หน่วยงานทางปกครองมีสิทธิฟ้องคดีละเมิดขอให้เจ้าหน้าที่ชดใช้เงิน | เรื่องเด่น คดีปกครอง

หน่วยงานของรัฐเป็นผู้มีสิทธิฟ้องคดีให้เจ้าหน้าที่ชดใช้เงินจากการกระทําละเมิด

ละเมิด : ละเมิดต่อบุคคลภายนอก

กฎหมายที่เกี่ยวข้อง

  1. ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (มาตรา 420)
  2. พระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ.2565 (มาตรา 5 มาตรา 8 มาตรา 10 มาตรา 12)
  3. พระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539 (มาตรา 63/12)

ภายหลังจากที่ได้มีการตราพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2562 ขึ้นใช้บังคับแล้ว หน่วยงานของรัฐที่ได้ใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่ผู้เสียหายเพื่อการละเมิด ของเจ้าหน้าที่ตามมาตรา 8 แห่งพระราชบัญญัติความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539 หรือหน่วยงานของรัฐที่ได้รับความเสียหายอันเนื่องมาจากการกระทําละเมิดของเจ้าหน้าที่ตามมาตรา 10 ประกอบกับมาตรา 8 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว หากมีข้อขัดข้องในการบังคับใช้กฎหมายในส่วนที่เกี่ยวกับการบังคับทางปกครองให้เป็นไปตามคําสั่งทางปกครอง หน่วยงานของรัฐยังเป็นผู้มีสิทธิฟ้องคดี เพื่อขอให้ศาลมีคําพิพากษาหรือคําสั่งให้เจ้าหน้าที่ชําระค่าสินไหมทดแทนให้แก่ตนได้ เมื่อคดีนี้ข้อเท็จจริง รับฟังได้ว่า กรมที่ดิน (ผู้ฟ้องคดี) ได้มีหนังสือลงวันที่ 27 พฤษภาคม 2562 เรียกให้ผู้ถูกฟ้องคดี นําเงินมาชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่ผู้ฟ้องคดีภายใน 15 วัน นับแต่วันที่ได้รับหนังสือ ซึ่งผู้ถูกฟ้องคดี ได้รับทราบคําสั่งเมื่อวันที่ 29 พฤษภาคม 2562 แต่มิได้นําเงินมาชําระภายในระยะเวลาที่กําหนด และเมื่อผู้ฟ้องคดีเห็นว่าคําสั่งดังกล่าวเป็นคําสั่งทางปกครองที่กําหนดให้ใช้เงิน ซึ่งการใช้มาตรการบังคับทางปกครองที่จะต้องปฏิบัติให้เป็นไปตามมาตรา 63/12 แห่งพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการ ทางปกครอง พ.ศ. 2539 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539 (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2562 ยังมีปัญหาและอุปสรรคในการใช้มาตรการบังคับตามกฎหมายดังกล่าว เนื่องจากปัจจุบันยังมิได้มีการออกกฎกระทรวงกําหนดขั้นตอนและวิธีการปฏิบัติเกี่ยวกับ การยึด การอายัด และการขายทอดตลาดทรัพย์สินไว้ กรณีจึงเป็นการที่ผู้ฟ้องคดีกล่าวอ้างว่ามีข้อขัดข้องในการบังคับใช้กฎหมายในส่วนที่เกี่ยวกับการบังคับทางปกครอง ผู้ฟ้องคดีในฐานะเจ้าหนี้มูลละเมิดจึงจําต้องใช้สิทธิทางศาลเพื่อบังคับตามสิทธิเรียกร้อง โดยขอให้ศาลมีคําพิพากษาหรือคําสั่งให้ผู้ถูกฟ้องคดี ใช้เงินพร้อมดอกเบี้ยให้แก่ผู้ฟ้องคดี อันเป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับการกระทําละเมิดของเจ้าหน้าที่ของรัฐ อันเกิดจากการใช้อํานาจตามกฎหมายตามมาตรา 9 วรรคหนึ่ง (3) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้ง ศาลปกครองฯ และการที่ผู้ถูกฟ้องคดีไม่ชําระค่าสินไหมทดแทนให้แก่ผู้ฟ้องคดีเป็นเหตุให้ทางราชการได้รับความเสียหาย ผู้ฟ้องคดีย่อมเป็นผู้ได้รับความเดือดร้อนหรือเสียหายอันเนื่องมาจากการกระทําของผู้ถูกฟ้องคดี ผู้ฟ้องคดีจึงเป็นผู้มีสิทธิฟ้องคดีต่อศาลปกครองตามนัยมาตรา 42 วรรคหนึ่ง แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว และการแก้ไขหรือบรรเทาความเดือดร้อนหรือเสียหายที่ผู้ฟ้องคดีได้รับนั้นต้องมีคําบังคับของศาลโดยสั่งให้ผู้ถูกฟ้องคดีชดใช้ค่าสินไหมทดแทนพร้อมดอกเบี้ยแก่ผู้ฟ้องคดี อันเป็นคําบังคับตามมาตรา 72 วรรคหนึ่ง (3) แห่งพระราชบัญญัติเดียวกัน นอกจากนั้น คดีพิพาทเกี่ยวกับการกระทําละเมิดที่ผู้ถูกฟ้องคดีซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐได้กระทําในการปฏิบัติหน้าที่ในเรื่องนี้ ไม่มีกฎหมายกําหนดขั้นตอนหรือวิธีการสําหรับการแก้ไขความเดือดร้อนหรือเสียหายไว้โดยเฉพาะ ผู้ฟ้องคดีจึงอาจใช้สิทธิฟ้องคดีนี้ต่อศาลปกครองได้โดยไม่จําต้องดําเนินการตามขั้นตอนหรือวิธีการสําหรับการแก้ไขความเดือดร้อนหรือเสียหายก่อนแต่อย่างใด

โดยสรุป หน่วยงานของรัฐเป็นผู้มีสิทธิฟ้องคดีให้เจ้าหน้าที่ชดใช้เงินจากการกระทําละเมิด (แม้จะมีการตราพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2562 ขึ้นใช้บังคับแล้ว แต่หากหน่วยงานของรัฐมีข้อขัดข้องในการบังคับใช้กฎหมายในส่วนที่เกี่ยวกับการบังคับทางปกครอง หน่วยงานของรัฐยังเป็นผู้มีสิทธิฟ้องคดีเพื่อขอให้ศาลมีคําพิพากษาหรือคําสั่งให้เจ้าหน้าที่ชําระค่าสินไหมทดแทนให้แก่ตนได้

คําสั่งศาลปกครองสูงสุดที่ คผ. 7/2565 (ประชุมใหญ่)

คําสําคัญ : คําสั่งให้ชดใช้เงิน/ข้อขัดข้องในการบังคับคดี คําบังคับ

ที่มา : สสค.

———————————————

ทนายพฤกษ์ คดีปกครอง
– ปรึกษาคดี ติดต่อ 063-6364547
– Line: @prueklaw 

สำนักงานกฎหมาย พฤกษ์ แอนด์ พาร์ทเนอร์
สำนักงานทนายความคดีปกครอง ทนายคดีปกครอง