คดีเกี่ยวกับการที่เจ้าหน้าที่ของรัฐละเลยหน้าที่ที่ต้องปฏิบัติ คดีพิพาทเกี่ยวกับการที่เจ้าหน้าที่ของรัฐปฏิบัติหน้าที่ล่าช้าเกินสมควร
คดีพิพาทเกี่ยวกับการที่หน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐละเลยต่อหน้าที่
ตามที่กฎหมายกำหนดให้ต้องปฏิบัติ หรือปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าวล่าช้าเกินสมควร ตามมาตรา 9 วรรคหนึ่ง (2) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ. 2542 ได้แก่
- คดีพิพาทเกี่ยวกับการละเลยต่อหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนดให้ต้องปฏิบัติ
การละเลยต่อหน้าที่ หมายความว่า มีกฎหมายกำหนดให้หน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐมีหน้าที่ต้องปฏิบัติ แต่หน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐกลับเพิกเฉยไม่ปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าว - คดีพิพาทเกี่ยวกับปฏิบัติหน้าที่ล่าช้าเกินสมควร
การปฏิบัติหน้าที่ล่าช้าเกินสมควร หมายความว่า กฎหมายกำหนดหน้าที่ให้หน่วยงานทางปกครองหรือเจ้าหน้าที่ของรัฐต้องปฏิบัติและได้ปฏิบัติหน้าที่นั้นแล้ว แต่ใช้ระยะเวลาในการปฏิบัติหน้าที่นั้นนานกว่าที่พึงจะปฏิบัติ - ตัวอย่างลักษณะคดีพิพาท เช่น
– ฟ้องสำนักงานที่ดินจังหวัดว่าละเลยต่อหน้าที่ในการพิจารณาคำขอออกโฉนดที่ดิน
– ฟ้องเจ้าพนักงานท้องถิ่นกรณีละเลยไม่ดำเนินการกับอาคารที่ก่อสร้างผิดกฎหมายควบคุมอาคาร
– ฟ้องเกี่ยวกับการพิจารณาคำขอดำเนินการและการควบคุมการประกอบกิจการต่างๆ
– ฟ้องเกี่ยวกับการพิจารณาของหน่วยงานเมื่อได้มีการร้องเรียนถึงเหตุเดือดร้อนรำคาญ
ทนายความคดีปกครอง ทนายความคดีเจ้าหน้าที่ละเลยหน้าที่ที่ต้องปฏิบัติหรือปฏิบัติหน้าที่ล่าช้าเกินสมควร พร้อมให้คำปรึกษาคดีเกี่ยวกับเจ้าหน้าที่ละเลยหน้าที่ที่ต้องปฏิบัติหรือปฏิบัติหน้าที่ล่าช้าเกินสมควร ปรึกษาคดี โทร. 063-6364547
ติดต่อเรา Lineบริการงานคดีเจ้าหน้าที่ละเลยล่าช้า
ให้ความช่วยเหลือและแนะนำเกี่ยวกับคดีคดีพิพาทเกี่ยวกับการละเลยต่อหน้าที่ตามที่กฎหมายกำหนดให้ต้องปฏิบัติ หรือปฏิบัติหน้าที่ล่าช้าเกินสมควร
บริการที่เกี่ยวข้อง
ทนายความคดีปกครอง พร้อมช่วยเหลืองานด้านคดีปกครอง บริการให้คำปรึกษาคดีปกครอง การฟ้องคดีปกครอง การดำเนินการก่อนฟ้องคดี การอุทธรณ์คำพิพากษา
ติดต่อเรา
ทนายความคดีปกครอง ที่ปรึกษาคดีปกครอง พร้อมให้คำปรึกษาและช่วยเหลือกรณีการฟ้องคดีขอเพิกถอนกฎหรือคำสั่งทางปกครอง การฟ้องคดีที่เจ้าหน้าที่ของรัฐละเลยหน้าที่ที่ต้องปฏิบัติหรือปฏิบัติหน้าที่ล่าช้าเกินสมควร การฟ้องเรียกค่าเสียหายจากรัฐอันเนื่องจากการทำละเมิด กรณีเจ้าหน้าที่ของรัฐไม่ได้รับความเป็นธรรมในการปฏิบัติหน้าที่ การอุทธรณ์ ร้องเรียน หรือร้องทุกข์เจ้าหน้าที่ของรัฐ คดีเกี่ยวกับสัญญาทางปกครอง คดีเกี่ยวกับการเวนคืนที่ดิน รวมถึงคดีอื่นๆ