 063-6364547
– Line: @prueklaw
สำนักงานกฎหมาย พฤกษ์ แอนด์ พาร์ทเนอร์
สำนักงานทนายความคดีปกครอง ทนายความคดีปกครอง