กฎกระทรวงกำหนดราคาเบื้องต้นสำหรับที่ดินที่เวนคืน พ.ศ. 2564
ทนายความคดีเวนคืน พร้อมให้คำปรึกษาคดีเกี่ยวกับการเวนคืน ปรึกษาคดี โทร. 063-6364547
กฎกระทรวงกำหนดราคาเบื้องต้นสำหรับที่ดินที่เวนคืน พ.ศ. 2564
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 6 วรรคหนึ่ง และมาตรา 20 วรรคสอง แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนและการได้มาซึ่งอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2562 นายกรัฐมนตรีออกกฎกระทรวงไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ในกฎกระทรวงนี้
“ค่ามัธยฐาน” หมายความว่า ค่าของข้อมูลที่อยู่ตำแหน่งกึ่งกลางของข้อมูลทั้งหมด เมื่อนำข้อมูลมาเรียงลำดับจากมากไปน้อยหรือจากน้อยไปมาก
“คณะกรรมการ” หมายความว่า คณะกรรมการตามมาตรา 19
ข้อ 2 การกำหนดราคาเบื้องต้นสำหรับที่ดินที่เวนคืน ให้คณะกรรมการคำนึงถึงราคาสภาพ เหตุ และวัตถุประสงค์ดังต่อไปนี้ ประกอบกัน
(1) ราคาที่ซื้อขายกันตามปกติในท้องตลาดของที่ดินในวันใช้บังคับพระราชกฤษฎีกาตามมาตรา 8
(2) ราคาประเมินที่ดินของทางราชการที่กำหนดขึ้นเพื่อประโยชน์ในการจัดเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง
(3) ราคาประเมินทุนทรัพย์เพื่อเรียกเก็บค่าธรรมเนียมในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมตามประมวลกฎหมายที่ดิน
(4) สภาพและที่ตั้งของที่ดินนั้น และ
(5) เหตุและวัตถุประสงค์แห่งการเวนคืน
ข้อ 3 ราคาที่ซื้อขายกันตามปกติในท้องตลำดของที่ดินตามข้อ 2 (1) ให้คณะกรรมการพิจารณาจากราคาซื้อขายที่ดินที่เวนคืนหรือที่ดินในบริเวณใกล้เคียงที่จดทะเบียนไว้กับสำนักงานที่ดินในวันใช้บังคับพระราชกฤษฎีกาตามมาตรา 8 ในกรณีที่ไม่มีการซื้อขายที่ดินในวันดังกล่าว หรือมีแต่คณะกรรมการเห็นว่า ราคาซื้อขายที่ดินดังกล่าวมิใช่ราคาที่ซื้อขายกันตามปกติในท้องตลาดของที่ดินให้ใช้ราคาซื้อขายที่ดินก่อนวันใช้บังคับพระราชกฤษฎีกาได้ โดยย้อนหลังไม่เกินสองปี แล้วนำราคาซื้อขายทั้งหมดดังกล่าวมาหาค่ามัธยฐาน เพื่อให้ได้ราคาใกล้เคียงกับราคาที่ซื้อขายกันตามปกติในท้องตลาดของที่ดินให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้
ที่ดินในบริเวณใกล้เคียงตำมวรรคหนึ่ง หมำยถึง ที่ดินที่มีสภาพ ทำเล ที่ตั้งและการใช้ประโยชน์ในลักษณะเดียวกันหรือใกล้เคียงกับที่ดินที่เวนคืนที่อยู่ในรัศมีไม่เกินสองกิโลเมตรจากที่ดินที่เวนคืน
ข้อ 4 ราคาประเมินที่ดินตามข้อ 2 (2) และราคาประเมินทุนทรัพย์ตามข้อ 2 (3) ให้คณะกรรมการพิจารณาจากราคาประเมินที่มีผลใช้บังคับอยู่ในวันที่คณะกรรมกำรมีมติกำหนดราคา
ข้อ 5 กำรพิจารณาสภาพและที่ตั้งของที่ดินที่เวนคืนตามข้อ 2 (4) ให้คณะกรรมการพิจารณาโดยคำนึงถึงเรื่อง ดังต่อไปนี้
(1) การเข้าออกสู่ทางสาธารณะ
(2) ข้อจำกัดการใช้ประโยชน์ในที่ดินโดยชอบตามกฎหมายว่าด้วยการผังเมือง กฎหมายว่าด้วยการควบคุมอาคาร หรือกฎหมายอื่นใดที่จำกัดการใช้ประโยชน์ในที่ดิน
(3) ความผิดปกติของสภาพของที่ดินไม่ว่าจะเป็นการถม การขุด สระ หนองน้ำ หลุมหรือบ่อ หรือสภาพอื่นใดอันทำให้ที่ดินนั้นด้อยค่า
(4) จำนวนเนื้อที่ รูปแปลง และขนาดของที่ดิน
(5) ภาระผูกพันเหนือที่ดิน
ในการพิจารณาตาม (1) หรือ (4) ถ้ำเป็นที่ดินหลายแปลงเป็นเจ้าของเดียวกันหรือเป็นของสามีหรือภริยาอยู่ชิดติดเป็นผืนเดียวกัน ให้ถือเสมือนเป็นที่ดินแปลงเดียวกัน
ในกรณีที่สภาพและที่ตั้งของที่ดินเป็นผลทำให้ราคาที่ดินที่เวนคืนสูงขึ้นหรือต่ำลงให้คณะกรรมการนำสภาพและที่ตั้งของที่ดินนั้นมาพิจารณาประกอบการกำหนดราคาเบื้องต้นสำหรับที่ดินที่เวนคืนด้วย
ข้อ 6 การพิจารณาเหตุและวัตถุประสงค์แห่งการเวนคืนตามข้อ 2 (5) นอกจากวัตถุประสงค์ตามที่พระราชกฤษฎีกาตามมาตรา 8 กำหนดไว้แล้ว ให้พิจารณาถึงเหตุที่ทำให้ต้องเวนคืนประกอบด้วย ในกรณีที่เหตุและวัตถุประสงค์เป็นไปเพื่อประโยชน์สาธารณะแต่ผู้ถูกเวนคืนจะไม่ได้รับประโยชน์นั้นโดยตรงด้วย หรือเป็นกรณีที่การดำเนินการตามวัตถุประสงค์นั้นมีการเรียกเก็บค่ำบริการจากผู้ใช้ประโยชน์ ให้พิจารณาเพิ่มราคาเบื้องต้นสำหรับที่ดินที่เวนคืนให้ตามควรแก่กรณี
ข้อ 7 ให้คณะกรรมการพิจารณากำหนดราคาเบื้องต้นสำหรับที่ดินที่เวนคืนตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้
(1) นำราคาที่ซื้อขายกันตามปกติในท้องตลาดของที่ดินตามข้อ 3 และราคาประเมินที่ดินและราคาประเมินทุนทรัพย์ตามข้อ 4 มาพิจารณาหาราคาโดยเฉลี่ยของที่ดิน และให้ถือเอาราคาโดยเฉลี่ยดังกล่าวเป็นฐานในการกำหนดราคาเบื้องต้นสำหรับที่ดินที่เวนคืน เว้นแต่ราคาโดยเฉลี่ยดังกล่าวต่ำกว่าราคาที่ซื้อขายกันตามปกติ ให้ใช้ราคาที่ซื้อขายกันตามปกติในท้องตลาดของที่ดินเป็นฐานในการกำหนดราคาเบื้องต้นสำหรับที่ดินที่เวนคืน
(2) นำสภาพและที่ตั้งของที่ดินที่เวนคืนตามข้อ 5 มาพิจารณากำหนดราคาที่เพิ่มขึ้นหรือลดลงของที่ดิน
(3) ในกรณีที่มีเหตุอันจะต้องเพิ่มราคาเบื้องต้นสำหรับที่ดินที่เวนคืนตำมข้อ 6 ให้เพิ่มขึ้นได้อีกไม่เกินร้อยละสิบของราคาตาม (2)
ให้ไว้ ณ วันที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2564
พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา
นายกรัฐมนตรี
บทความ – ขั้นตอนที่ควรรู้เมื่อถูกเวนคืน
ทนายพฤกษ์ คดีปกครอง
โทร. 063-6364547