ยื่นอุทธรณ์คําพิพากษาโดยฝากส่งกับร้านที่ให้บริการจัดส่งพัสดุด่วนในห้างสรรพสินค้า | เรื่องเด่น คดีปกครอง

การยื่นอุทธรณ์คําพิพากษาศาลปกครองโดยฝากส่งกับร้านที่ให้บริการจัดส่งพัสดุด่วนในห้างสรรพสินค้า

วิธีพิจารณาคดีปกครอง (การยื่นคําอุทธรณ์ทางไปรษณีย์)

กฎหมายที่เกี่ยวข้อง

  1. พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542 (มาตรา 3 และมาตรา 73 วรรคหนึ่ง)
  2. พระราชบัญญัติไปรษณีย์ พุทธศักราช 2477 (มาตรา 4 และมาตรา 5)
  3. พระราชกฤษฎีกากําหนดอํานาจ สิทธิ และประโยชน์ของบริษัท ไปรษณีย์ไทย จํากัด พ.ศ. 2546 (มาตรา 3)
  4. ระเบียบของที่ประชุมใหญ่ตุลาการในศาลปกครองสูงสุด ว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2543 (ข้อ 13 วรรคหนึ่ง)

เมื่อพิจารณาบทบัญญัติมาตรา 4 และมาตรา 5 วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติ ไปรษณีย์ พุทธศักราช 2477 ประกอบกับมาตรา 3 แห่งพระราชกฤษฎีกากําหนดอํานาจ สิทธิ และประโยชน์ของบริษัท ไปรษณีย์ไทย จํากัด พ.ศ. 2546 แล้ว เห็นได้ว่า กิจการไปรษณีย์เป็นกิจการที่รัฐทรงไว้ซึ่งอํานาจสิทธิขาดที่จะดําเนินการ แต่รัฐได้อาศัยอํานาจตามบทบัญญัติของกฎหมาย มอบหมายให้บริษัท ไปรษณีย์ไทย จํากัด เป็นผู้ดําเนินการแทนรัฐ ดังนั้น เจ้าพนักงานไปรษณีย์ ตามข้อ 13 รรคหนึ่ง แห่งระเบียบฯ ว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีปกครองฯ จึงหมายถึงบริษัท ไปรษณีย์ไทย จํากัด หรือตัวแทน หรือหน่วยงานที่ได้รับมอบหมายจากบริษัท ไปรษณีย์ไทย จํากัด ให้ดําเนินกิจการ ไปรษณีย์ เมื่อคดีนี้ ศาลปกครองชั้นต้นได้อ่านผลแห่งคําพิพากษาเมื่อวันที่ 19 กันยายน 2565 ซึ่งจะครบกําหนดยื่นอุทธรณ์คําพิพากษาในวันที่ 19 ตุลาคม 2565 ตามมาตรา 73 วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองฯ ผู้ฟ้องคดีได้ยื่นคําอุทธรณ์โดยนําส่งทางไปรษณีย์ด่วนพิเศษ (EMS) ณ ร้าน P. ซึ่งตั้งอยู่ที่ห้างสรรพสินค้าแห่งหนึ่งในจังหวัดเชียงราย เมื่อวันที่ 19 ตุลาคม 2565 เวลา 17.59 นาฬิกา แต่ข้อเท็จจริงปรากฏว่า ร้าน P. ไม่ได้อยู่ภายใต้การกํากับดูแลของบริษัท ไปรษณีย์ไทย จํากัด และไม่ได้ตั้งขึ้นในลักษณะของที่ทําการไปรษณีย์อนุญาต ร้าน P. จึงมิได้เป็น ที่ทําการไปรษณีย์ หรือเป็นร้าน หรือสถานที่ที่ได้รับอนุญาตให้เปิดเป็นสถานที่รับ รวบรวมสิ่งของเพื่อส่งโดยทางไปรษณีย์ หรือได้รับอนุญาตให้เป็นผู้รับดําเนินงานร้านไปรษณีย์ไทย จากบริษัท ไปรษณีย์ไทย จํากัด ดังนั้น ร้าน P. จึงไม่ใช่ตัวแทน หรือหน่วยงานที่ได้รับมอบหมายจากบริษัท ไปรษณีย์ไทย จํากัด ให้ดําเนินกิจการไปรษณีย์ อีกทั้ง การที่บริษัท ไปรษณีย์ไทย จํากัด ส่งมอบ ป้ายสติ๊กเกอร์หมายเลขพัสดุให้แก่ผู้ประกอบการที่ใช้บริการ e-Parcel ติดลงบนสิ่งของที่ลูกค้านํามา ฝากส่งไว้ก่อนเพื่อความสะดวกในการรับฝาก และเพื่อให้ลูกค้าที่นํามาฝากส่งได้ทราบหมายเลขพัสดุ แต่พัสดุชิ้นดังกล่าวจะยังไม่เข้าสู่ระบบไปรษณีย์ จนกว่าผู้ประกอบการที่ใช้บริการ e-Parcel จะนํามา ฝากส่ง ณ ที่ทําการไปรษณีย์ การส่งคําอุทธรณ์ของผู้ฟ้องคดีเมื่อวันที่ 19 ตุลาคม 2565 ณ ร้าน P. จึงมิใช่เป็นการยื่นต่อเจ้าพนักงานไปรษณีย์ตามข้อ 13 แห่งระเบียบฯ ว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีปกครองฯ และถือไม่ได้ว่าวันที่ส่งคําอุทธรณ์ดังกล่าวเป็นวันที่ผู้ฟ้องคดีได้ยื่นอุทธรณ์ต่อศาล กรณีจึงเป็นการยื่น อุทธรณ์เมื่อพ้นกําหนดระยะเวลาอุทธรณ์ตามมาตรา 73 วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองฯ

โดยสรุป การยื่นคําอุทธรณ์โดยฝากส่งกับร้านค้าตามห้างสรรพสินค้าที่ให้บริการจัดส่งพัสดุด่วน ซึ่งมิได้เป็นตัวแทนหรือหน่วยงานที่ได้รับมอบหมายจากบริษัท ไปรษณีย์ไทย จํากัด ไม่ถือเป็นการส่งคําอุทธรณ์ต่อเจ้าพนักงานไปรษณีย์

คําสําคัญ : การยื่นคําอุทธรณ์ยื่นอุทธรณ์ทางไปรษณีย์ ที่ทําการไปรษณีย์ เจ้าพนักงานไปรษณีย์/ กําหนดเวลายื่นอุทธรณ์

คําสั่งศาลปกครองสูงสุดที่ 739/2566

ที่มา : สสค.

———————————————

ทนายพฤกษ์ คดีปกครอง
– ปรึกษาคดี ติดต่อ 063-6364547
– Line: @prueklaw 

สำนักงานกฎหมาย พฤกษ์ แอนด์ พาร์ทเนอร์
สำนักงานทนายความคดีปกครอง ทนายความคดีปกครอง